บริกส์
ผู้นำบริกส์ในปี ค.ศ. 2023 | |
รัฐสมาชิก | |
ก่อนหน้า | บริก |
---|---|
ก่อตั้งที่ | UN HQ, NYC (UNGA 61st session) Yekaterinburg (1st BRIC summit) |
ประเภท | องค์การระหว่างรัฐบาล |
วัตถุประสงค์ | การเมือง และ เศรษฐกิจ |
สาขาวิชา | การเมืองระหว่างประเทศ |
สมาชิก | |
การให้ทุน | รัฐสมาชิก |
เว็บไซต์ | https://brics2023.gov.za/ |
ชื่อในอดีต | บริก |
บริกส์ (อังกฤษ: BRICS) เป็นอักษรย่อใช้เรียกกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)
ศัพท์คำนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยจิม โอนีลล์ ในบทวิจัยในปี 2544 ชื่อ "The World Needs Better Economic BRICs"[1][2][3] ชื่อบริกส์ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการย้ายอำนาจเศรษฐกิจโลกจากกลุ่มพัฒนาแล้วอย่างจี7 (G7) มาสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2548 กล่าวถึงประเทศเม็กซิโกและเกาหลีใต้ว่าเป็นประเทศที่เทียบเท่าได้กับบริกส์แต่ถูกตัดออกจากกลุ่มตั้งแต่ต้น เพราะถือว่าเป็นประเทศมีการพัฒนามากกว่า เนื่องจากเป็นสมาชิกของกลุ่มโออีซีดี (OECD) [4] โกลด์แมน แซคส์กล่าวว่ากลุ่มบริกส์พัฒนาอย่างรวดเร็วมากจนประมาณปี พ.ศ. 2593 เศรษฐกิจของกลุ่มบริกส์รวมกันจะสามารถบดบังกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยในขณะนี้ได้ ปัจจุบัน ประเทศทั้งสี่รวมกันมีพื้นที่มากกว่าหนึ่งในสี่ของแผ่นดินโลก และมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากรโลก[5][6]
โกลด์แมน แซคส์ ไม่ได้กล่าวว่ากลุ่มบริกส์จะรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจหรือสมาคมการค้าอย่างเป็นทางการเหมือนสหภาพยุโรป[7] แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อบ่งชี้บางอย่างว่า “ประเทศกลุ่มบริกส์ทั้งสี่ได้พยายามที่จะสร้าง สมาคมหรือพันธมิตรทางการเมือง” และพยายามเปลี่ยน “อำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตให้เป็นอำนาจการเมืองทางภูมิภาค” [8][9] ในวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ผู้นำกลุ่มประเทศบริกส์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่เมืองเยคาเตรินบุร์ก และประกาศเรียกร้องให้ระเบียบโลกใหม่มีหลายขั้วอำนาจ[10] ต่อมา เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มดังกล่าวได้รับเอาประเทศแอฟริกาใต้เข้าร่วมกลุ่มด้วย[11][12][13]
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โควิด-19
[แก้]ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank, NDB) ซึ่งตั้งอยู่ในจีน มีแผนจะมอบเงิน 15,000 ล้านดอลลาร์แก่ประเทศสมาชิกเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยประเทศสมาชิกต่างหวังว่าจะฟื้นตัวอย่างราบรื่นและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ในระดับเดียวกับก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 การประชุมสุดยอดครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นการประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย หารือถึงวิธีจัดการกับภาวะการระบาดทั่วของโควิด และประเด็นการปรับปรุงความร่วมมือพหุภาคีโดยการปฏิรูปองค์กร[14] อัตราการรับวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างกันภายในกลุ่มบริกส์โดย จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ เต็มใจรับวัคซีนมากที่สุด ขณะที่บราซิลและรัสเซียแสดงความกังวลมากกว่าอีก 3 ประเทศ[15] เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ในระหว่างการประชุมสุดยอดบริกส์ครั้งที่ 13 นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างโปร่งใสภายใต้องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโควิด-19 ด้วยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก "ทุกประเทศ" ต่อจากนั้นประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ได้กล่าวเรียกร้องให้ทุกประเทศในกลุ่มต่อต้านกระบวนการ "ทำให้เป็นการเมือง"[16]
สมาชิก
[แก้]สมาชิกปัจจุบัน
[แก้]ประเทศที่กลายเป็นสมาชิกใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2568
[แก้]ประเทศที่สมัครสมาชิกแล้ว
[แก้]รวมทั้งหมด 16 ประเทศ[21] ได้สมัครเข้าร่วมบริกส์อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีรายชื่อดังนี้:[22]
