ข้ามไปเนื้อหา

อัลลอฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำว่า 'อัลลอฮ์' ในอักษรวิจิตรอาหรับ

อัลลอฮ์ (อาหรับ: الله, สัทอักษรสากล: [ʔaɫ.ɫaːh] ( ฟังเสียง)) เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับพระเจ้าในศาสนาอับราฮัม ส่วนภาษาอังกฤษ คำนี้มีความหมายโดยทั่วไปเป็นพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม[1][2][3] กล่าวกันว่า คำนี้มาจากสองคำที่ถูกย่อ คือ อัล-อิลาฮ์ ซึ่งหมายถึง "เทพองค์นั้น" และมีความสัมพันธ์ทางภาษากับคำว่าพระเจ้าในภาษาฮีบรูกับภาษาแอราเมอิกว่า เอล (เอโลฮิม) และ อีลาฮ์[4][5]

คำว่า อัลลอฮ์ ถูกใช้โดยชาวอาหรับหลายศาสนามาตั้งแต่ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะปรากฏ[6] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวมุสลิม (ทั้งอาหรับและไม่ใช่อาหรับ) และอาหรับคริสเตียน[7] และแม้ว่าจะไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม ก็ยังคงมีการใช้ในลัทธิบาบี, ศาสนาบาไฮ, ชาวอัศศอบิอะฮ์, ชาวคริสต์ในประเทศอินโดนีเซียกับมอลตา และชาวยิวมิซราฮี[8][9][10][11] การใช้แบบเดียวกันโดยชาวคริสต์และชาวซิกข์ในมาเลเซียตะวันตกได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองและกฎหมาย[12][13][14][15]

ศัพทมูลวิทยา

อักษรภาษาอาหรับที่รวมกันเป็นคำว่า "อัลลอฮ์":

ศัพทมูลวิทยาของคำว่า อัลลอฮ์ ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในนักนิรุกติศาสตร์ภาษาอาหรับคลาสสิก[16] นักไวยากรณ์จากสำนักบัศเราะฮ์ถือว่ามันอาจเป็นทั้ง "อย่างเป็นธรรมชาติ" (มุรตะญัล) หรือเป็นรูปเฉพาะของ ลาฮ์[16] บางส่วนถือว่าคำนี้เป็นคำยืมจากภาษาซีรีแอกหรือฮีบรู แต่ส่วนใหญ่ถือว่าคำนี้แยกจากการย่อคำนำหน้านามเฉพาะเจาะจงภาษาอาหรับว่า อัล- กับ อิลาฮ์ "เทพ, พระเจ้า" กลายเป็น อัลอิลาฮ์ หมายถึง "เทพองค์นั้น" หรือ "พระเจ้าองค์นั้น"[16] นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนใหญ่สนับสนุนทฤษฎีข้อหลัง และมองทฤษฎีคำยืมเป็นวิมตินิยม[17]

คำร่วมเชื้อสายของพระนาม "อัลลอฮ์" ปรากฏในกลุ่มภาษาเซมิติก เช่นภาษาฮีบรูกับภาษาแอราเมอิก[18] สอดคล้องกับรูปภาษาแอราเมอิกเป็น เอลาห์ (אלה) แต่ในสถานะสำคัญ (emphatic state) เป็น เอลาฮา (אלהא) ในภาษาอราเมอิกไบเบิลเขียนเป็น ܐܠܗܐ (ʼĔlāhā) และในภาษาซีรีแอกเขียนเป็น ܐܲܠܵܗܵܐ (ʼAlâhâ) ทั้งสองคำหมายถึง "พระเจ้า"[19]

