ข้ามไปเนื้อหา

โฟมัลฮอต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Fomalhaut

วงแหวนฝุ่นรอบดาวโฟมัลฮอต แสดงให้เห็นตำแหน่งของดาวเคราะห์ โฟมัลฮอตบี
ภาพถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล องค์การนาซ่า
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว กลุ่มดาวปลาใต้
Pronunciation /ˈfoʊməlhɔːt/
ไรต์แอสเซนชัน 22h 57m 39.1s
เดคลิเนชัน -29° 37′ 20″
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 1.16
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมA3 V
ดัชนีสี U-B0.08
ดัชนีสี B-V0.09
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)+6.5 km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 329.22 mas/yr
Dec.: −164.22 mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)130.58 ± 0.65 mas
ระยะทาง25.0 ± 0.1 ly
(7.66 ± 0.04 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)1.73
รายละเอียด
มวล2.1 ± 0.2[1] M
รัศมี1.832[1] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.21[1]
กำลังส่องสว่าง17.66[1] L
อุณหภูมิ8,751[1] K
ค่าความเป็นโลหะ[Fe/H] = −0.10[1]
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)93[1] km/s
อายุ(2 ± 1) × 108[1] ปี
ชื่ออื่น
α Piscis Austrini, Alp PsA, Alf PsA, 24 PsA, Gl 881, HR 8728, CD -30°19370, HD 216956, GCTP 5565.00, LTT 9292, SAO 191524, FK5 867, HIP 113368.
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata
ARICNSdata
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
data

โฟมัลฮอต (อังกฤษ: Fomalhaut) หรือ อัลฟาปลาใต้ (α PsA / α Piscis Austrini) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวปลาใต้ และเป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์สว่างที่สุดบนท้องฟ้า หากอยู่ในซีกโลกเหนือ จะสามารถมองเห็นดาวโฟมัลฮอตได้ทางเกือบขอบฟ้าด้านทิศใต้ในช่วงเย็นต้นฤดูหนาว ใกล้กับเส้นละติจูด 50˚เหนือ ดาวจะตกลับขอบฟ้าเมื่อดาวซิริอุสปรากฏขึ้น และจะไม่ปรากฏขึ้นอีกจนกว่าดาวปาริชาต (Antares) จะตกลับไป ชื่อ "โฟมัลฮอต" มีความหมายว่า "ปากวาฬ" มาจากคำภาษาอารบิกว่า فم الحوت fum al-ḥawt ดาวฤกษ์นี้จัดเป็นดาวฤกษ์ระดับ A ในแถบลำดับหลัก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 25 ปีแสง ถือเป็นดาวฤกษ์แบบคล้ายเวกา ซึ่งแผ่รังสีอินฟราเรดออกมาจำนวนมาก บ่งชี้ว่าดาวนี้มีแผ่นจานฝุ่นล้อมรอบ

ดาวโฟมัลฮอตเป็นดาวฤกษ์สำคัญดวงหนึ่งในการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบ เนื่องจากเป็นระบบดาวฤกษ์แห่งแรกที่มีดาวเคราะห์นอกระบบ โฟมัลฮอตบี ซึ่งถูกถ่ายภาพไว้ได้ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ภาพนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Di Folco, E.; Thévenin, F.; Kervella, P.; Domiciano de Souza, A.; Coudé du Foresto, V.; Ségransan, D.; Morel, P. (2004). "VLTI near-IR interferometric observations of Vega-like stars". Astronomy and Astrophysics. 426: 601−617. doi:10.1051/0004-6361:20047189.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Kalas, Paul (2008). "Optical Images of an Exosolar Planet 25 Light-Years from Earth". Science. 322 (5906): 1345–1348. doi:10.1126/science.1166609. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)