- แอลจีเรีย (สมัครในปี 2022)[23]
- บาห์เรน[24]
- บังกลาเทศ[25] (สมัครในปี 2023)
- ฮอนดูรัส (สมัครในปี 2023)
- คูเวต (สมัครในปี 2023)
- ปากีสถาน (สมัครในปี 2023)
- ปาเลสไตน์ (สมัครในปี 2023)
- เซเนกัล[26] (สมัครในปี 2023)
- เวเนซุเอลา (สมัครในปี 2023)
- เวียดนาม (สมัครในปี 2023)
ประเทศที่เป็นสมาชิกอย่างไม่เป็นทางการ
[แก้]ประเทศที่ถอดตัวจากการสมัครเป็นสมาชิก
[แก้]ผู้นำประเทศในบริกส์
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kowitt, Beth (2009-06-17). "For Mr. BRIC, nations meeting a milestone". CNNMoney.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
- ↑ Global Economics Paper No. 99, Dreaming with BRICs เก็บถาวร 2008-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Global Economics Paper 134, How Solid Are the BRICs?
- ↑ Economist's Another BRIC in the wall 2008 article
- ↑ "How Solid are the BRICs?" (PDF). Global Economics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 2010-10-07.
- ↑ "Brazil, Russia, India And China (BRIC)". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
- ↑ "BRICs helped by Western finance crisis: Goldman". Reuters. 2008-06-08.
- ↑ Mortished, Carl (2008-05-16). "Russia shows its political clout by hosting Bric summit". The Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
- ↑ Halpin, Tony (2009-06-17). "Brazil, Russia, India and China form bloc to challenge US dominance". The Times, 17 June 2009. Retrieved from http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/us_and_americas/article6514737.ece เก็บถาวร 2011-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "S. Africa Joins; BRIC Now BRICS, April 13, 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ BRICS Gain Global Influence as South Africa Joins, President of Russia Medvedev, April 13, 2011
- ↑ Emerging Bloc Adds South Africa, April 13, 2011
- ↑ "BRICS To Allocate $15 Billion For Rebuilding Economies Hit By COVID-19". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 20 October 2020.
- ↑ "What do people in BRICS countries think about a COVID-19 vaccine?". Devex. 20 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Suhasini Haidar; Ananth Krishnan (15 September 2021). "India, China avoided open clash over COVID-19 origins". The Hindu.
- ↑ "Belarus says it has applied to join BRICS club, RIA reports". Reuters. 25 July 2023 – โดยทาง www.reuters.com.
- ↑ Ramos, Daniel (31 July 2023). "Bolivia president to attend BRICS summit in bid for new investment". Reuters – โดยทาง www.reuters.com.
- ↑ Omirgazy, Dana (5 June 2023). "Kazakhstan Seeks to Join BRICS and Enhance Trade and Economic Cooperation". Astana Times.
- ↑ "Wang Yi Chairs Dialogue of Foreign Ministers between BRICS and Emerging Markets and Developing Countries". www.fmprc.gov.cn.
- ↑ "South Africa: 8 Arab countries request to join BRICS". Middle East Monitor. 15 August 2023.
- ↑ Prange, Astrid (27 Mar 2023). "A new world order? BRICS nations offer alternative to West – DW – 04/10/2023". dw.com. สืบค้นเมื่อ 24 Aug 2023.
- ↑ Mntambo, Nokukhanya (26 August 2023). "Algeria likely to be among second batch of countries to join BRICS - Godongwana". Eyewitness News (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2023. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
- ↑ "Five Arab states plus Iran among 19 nations ready to join BRICS". The Cradle. 30 April 2023.
- ↑ Devonshire-Ellis, Chris (20 June 2023). "Bangladesh Formally Applies To Join BRICS". Silk Road Briefing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-21. สืบค้นเมื่อ 22 June 2023.
- ↑ "Wang Yi Chairs Dialogue of Foreign Ministers between BRICS and Emerging Markets and Developing Countries". June 2023.