การใช้งาน

อาระเบียก่อนการมาของศาสนาอิสลาม

ความหลากหลายของคำว่า อัลลอฮ์ พบได้ทั้งจารึกพวกนอกศาสนาและศาสนาคริสต์[6][20] อีกทฤษฎีหนึ่งนำเสนอว่าบทบาทของอัลลอฮ์ในลัทธิพหุเทวนิยมก่อนอิสลาม ผู้เขียนบางส่วนแนะนำว่า ชาวอาหรับพหุเทวนิยมใช้ชื่อนี้ถึงพระผู้สร้างหรือเทพผู้เป็นใหญ่ในแพนเธออน (pantheon)[21][22] คำนี้อาจเป็นที่คลุมเครือในศาสนาที่มักกะฮ์[21][23] สันนิษฐานหนึ่งที่สืบไปถึงยูลีอุส เวลเฮาเซินกล่าวถึงอัลลอฮ์ (เทพสูงสุดของสหพันธ์เผ่าของกุเรช) ว่าการกำหนดที่อุทิศความเหนือกว่าของฮุบัล (เทพสูงสุดของกุเรช) อยู่เหนือเทพองค์อื่น[6] อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานว่าอัลลอฮ์กับฮุบัลคือเทพคนละองค์กัน[6] ตามสันนิษฐานนี้ กะอ์บะฮ์เป็นสถานที่แรกที่ถวายแด่เทพสูงสุดนามว่าอัลลอฮ์และต่อมาเป็นเจ้าบ้านในแพนเธออนของกุเรชหลังพิชิตมักกะฮ์เป็นเวลาประมาณศตวรรษหนึ่งก่อนสมัยมุฮัมมัด[6] จารึกบางส่วนในศตวรรษก่อนหน้าใช้บันทึกอัลลอฮ์เป็นพระนามของเทพในพหุเทวนิยม แต่ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าใช้ทำอะไร[6] นักวิชาการบางส่วนกล่าวแนะว่า อัลลอฮ์อาจเป็นเทพผู้สร้างที่ห่างเหินที่ค่อย ๆ ถูกบดบังโดยเทพเจ้าท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น[24][25] มีความเห็นแตกต่างกันว่าอัลลอฮ์มีบทบาทหลักในลัทธิทางศาสนามักกะฮ์[24][26] โดยไม่มีการพบรูปลักษณ์เฉพาะของพระองค์[26][27] และเป็นพระเจ้าองค์เดียวในมักกะฮ์ที่ไม่มีเทวรูป[28] อับดุลลอฮ์ ชื่อพ่อของศาสดามุฮัมมัด หมายถึง "ทาสของพระเจ้า"[23]

ศาสนาคริสต์

ผู้พูดภาษาอาหรับในกลุ่มศาสนาอับราฮัมทั้งหมด ใช้คำว่า "อัลลอฮ์" ที่หมายถึง "พระเจ้า"[8] ชาวอาหรับคริสเตียนในปัจจุบัน ไม่พบคำอื่นสำหรับ "พระเจ้า" มากไปกว่า "อัลลอฮ์"[29] เช่นเดียวกันกับคำว่า "พระเจ้า" ในภาษาแอราเมอิกคือ เอลาฮา (ʼĔlāhā) หรือ อาลาฮา (แม้แต่ภาษามอลตา ซึ่งสืบมาจากภาษาอาหรับ ในประเทศมอลตา เป็นประเทศที่ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกใช้คำว่า Alla หมายถึง "พระเจ้า") ตัวอย่างในอาหรับคริสเตียน เช่น คำว่า อัลลอฮุลอับ (الله الأب) คือพระเจ้าพระบิดา อัลลอฮุลอิบน์ (الله الابن) สำหรับพระบุตรพระเป็นเจ้า และ อัลลอฮุรรูฮิลกุดส์ (الله الروح القدس) สำหรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (สำหรับแนวคิดพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์ ดูพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์)

อาหรับคริสเตียนมีบทภาวนาสองรูปแบบที่เป็นหน่วยคำเติมในจุดเริ่มต้นของงานเขียน โดยพวกเขานำคำว่า บิสมิลลาฮ์ ของมุสลิม และสร้าง บิสมิลลาฮ์ ที่แปลงเป็นตรีเอกภาพของตนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8[30] บิสมิลลาฮ์ ของมุสลิมแปลได้เป็น: "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ" ส่วน บิสมิลลาฮ์ แบบตรีเอกภาพแปลได้เป็น: "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเจ้าองค์เดียว" บทภาวนาภาษาซีรีแอก ลาติน และกรีกไม่มีคำว่า "พระเจ้าองค์เดียว" ต่อท้าย การเพิ่มส่วนนี้มีไว้เพื่อเน้นถึงมุมมองเอกเทวนิยมของความเชื่อแบบตรีเอกภาพ และทำให้มันเป็นที่พอใจแก่มุสลิมมากกว่า[30]

รายงานจากมาร์แชลล์ ฮอดจ์สัน ดูเหมือนว่าในช่วงก่อนการมาของศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับคริสเตียนบางส่วนแสวงบุญที่กะอ์บะฮ์ ซึ่งตอนนั้นยังคงเป็นวิหารของพวกนอกศาสนา ยกย่องอัลลอฮ์ในฐานะพระผู้สร้าง[31]

อักษรภาษาซีรีแอก ܐܠܗܐ (ʼĔlāhā) สามารถพบในรายงานและรายชื่อมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่อาระเบียใต้[32][33] เช่นเดียวกันกับรายงานเอกสารภาษาซีรีแอกโบราณของชื่อมรณสักขีในสมัยอาณาจักรฮิมยัรกับอาณาจักรอักซุม[34]

ในชีวประวัติของอิบน์ อิสฮาก มีผู้นำคริสเตียนชื่อว่า อับดุลลอฮ์ อิบน์ อะบูบักร์ อิบน์ มุฮัมมัด ผู้พลีชีพที่นัจญ์รอนใน ค.ศ. 523 สวมแหวนที่สลักว่า "อัลลอฮ์คือพระเจ้าของข้า"[35]

ในจารึกมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่สืบถึง ค.ศ. 512 กล่าวถึงอัลอิลาฮ์ (الاله)[36] สามารถพบได้ทั้งภาษาอาหรับกับแอราเมอิก จารึกนี้เริ่มต้นด้วยประโยค "ด้วยความช่วยเหลือจากอัลอิลาฮ์"[37][38]

ในพระวรสารก่อนการมาของศาสนาอิสลาม คำที่ใช้สื่อถึงพระเจ้าคือ "อัลลอฮ์" เพราะหลักฐานจากพันธสัญญาใหม่ฉบับภาษาอาหรับที่ค้นพบบางส่วนซึ่งบันทึกโดยชาวอาหรับคริสเตียนในช่วงอาระเบียก่อนการมาของศาสนาอิสลามในคาบสมุทรอาหรับตอนเหนือและใต้[39] อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยล่าสุดของสาขาอิสลามศึกษาโดย Sydney Griffith และคณะฯ (2013), David D. Grafton (2014), Clair Wilde (2014), ML Hjälm และคณะฯ (2016 & 2017) ยืนยันว่า "ทุกคนสามารถพูดได้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของพระวรสารฉบับก่อนอิสลามแบบศาสนาคริสต์ในภาษาอาหรับว่า ยังไม่มีการพบสัญลักษณ์ที่แน่ชัดในการมีอยู่จริงของมันเลย"[40][41][42][43][44] ที่มากไปกว่านั้น ในงานวิจัยล่าสุดของ ML Hjälm (2017) กล่าวไว้ว่า "ไม่มีการพบเอกสารตัวเขียนที่แปลจากพระวรสารใดที่พบก่อน ค.ศ. 873"[45]

อิรฟาน ชะฮีด กล่าวถึงกิตาบุลอะฆอนี ชุดสะสมสารานุกรมคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไว้ว่า มีรายงานชาวคริสต์ก่อนการมาของศาสนาอิสลามได้ส่งเสียงสิงหนาทว่า "ยาลาอิบาดุลลอฮ์" (โอ้ทาสของอัลลอฮ์) เพื่อเรียกให้ผู้คนเข้าสนามรบ[46] รายงานจากชะฮีด จากอัลมัรซุบานี นักวิชาการมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 10 บันทึกว่า มีการกล่าวถึง "อัลลอฮ์" ในกวีชาวคริสต์ก่อนการมาของศาสนาอิสลามจากนักกวีชาวฆ็อสซานิดบางส่วนและตานูคิดในประเทศซีเรียกับคาบสมุทรอาหรับตอนบน[47][48][49]

ศาสนาอิสลาม

รูปแกะสลักกลมติดผนังที่มีคำว่า "อัลลอฮ์ญัลละญะลาลุฮุ" ในฮาเกียโซเฟีย อิสตันบูล ประเทศตุรกี

ในศาสนาอิสลาม อัลลอฮ์ นั้นเป็นพระเจ้าองค์เดียว มีอำนาจ และไม่เหมือนใคร และเป็นผู้สร้างจักรวาลซึ่งเหมือนกับพระเจ้าในศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ[9][10] ส่วนใหญ่มักมอง อัลลอฮ์ เป็นพระนามของพระเจ้า ซึ่งขัดแย้งกับนักวิชาการร่วมสมัย กับคำถามที่ว่า คำว่า อัลลอฮ์ ควรแปลว่า พระเจ้า หรือไม่[50]

ตามหลักความเชื่อของศาสนาอิสลาม อัลลอฮ์เป็นคำเรียกทั่วไปของพระเจ้ามากที่สุด[51] ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับหลักเตาฮีด ดังบทที่ 112 ของอัลกุรอาน (อัลอิคลาศ) ไว้ว่า:

۝ [52] จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) "พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ
۝ อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง
۝ พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
۝ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"[53]

และในอายะตุลกุรซี ซึ่งอยู่ในโองการที่ 255 ของบทที่ยาวที่สุด (บทที่ 2) ของอัลกุรอาน อัลบะเกาะเราะฮ์ ไว้ว่า:

"อัลลอฮฺนั้นคือไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใด ๆ ที่เที่ยงแท้ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย โดยที่การง่วงนอน และการนอนหลับใด ๆ จะไม่เอาพระองค์

สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น

พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของพวกเขาและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใด จากความรู้ของพระองค์ไว้ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์เท่านั้น

เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างขวางทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักแก่พระองค์

และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่"

ในธรรมเนียมอิสลาม มี 99 พระนามของพระเจ้า (อัลอัสมาอุลฮุสนา แปลตรงตัว: 'พระนามที่ดีที่สุด' หรือ 'พระนามที่สวยงามที่สุด') ที่กล่าวถึงคุณลักษณะเฉพาะของอัลลอฮ์[10][54] พระนามทั้งหมดที่กล่าวถึงอัลลอฮ์นั้น เป็นพระนามที่สูงสุดและครอบคลุมทั้งหมด[55]

