ข้ามไปเนื้อหา

ชื่อรอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อรอง (จื้อ)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม(表) 字
ฮั่นยฺหวี่พินอิน(biǎo) zì
เวด-ไจลส์(piao)-tzu
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามtự
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์ja
เอ็มอาร์cha
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ
ฮิรางานะあざな
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงazana

ชื่อรอง หรือ ชื่อทางการ หรือ จื้อ (จีน: ; พินอิน: ; อังกฤษ: courtesy name หริอ style name[1]) เป็นชื่อที่มอบให้บุคคลหนึ่งเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่นอกเหนือจากชื่อตัวที่ได้รับมาแต่กำเนิด[2] ธรรมเนียมการมอบชื่อรองเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปรากฏในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี และเวียดนาม[3]

ชื่อรองจะนำมาใช้แทนชื่อตัวของผู้ชายเมื่อบุคคลผู้นั้นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่[4] ผู้ตั้งชื่อรองให้อาจจะเป็นบิดามารดาหรืออาจารย์สอนหนังสือที่ตั้งชื่อรองให้ตอนที่บุคคลนั้น ๆ เข้าเรียนในสำนักศึกษาเป็นวันแรก

ระวังสับสนชื่อรองกับชื่อศิลปิน (hào, จีน: , Korean: ) อีกชื่อหนึ่งที่มีการกล่าวถึงบ่อยในบริบทวัฒนธรรมเอเชีย ชื่อศิลปินมักมีความเกี่ยวข้องงานศิลปะและมีความใกล้เคียงกับนามปากกาหรือนามแฝงมากกว่า เมื่อเทียบกับชื่อรอง

ตัวอย่าง

[แก้]
ชื่อบุคคลจีน ชื่อสกุล (แซ่/ซิ่ง) ชื่อตัว (หมิง) ชื่อรอง (จื้อ)
Lǎozǐ 老子 (เหลาจื่อ/เล่าจื๊อ) (หลี่) Ěr (เอ่อร์) Bóyáng 伯陽 (ปั๋วหยาง)
Kǒngzǐ 孔子 (ขงจื่อ/ขงจื๊อ) Kǒng (ข่ง) Qiū (ชิว) Zhòngní 仲尼 (จ้งหนี)
Sūnzǐ 孫子 (ซุนจื่อ) Sūn (ซุน) (อู่) Chángqīng 長卿 (ฉางชิง)
Cáo Cāo 曹操 (เฉา เชา/โจโฉ) Cáo (เฉา/โจ) Cāo (เชา/โฉ) Mèngdé 孟德 (เมิ่งเต๋อ)
Guān Yǔ 關羽 (กวัน ยฺหวี่/กวนอู) Guān (กวัน/กวน) (ยฺหวี่/อู) Yúncháng 雲長 (ยฺหวินฉาง/หุนเตี๋ยง)
Liú Bèi 劉備 (หลิว เป้ย์/เล่าปี่) Liú (หลิว/เล่า) Bèi (เป้ย์/ปี่) Xuándé 玄德 (เสฺวียนเต๋อ/เหี้ยนเต๊ก)
Zhūgé Liàng 諸葛亮 (จูเก๋อ เลี่ยง/จูกัดเหลียง) Zhūgé 諸葛 (จูเก๋อ/จูกัด) Liàng (เลี่ยง/เหลียง) Kǒngmíng 孔明 (ข่งหมิง/ขงเบ้ง)
Zhào Yún 趙雲 (เจ้า ยฺหวิน) Zhào (เจ้า/เตียว) Yún (ยฺหวิน) Zǐlóng 子龍 (จื่อหลง/จูล่ง)
Lǐ Bái 李白 (หลี่ ไป๋) (หลี่) Bái (ไป๋) Tàibái 太白 (ไท่ไป๋)
Sū Dōngpō 蘇東坡 (ซู ตงพัว) (ซู) Shì (ชื่อ) Zǐzhān 子瞻 (จื่อจัน)
Yuè Fēi 岳飛 (เยฺว่ เฟย์/งักฮุย) Yuè (เยฺว่/งัก) Fēi (เฟย์/ฮุย) Péngjǔ 鵬舉 (เผิงจฺวี่)
Yuán Chónghuàn 袁崇煥 (ยฺเหวียน ฉงฮฺวั่น) Yuán (ยฺเหวียน) Chónghuàn 崇煥 (ฉงฮฺวั่น) Yuánsù 元素 (ยฺเหวียนซู่)
Liú Jī 劉基 (หลิว จี) Liú (หลิว) (จี) Bówēn 伯溫 (ปั๋วเวิน)
Táng Yín 唐寅 (ถัง อิ๋น) Táng (ถัง) Yín (อิ๋น) Bóhǔ 伯虎 (ปั๋วหู่)
Máo Zédōng 毛澤東 (เหมา เจ๋อตง) Máo (เหมา) Zédōng 澤東 (เจ๋อตง) Rùnzhī 潤之 (รุ่นจือ)
Chiang Kai-shek 蔣介石 (เจียง ไคเชก) Jiǎng (เจี่ยง) Zhōngzhèng 中正 (จงเจิ้ง) Jièshí 介石 (เจี้ยฉือ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tianjun Liu, Xiao Mei Qiang (2013). Chinese Medical Qigong. p. 590. ISBN 978-1848190962. Mencius (371—289 BCE), born in Zou county (Shandong province), first name Ke, style name Zi Yu, was a famous philosopher, educator, politician, and expert on the Qigong life nurturing of Confucius in the Zhanguo Period.
  2. Origins of Chinese Names. 2007. p. 142. ISBN 978-9812294623. In ancient times, besides having a surname and a given name, one would have a courtesy name 'Zì' as well. The courtesy name was the proper form of address for an adult. On reaching 20 years of age, young men would 'put on the hat' as ...
  3. Names of Persons and Titles of Rulers
  4. "Qū lǐ shàng" 曲禮上 [Summary of the Rules of Propriety Part 1]. Lǐjì 禮記 [Book of Rites]. Line 44. A son at twenty is capped, and receives his appellation....When a daughter is promised in marriage, she assumes the hair-pin, and receives her appellation.