เน็กไท
เน็กไท[1] (อังกฤษ: necktie) มีวิวัฒนาการมาจากคราแวต (cravat) โดยช่างตัดเสื้อชาวอเมริกัน Jesse Langsdorf ได้ออกแบบโดยการตัดผ้าเฉียง ๆ และจดสิทธิบัตรไว้ในปี ค.ศ. 1924 จนคริสต์ทศวรรษ 1950 เน็กไทได้รับความนิยมสูงสุดจนเป็นที่มาของประโยค a man wasn't fully dressed until he had put on his tie. (ผู้ชายยังแต่งตัวไม่เต็มที่ถ้าไม่ได้ผูกไท)
เน็กไทเริ่มกลายเป็นแฟชั่นในคริสต์ทศวรรษ 1970 โดย Ralph Lauren ห้องเสื้อชื่อดังแห่งอเมริกาได้ออกแบบเน็กไทที่มีความกว้าง 10 เซนติเมตร ในคริสต์ทศวรรษ 1980 มีการวาดและพิมพ์งานศิลปะของศิลปินลงบนเน็กไท
ถึงแม้ว่าเน็กไทจะได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก แต่ชาวตะวันออกกลางไม่เคยสนใจวัฒนธรรมตะวันตกเลย ส่วนมากจะสวมเพียงเสื้อเชิ้ตและสูทหนึ่งตัวก็เป็นทางการแล้ว แม้แต่ประเทศโบลิเวียซึ่งอยู่ทางตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ก็ไม่ได้หลงใหลวัฒนธรรมตะวันตกทั้งหมด
ในปัจจุบันวิธีผูกเน็กไทที่นิยมตามแบบสากลซึ่งมีการใช้ในประเทศไทยมี 5 วิธี ได้แก่ ซิมเปิลนอต, ฟอร์อินแฮนด์นอต, ฮาล์ฟวินด์เซอร์นอต, ทราดิชันนัลวินด์เซอร์นอต และแพรตนอต (เชลบีนอต)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2557, หน้า 187.
- หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551