มุสลิมส่วนใหญ่จะไม่แปลประโยคภาษาอาหรับของคำว่า อินชาอัลลอฮ์ (หมายถึง 'ถ้าพระเจ้าทรงประสงค์') หลังกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต[56] มุสลิมที่เลี่อมใสในทางศาสนาส่งเสริมให้เริ่มต้นด้วยคำว่า บิสมิลลาฮ์ (หมายถึง 'ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า')[57] มีประโยคอื่นที่มุสลิมใช้สรรเสริญพระเจ้า เช่น "ศุบฮานัลลอฮ์" (พระสิริเป็นของพระเจ้า) "อัลฮัมดุลิลลาฮ์" (บรรดาการสรรเสริญเป็นของพระเจ้า) "ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์" (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์) หรือบางครั้งก็ "ลาอิลาฮะอิลลาอันต์ / ฮูว์" (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก พระองค์) และ "อัลลอฮุอักบัร" (พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่) เป็นการให้ข้อคิดทางวิญญาณในการรำลึกถึงพระเจ้า (ษิกร์)[58]

ในลัทธิศูฟีมีการปฏิบัติที่มีชื่อว่า ษิกรุลลอฮ์ (ذكر الله แปลว่า "การรำลึกถึงพระเจ้า") โดยกลุ่มศูฟีจะครุ่นคิดและกล่าวถึงพระนาม อัลลอฮ์ หรือพระนามอันวิจิตรซ้ำ ๆ ขณะควบคุมการหายใจของตน[59]

รายงานจากฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด ปีเตอส์ "กุรอานยืนยัน มุสลิมเชื่อมั่น และนักประวัติศาสตร์ยืนยันว่ามุฮัมมัดกับผู้ติดตามของท่านสักการะพระเจ้าองค์เดียวกันกับชาวยิว (29:46) อัลลอฮ์ในอัลกุรอานเป็นพระผู้สร้างองค์เดียวกันที่ให้พันธสัญญาแก่อับราฮัม" ปีเตอส์กล่าวว่า กุรอานพรรณนาถึงอัลลอฮ์ให้มีอานุภาพและห่างไกลมากกว่าพระยาห์เวห์ และเป็นเทพเจ้าสากล (universal deity) ซึ่งต่างจากพระยาห์เวห์ที่คอยติดตามชนเผ่าอิสราเอลอย่างใกล้ชิด[60]

ในฐานะคำยืม

ภาษาอังกฤษในกลุ่มภาษาอื่นในทวีปยุโรป

ประวัติของคำว่า อัลลอฮ์ ในภาษาอังกฤษน่าจะได้อิทธิพลมาจากการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น บางครั้ง Thomas Carlyle (1840) ใช้คำว่าอัลลอฮ์แต่ไม่บอกความนัยว่าต่างจากพระเจ้าอย่างไรอย่างไรก็ตาม ในหนังสือ biography of Muḥammad (1934) ของ Tor Andræ ใช้คำว่า อัลลอฮ์ เสมอ แม้ว่าในหนังสือ "conception of God" ได้กล่าวโดยนัยว่าพระองค์แตกต่างจากเทววิทยาแบบยิวกับคริสต์[61]

หลายภาษาไม่ค่อยใช้คำว่า อัลลอฮ์ หมายถึงพระเจ้า แต่ยังคงใช้คำอุทานอื่นแทน เช่น เนื่องจากมุสลิมอาศัยอยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียนานหลายศตวรรษ คำว่า ojalá ในภาษาสเปน และ oxalá ในภาษาโปรตุเกส เป็นคำยืมมาจากภาษาอาหรับว่า อินชาอัลลอฮ์ (إن شاء الله) แปลตรงตัวคือ 'ถ้าพระเจ้าทรงประสงค์'[62]

มุสลิมบางส่วนไม่แปลคำว่า "อัลลอฮ์" เป็นภาษาอังกฤษมากกว่าที่จะใช้คำแปลภาษาอังกฤษว่า "God"[63] เนื่องจากคำนี้มักนำไปใช้กับมนุษย์บางส่วนเป็นบุคลาธิษฐานของคำและแนวคิด[64][65]

ภาษามาเลเซียและอินโดนีเซีย

พจนานุกรมภาษาดัตช์-มลายูฉบับแรกโดยA.C. Ruyl, Justus Heurnius และ Caspar Wiltens ใน ค.ศ. 1650 บันทึกคำว่า "Allah" แปลเป็นภาษาดัตช์ว่า "Godt"
เกอราจากาลัมเกอบางูนันอัลละฮ์ (โบสถ์การฟื้นฟูพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า) ในภาษาอินโดนีเซีย คำว่า อัลละฮ์ หมายถึง "พระผู้เป็นเจ้า" แม้แต่คำว่า อัลกีตับ (คัมภีร์ไบเบิล จาก الكتاب อัลกิตาบ = หนังสือ) ในขณะที่คำว่าตูฮัน หมายถึง "พระเจ้า"
คริสตศาสนิกชนในประเทศมาเลเซียก็ใช้คำว่า อัลลอฮ์ หมายถึง "พระเจ้า"

