ข้ามไปเนื้อหา

โจหอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจหอง
曹洪
ภาพวาดโจหองในสมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลม้าทะยาน (驃騎將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ปลายคริสต์ทศวรรษ 220 – ค.ศ. 232 (232)
กษัตริย์โจยอย
ขุนพลทัพหลัง (後將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – ป. ปลายคริสต์ทศวรรษ 220
กษัตริย์โจยอย
ขุนพลม้าทะยาน (驃騎將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ป. ต้นคริสต์ทศวรรษ 220
กษัตริย์โจผี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตค.ศ. 232[1]
บุตร
อาชีพขุนพล
ชื่อรองจื่อเหลียน (子廉)
ชื่อหลังเสียชีวิตกงโหว (恭侯)
บรรดาศักดิ์เล่อเฉิงโหว
(樂城侯)

โจหอง (เสียชีวิต ค.ศ.232) ชื่อรอง จื่อเหลียน เป็นขุนพลของวุยก๊กในยุคสามก๊ก[1] เขาเริ่มรับราชการในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกภายใต้โจโฉซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของเขา[2]

ชีวิตช่วงตันและอาชีพ

[แก้]

ในสามก๊ก

[แก้]

เมื่อโจโฉป่าวประกาศระดมพลเพื่อกำจัดตั๋งโต๊ะ โจหองและโจหยินผู้พี่ได้คุมกำลังพันเศษมาเข้าร่วมกับโจโฉที่เมืองตันลิว นับแต่นั้นทั้งสองพี่พี่น้องก็ได้ร่วมมือกับโจโฉตั้งตนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจหองได้รบให้โจโฉในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่หลายครั้ง โจหองเคยช่วยชีวิตโจโฉมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก โจโฉตามตีท้ายทัพตั๋งโต๊ะ แต่เสียที ตัวโจโฉหลบหนี ซีเอ๋งทหารตั๋งโต๊ะยิงเกาทัณฑ์ถูกโจโฉได้รับบาดเจ็บและม้าของโจโฉถูกหอกของข้าศึกล้มลง โจหองได้มาช่วยชีวิตโจโฉไว้ได้ และขอให้โจโฉขึ้นมา แต่โจโฉปฏิเสธ โจหองจึงพูดไว้ว่า "แผ่นดินนี้โจหองตายไม่เป็นไร แต่ท่านตายไม่ได้" ก่อนจะพาหนีมาและพบกับซีเอ๋งที่ดักรออยู่ แต่ แฮหัวตุ้น และ แฮหัวเอี๋ยน สองนายทหารเอกเข้ามาช่วยทันและ แฮหัวตุ้น ก็สังหารซีเอ๋ง ณ ที่นั้น โจโฉจึงรอดตายได้อย่างหวุดหวิด ... ครั้งที่ 2 โจโฉเสียทีให้กับม้าเฉียวจนต้องตัดหนวดหนีตาย หลบคมทวนของม้าเฉียวเกือบจะถูกม้าเฉียวสังหารอยู่แล้ว โชคดีที่โจหองกับ แฮหัวเอี๋ยน มาช่วยชีวิตไว้ได้ทัน โจโฉซาบซึ้งในบุญคุณของโจหองจึงบำเหน็จรางวัลให้อย่างงาม ...ส่วนเรื่องการตายของโจหองถูกบันทึกไว้ว่า "แก่ตาย"

ครอบครัว

[แก้]

รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยโจหอง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 de Crespigny (2007), p. 42.
  2. (曹洪字子廉,太祖從弟也。) Sanguozhi vol. 9.
  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
  • Sima, Guang (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
  • อี้โจวชู.