มัตจะ
มัตจะ | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 抹茶 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||
ฮันกึล | 말차 | ||||||||||||||
ฮันจา | 抹茶 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||
คันจิ | 抹茶 | ||||||||||||||
คานะ | まっちゃ |
มัตจะ (ญี่ปุ่น: 抹茶) เป็นผงใบชาเขียวบดละเอียดที่มีการบริโภคแบบดั้งเดิมในประเทศจีนและประเทศในเอเชียตะวันออก ในประเทศญี่ปุ่นนั้นนอกจากจะใช้เป็นเครื่องดื่มในพิธีชงชาแล้ว ยังใช้เป็นส่วนผสมในขนมญี่ปุ่น ขนมฝรั่ง และในอาหารต่าง ๆ อย่างแพร่หลายอีกด้วย
ภาพรวม
[แก้]ความหมายของมัตจะ
[แก้]คำจำกัดความของมัตจะโดยสมาคมอุตสาหกรรมชาญี่ปุ่น ได้ให้นิยามไว้ว่าเป็น "สิ่งที่ผลิตเป็นในรูปผงละเอียดโดยการใช้โม่บดชามาบดชาซึ่งเพาะขึ้นโดยถูกบังแสงแดดแล้วนำมาอบแห้งโดยไม่นวด" อย่างไรก็ตามจริง ๆ แล้วอาจไม่จำเป็นต้องบดด้วยโม่บดชาก็ได้ ขอแค่ทำให้เป็นผงละเอียด แม้จะทำให้เป็นผงด้วยวิธีอื่นก็ยังเรียกว่าเป็น "มัตจะ" ดังนั้น แม้ว่าจะถูกบดด้วยเครื่องบดแบบโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถเรียกว่าเป็นมัตจะได้[1]
ส่วนโคนาจะ คือผงละเอียดที่รวบรวมระหว่างการผลิตเซ็นจะ ใช้ต้มด้วยกาน้ำดื่ม เป็นคนละอย่างกับมัตจะ
มัตจะในรูปผง
[แก้]ทำโดยนำใบของต้นชามานึ่งแล้วทำให้แห้งแล้วบดละเอียด เป็นที่นิยมนำมาใช้ดื่มจนถึงยุคเอโดะ[2] แม้แต่ในปัจจุบัน ในซาโด ก็เสิร์ฟมัตจะที่ถูกบดละเอียดก่อนหนึ่งวัน มีการจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำเป็นผงแล้วและปิดผนึกในถุงพลาสติก หรือใส่ในกระบอกโลหะสำหรับใช้ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพ ให้เก็บในที่เย็นและมืดในภาชนะที่มีอากาศถ่ายเทหลังจากเปิด
มัตจะสำหรับดื่ม
[แก้]แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โคอิจะ (濃茶) คือชาแบบเข้ม มีสีเขียวเข้มเจือด้วยสีดำ และ อูซูจะ (薄茶) ซึ่งชาแบบอ่อน เป็นสีเขียวอมฟ้าสดใส ในพิธีชงชา ชาเข้มข้น 3 ถ้วยจะเสิร์ฟในช้อนตักชา และน้ำร้อนปริมาณเล็กน้อยจะถูกเทลงในมัตจะปริมาณพอเหมาะ จากนั้นนวดด้วยไม้ตีชา สำหรับ อูซูจะนั้นจะใช้ช้อนตักชา 1 ถ้วยครึ่งสำหรับ 1 คน และเติมน้ำร้อนครึ่งช้อนแล้วคนด้วยไม้ตีชา ในซาโด ปัจจุบันนี้ มักใช้โคอิจะเป็นหลักส่วนอูซูจะถือว่าใช้ รองแบบไม่เป็นทางการ การกวนด้วยไม้ตีชานั้นมีวิธีการแตกต่างกันไปตามสำนัก
สำหรับการใช้เป็นเครื่องดื่มทั่วไปนั้น แม้ว่าในปัจจุบันเซ็นจะจะเป็นที่ต้องการมากกว่า แต่ในบางพื้นที่ ประเพณีการดื่มมัตจะในช่วงพักระหว่างการทำงานในฟาร์มก็ยังคงมีอยู่
มัตจะในส่วนประกอบในอาหาร
[แก้]ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น มัตจะนั้นแตกต่างจากชาชนิดอื่น ๆ คือตัวใบชาจะถูกรับประทานได้ด้วย ดังนั้นจึงมีการใช้มัตจะเป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารอย่างแพร่หลาย และยังใช้ในขนมเพราะรสชาติเข้ากันได้ดีกับน้ำตาล ต่อไปนี้คือตัวอย่างทั่วไป
- วางาชิ
- ขนมอบ เช่น คัสเตลลา และคุกกี้
- ของหวานแช่แข็ง เช่น น้ำแข็งไส ไอศกรีม และซอฟต์ครีม
- ใช้ทำขนมฝรั่ง เช่น ช็อกโกแลต และลูกกวาด ให้เป็นรสชาติแบบญี่ปุ่น
- ทำของหวาน เช่น พุดดิง และพาร์เฟ่ต์ ให้เป็นรสชาติแบบญี่ปุ่น
- เท็มปุระ: อาจนำมัตจะมาผสมกับเกลือที่ใช้ทำ นอกจากนี้ยังมีเท็มปุระที่ชุบด้วยแป้งที่มีส่วนผสมของมัตจะ
นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้มันเป็นส่วนผสมและ เครื่องปรุงรส สำหรับอาหารญี่ปุ่น อาหารตะวันตก และอาหารจีน อย่างเช่นฟงดูว์ และเครื่องดื่มรวมถึงเบียร์ด้วย[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 桑原秀樹『お抹茶のすべて』誠文堂新光社、2015年、ISBN 9784416615300、pp.12-16.
- ↑ 三輪茂雄. "茶道具から消された茶磨(茶臼)". 石臼 & 粉体工学 粉体の話はまず高貴な粉から 茶磨(茶臼)の日本史 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2009-08-13.
- ↑ 【仰天ゴハン】食べる抹茶(京都府宇治市)進化 止まっちゃいけない『読売新聞』朝刊2019年6月9日よみほっと(別刷り日曜版)1面。