คริสต์ศาสนิกชนในประเทศมาเลเซียกับอินโดนีเซียใช้คำว่า อัลลอฮ์ เพื่ออิงถึงพระเจ้าในภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซีย (รูปแบบมาตรฐานของสองภาษาคือภาษามลายู) การแปลพระคัมภีร์กระแสหลักใช้คำว่า อัลลอฮ์ เป็นคำแปลของภาษาฮีบรูว่า เอโลฮิม (พระผู้เป็นเจ้า)[66] ซึ่งสามารถสืบถึงผลงานแปลโดยฟรันซิสโก ฆาบิเอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16[67][68] พจนานุกรมภาษาดัตช์-มลายูฉบับแรกโดย Albert Cornelius Ruyl, Justus Heurnius และ Caspar Wiltens ใน ค.ศ. 1650 (ฉบับปรับปรุงในรุ่น ค.ศ. 1623 และฉบับภาษาลาตินรุ่น ค.ศ. 1631) บันทึกคำว่า "อัลลอฮ์" แปลเป็นภาษาดัตช์ว่า "Godt"[69] นอกจากนี้ Ruyl ก็แปลพระวรสารนักบุญมัทธิวเป็นภาษามลายูใน ค.ศ. 1612 (พระคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษายุโรปช่วงแรก[70] ซึ่งเผยแพร่หลังคัมภีร์ไบเบิลฉบับคิงเจมส์ปีเดียว[71][72]) ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1629 ต่อมาเขาแปลพระวรสารนักบุญมาระโก ซึ่งเผยแพร่ใน ค.ศ. 1638[73][74]

ใน ค.ศ. 2007 รัฐบาลมาเลเซียออกกฎหมายห้ามผู้ใดใช้คำว่า อัลลอฮ์ นอกจากมุสลิม แต่ใน ค.ศ. 2009 สภาสูงมาเลเซียยกเลิกกฎหมายนี้ เพิกถอนกฎหมาย วินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในขณะที่คำว่า อัลลอฮ์ ถูกใช้เป็นพระนามพระเจ้าในศาสนาคริสต์มาตั้ง 4 ศตวรรษ ข้อโต้แย้งสมัยใหม่เริ่มขึ้นจากหนังสือพิมพ์โรมันคาทอลิก เดอะเฮรัลด์ ใช้คำว่า อัลลอฮ์ ในหนังสือพิมพ์ของตน รัฐบาลจึงร้องเรียนต่อศาล และสภาสูงระงับการดำเนินการตามคำตัดสินของศาลจนกว่าจะได้รับการอุทธรณ์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 สภาเห็นชอบการแบนของรัฐบาล[75] ในช่วงต้น ค.ศ. 2014 รัฐบาลมาเลเซียได้ยึดคัมภีร์ไบเบิลมากกว่า 300 เล่มที่ใช้พระนามนี้สื่อถึงพระเจ้าในศาสนาคริสต์ในมาเลเซียตะวันตก[76] อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า อัลลอฮ์ ไม่ได้ถูกห้ามในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก[77][78] สาเหตุหลักที่ไม่ได้ถูกห้ามในสองรัฐนี้เพราะมีการใช้คำนี้มาอย่างยาวนาน และอัลกีตับท้องถิ่น (คัมภีร์ไบเบิล) ถูกตีพิมพ์อย่างเสรีในมาเลเซียตะวันออกโดยไม่มีข้อจำกัดมาหลายปี[77] และทั้งสองรัฐไม่มีกฎหมายรัฐอิสลาม (Islamic state laws) ที่คล้ายกับมาเลเซียตะวันตก[15]

เพื่อตอบสนองต่อคำวิจารณ์ของสื่อ รัฐบาลมาเลเซียได้เสนอ แนวทาง 10 จุด (10-point solution) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลที่สับสนหรือสร้างความเข้าใจผิด[79][80] แนวทาง 10 จุดนั้น สอดคล้องกับข้อตกลง 18 และ 20 ในรัฐซาราวักกับซาบะฮ์[15]

ประเทศที่มีคำว่า "อัลลอฮ์" บนนั้น

อักษรศิลป์

คำว่า อัลลอฮ์ เขียนด้วยระบบการเขียนที่แตกต่างกัน

คำว่า อัลลอฮ์ เขียนโดยไม่มีอะลิฟเสมอ เพื่อที่จะสะกดเป็นสระ อา นั่นเพราะว่าการสะกดแบบนี้มีมาก่อนที่ชาวอาหรับจะเริ่มใช้ อะลิฟ ไว้สะกดเสียง อา อย่างเป็นปกติวิสัย อย่างไรก็ตาม ในการสะกดคำ จะมี อะลีฟ เล็กบน ชัดดะฮ์ เพื่อระบุการสะกด

ข้อยกเว้นหนึ่งอาจพบในจารึกซะบาดที่มีมาก่อนศาสนาอิสลาม[81] โดยสุดที่สัญญาณไม่ชัดเจนที่อาจเป็นรูป ยาว หรืออาจไม่ได้เชื่อมกัน ล-ฮ:-

  • الاه: คำนี้อ่านเป็น อัลลอฮ์ สะกดด้วยการออกเสียง อะลีฟ เป็น อา
  • الإله: คำนี้อ่านเป็น อัลอิลาฮ์ = 'พระเจ้า' (รูปในอดีต ไม่ย่อ) ซึ่งไม่มีอักษร อะลีฟ สำหรับเสียง อา

ไทป์ฟอนต์อาหรับหลายอันมีตัวแฝดสำหรับคำว่า อัลลอฮ์[82]

ยูนิโคด

ยูนิโคดมีรหัสสำหรับคำว่าอัลลอฮ์ ‎ = U+FDF2 ในบล็อก Arabic Presentation Forms-A ซึ่งมีไว้เพื่อ "เข้ากันได้กับชุดอักขระรุ่นเก่าบางชุดที่เข้ารหัสรูปแบบการนำเสนอโดยตรง"[83][84] ส่วนตราแผ่นดินของอิหร่านถูกบันทึกในส่วน Miscellaneous Symbols ที่รหัส U+262B (☫)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "God". Islam: Empire of Faith. PBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 December 2010.
  2. "Islam and Christianity", Encyclopedia of Christianity (2001): Arabic-speaking Christians and Jews also refer to God as Allāh.
  3. Gardet, L. "Allah". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam Online. Brill Online. สืบค้นเมื่อ 2 May 2007.
  4. Zeki Saritoprak (2006). "Allah". ใน Oliver Leaman (บ.ก.). The Qur'an: An Encyclopedia. Routledge. p. 34. ISBN 9780415326391.
  5. Vincent J. Cornell (2005). "God: God in Islam". ใน Lindsay Jones (บ.ก.). Encyclopedia of Religion. Vol. 5 (2nd ed.). MacMillan Reference USA. p. 724.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Christian Julien Robin (2012). Arabia and Ethiopia. In The Oxford Handbook of Late Antiquity. OUP USA. pp. 304–305. ISBN 9780195336931.
  7. Merriam-Webster. "Allah". Merriam-Webster. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2014. สืบค้นเมื่อ 25 February 2012.
  8. 8.0 8.1 Columbia Encyclopedia, Allah
  9. 9.0 9.1 "Allah." Encyclopædia Britannica. 2007. Encyclopædia Britannica
  10. 10.0 10.1 10.2 Encyclopedia of the Modern Middle East and North Africa, Allah
  11. Willis Barnstone, Marvin Meyer The Gnostic Bible: Revised and Expanded Edition Shambhala Publications 2009 ISBN 978-0-834-82414-0 page 531
  12. Sikhs target of 'Allah' attack, Julia Zappei, 14 January 2010, The New Zealand Herald. Accessed on line 15 January 2014.
  13. Malaysia court rules non-Muslims can't use 'Allah', 14 October 2013, The New Zealand Herald. Accessed on line 15 January 2014.
  14. Malaysia's Islamic authorities seize Bibles as Allah row deepens, Niluksi Koswanage, 2 January 2014, Reuters. Accessed on line 15 January 2014. เก็บถาวร 16 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. 15.0 15.1 15.2 Idris Jala (24 February 2014). "The 'Allah'/Bible issue, 10-point solution is key to managing the polarity". The Star. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  16. 16.0 16.1 16.2 D.B. Macdonald. Encyclopedia of Islam, 2nd ed, Brill. "Ilah", Vol. 3, p. 1093.
  17. Gerhard Böwering. Encyclopedia of the Quran, Brill, 2002. Vol. 2, p. 318
  18. Columbia Encyclopaedia says: Derived from an old Semitic root referring to the Divine and used in the Canaanite El, the Mesopotamian ilu, and the biblical Elohim and Eloah, the word Allah is used by all Arabic-speaking Muslims, Christians, Jews, and other monotheists.
  19. The Comprehensive Aramaic Lexicon – Entry for ʼlh เก็บถาวร 18 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. Hitti, Philip Khouri (1970). History of the Arabs. Palgrave Macmillan. pp. 100–101.
  21. 21.0 21.1 L. Gardet, Allah, Encyclopaedia of Islam, ed. by Sir H.A.R. Gibb
  22. Zeki Saritopak, Allah, The Qu'ran: An Encyclopedia, ed. by Oliver Leaman, p. 34
  23. 23.0 23.1 Gerhard Böwering, God and his Attributes, Encyclopedia of the Qur'an, ed. by Jane Dammen McAuliffe
  24. 24.0 24.1 Jonathan Porter Berkey (2003). The Formation of Islam: Religion and Society in the Near East, 600-1800. Cambridge University Press. p. 42. ISBN 978-0-521-58813-3.
  25. Daniel C. Peterson (26 February 2007). Muhammad, Prophet of God. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 21. ISBN 978-0-8028-0754-0.
  26. 26.0 26.1 Francis E. Peters (1994). Muhammad and the Origins of Islam. SUNY Press. p. 107. ISBN 978-0-7914-1875-8.
  27. Irving M. Zeitlin (19 March 2007). The Historical Muhammad. Polity. p. 33. ISBN 978-0-7456-3999-4.
  28. "Allah." In The Oxford Dictionary of Islam. Ed. John L. Esposito. Oxford Islamic Studies Online. 1 January 2019. <http://www.oxfordislamicstudies.com/article/opr/t125/e128 เก็บถาวร 2015-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>.
  29. Lewis, Bernard; Holt, P. M.; Holt, Peter R.; Lambton, Ann Katherine Swynford (1977). The Cambridge history of Islam. Cambridge, Eng: University Press. p. 32. ISBN 978-0-521-29135-4.
  30. 30.0 30.1 Thomas E. Burman, Religious Polemic and the Intellectual History of the Mozarabs, Brill, 1994, p. 103
  31. Marshall G. S. Hodgson, The Venture of Islam: Conscience and History in a World Civilization, University of Chicago Press, p. 156
  32. "The Himyarite Martyrs".
  33. James of Edessa the hymns of Severus of Antioch and others." Ernest Walter Brooks (ed.), Patrologia Orientalis VII.5 (1911)., vol: 2, p. 613. pp. ܐܠܗܐ (Elaha).
  34. Ignatius Ya`qub III, The Arab Himyarite Martyrs in the Syriac Documents (1966), Pages: 9-65-66-89
  35. Alfred Guillaume& Muhammad Ibn Ishaq, (2002 [1955]). The Life of Muhammad: A Translation of Isḥāq's Sīrat Rasūl Allāh with Introduction and Notes. Karachi and New York: Oxford University Press, page 18.
  36. M. A. Kugener, "Nouvelle Note Sur L'Inscription Trilingue De Zébed", Rivista Degli Studi Orientali, pp. 577-586.
  37. Adolf Grohmann, Arabische Paläographie II: Das Schriftwesen und die Lapidarschrift (1971), Wien: Hermann Böhlaus Nochfolger, Page: 6-8
  38. Beatrice Gruendler, The Development of the Arabic Scripts: From the Nabatean Era to the First Islamic Century according to Dated Texts (1993), Atlanta: Scholars Press, Page:
  39. Frederick Winnett V, Allah before Islam-The Moslem World (1938), Pages: 239–248
  40. Sidney H Griffith, "The Gospel in Arabic: An Enquiry into Its Appearance in the First Abbasid Century", Oriens Christianus, Volume 69, p. 166. "All one can say about the possibility of a pre-Islamic, Christian version of the Gospel in Arabic is that no sure sign of its actual existence has yet emerged.
  41. Grafton, David D (2014). The identity and witness of Arab pre-Islamic Arab Christianity: The Arabic language and the Bible. Christianity [...] did not penetrate into the lives of the Arabs primarily because the monks did not translate the Bible into the vernacular and inculcate Arab culture with biblical values and tradition. Trimingham's argument serves as an example of the Western Protestant assumptions outlined in the introduction of this article. It is clear that the earliest Arabic biblical texts can only be dated to the 9th century at the earliest, that is after the coming of Islam.
  42. Sidney H. Griffith, The Bible in Arabic: The Scriptures of the 'People of the Book' in the Language of Islam. Jews, Christians and Muslims from the Ancient to the Modern World, Princeton University Press, 2013, pp242- 247 ff.
  43. The Arabic Bible before Islam – Clare Wilde on Sidney H. Griffith's The Bible in Arabic. June 2014.
  44. Hjälm, ML (2017). Senses of Scripture, Treasures of Tradition: The Bible in Arabic Among Jews, Christians and Muslims. Brill. ISBN 9789004347168.
  45. Hjälm, ML (2017). Senses of Scripture, Treasures of Tradition, The Bible in Arabic among Jews, Christians and Muslims (Biblia Arabica) (English and Arabic ed.). Brill. ISBN 978-9004347168. By contrast, manuscripts containing translations of the gospels are encountered no earlier then the year 873 (Ms. Sinai. N.F. parch. 14 & 16)
  46. Irfan Shahîd, Byzantium and the Arabs in the Fourth Century, Dumbarton Oaks Trustees for Harvard University-Washington DC, page 418.
  47. Irfan Shahîd, Byzantium and the Arabs in the Fourth Century, Dumbarton Oaks Trustees for Harvard University-Washington DC, Page: 452
  48. A. Amin and A. Harun, Sharh Diwan Al-Hamasa (Cairo, 1951), Vol. 1, Pages: 478-480
  49. Al-Marzubani, Mu'jam Ash-Shu'araa, Page: 302
  50. Andreas Görke and Johanna Pink Tafsir and Islamic Intellectual History Exploring the Boundaries of a Genre Oxford University Press in association with The Institute of Ismaili Studies London ISBN 978-0-19-870206-1 p. 478
  51. Böwering, Gerhard, God and His Attributes, Encyclopaedia of the Qurʼān, Brill, 2007.
  52. สัญลักษณ์อักษรอาหรับ/ผังยูนิโคดสำหรับโองการอัลกุรอาน, U+06DD, page 3, Proposal for additional Unicode characters
  53. Sale, G AlKoran
  54. Bentley, David (September 1999). The 99 Beautiful Names for God for All the People of the Book. William Carey Library. ISBN 978-0-87808-299-5.
  55. Murata, Sachiko (1992). The Tao of Islam : a sourcebook on gender relationships in Islamic thought. Albany NY USA: SUNY. ISBN 978-0-7914-0914-5.
  56. Gary S. Gregg, The Middle East: A Cultural Psychology, Oxford University Press, p.30
  57. Carolyn Fluehr-Lobban, Islamic Society in Practice, University Press of Florida, p. 24
  58. M. Mukarram Ahmed, Muzaffar Husain Syed, Encyclopaedia of Islam, Anmol Publications PVT. LTD, p. 144
  59. Carl W. Ernst, Bruce B. Lawrence, Sufi Martyrs of Love: The Chishti Order in South Asia and Beyond, Macmillan, p. 29
  60. F.E. Peters, Islam, p.4, Princeton University Press, 2003
  61. William Montgomery Watt, Islam and Christianity today: A Contribution to Dialogue, Routledge, 1983, p.45
  62. Islam in Luce López Baralt, Spanish Literature: From the Middle Ages to the Present, Brill, 1992, p.25
  63. F. E. Peters, The Monotheists: Jews, Christians, and Muslims in Conflict and Competition, Princeton University Press, p.12
  64. Nation of Islam – personification of Allah as Detroit peddler W D Fard เก็บถาวร 13 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  65. "A history of Clarence 13X and the Five Percenters, referring to Clarence Smith as Allah". Finalcall.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  66. Example: Usage of the word "Allah" from Matthew 22:32 in Indonesian bible versions (parallel view) as old as 1733 เก็บถาวร 19 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  67. The Indonesian Language: Its History and Role in Modern Society Sneddon, James M.; University of New South Wales Press; 2004
  68. The History of Christianity in India from the Commencement of the Christian Era: Hough, James; Adamant Media Corporation; 2001
  69. Wiltens, Caspar; Heurnius, Justus (1650). Justus Heurnius, Albert Ruyl, Caspar Wiltens. "Vocabularium ofte Woordenboeck nae ordre van den alphabeth, in 't Duytsch en Maleys". 1650:65. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  70. But compare: Milkias, Paulos (2011). "Ge'ez Literature (Religious)". Ethiopia. Africa in Focus. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. p. 299. ISBN 9781598842579. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018. Monasticism played a key role in the Ethiopian literary movement. The Bible was translated during the time of the Nine Saints in the early sixth century [...].
  71. Barton, John (2002–12). The Biblical World, Oxford, UK: Routledge. ISBN 978-0-415-27574-3.
  72. North, Eric McCoy; Eugene Albert Nida ((2nd Edition) 1972). The Book of a Thousand Tongues, London: United Bible Societies.
  73. (ในภาษาอินโดนีเซีย) Biography of Ruyl
  74. "Encyclopædia Britannica: Albert Cornelius Ruyl". Britannica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  75. Roughneen, Simon (14 October 2013). "No more 'Allah' for Christians, Malaysian court says". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 14 October 2013.
  76. "BBC News - More than 300 Bibles are confiscated in Malaysia". BBC. 2 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2014. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  77. 77.0 77.1 "Catholic priest should respect court: Mahathir". Daily Express. 9 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2014. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  78. Jane Moh; Peter Sibon (29 March 2014). "Worship without hindrance". The Borneo Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
  79. "Bahasa Malaysia Bibles: The Cabinet's 10-point solution". 25 January 2014.
  80. "Najib: 10-point resolution on Allah issue subject to Federal, state laws". The Star. 24 January 2014. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  81. "Zebed Inscription: A Pre-Islamic Trilingual Inscription in Greek, Syriac & Arabic From 512 CE". Islamic Awareness. 17 March 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2013.
  82. The Unicode Consortium. FAQ - Middle East Scripts เก็บถาวร 1 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  83. "Unicode Standard 5.0, p.479, 492" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 April 2014. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

อักษรศิลป์