แอโรฟลอต
| |||||||
ก่อตั้ง | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 (101 ปี)[1] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 (101 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | คราสโนยัค–นานาชาติ มอสโก–เชเรเมเตียโว | ||||||
ท่ารอง | เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก | ||||||
สะสมไมล์ | แอโรฟลอต โบนัส | ||||||
พันธมิตรการบิน | สกายทีม (ถูกระงับ) สกายทีมคาร์โก (ถูกระงับ) | ||||||
บริษัทลูก | สายการบินโพบีลา รอซิยาห์แอร์ไลน์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 168 | ||||||
จุดหมาย | 104 | ||||||
การซื้อขาย | MCX: AFLT | ||||||
สำนักงานใหญ่ | มอสโก, ประเทศรัสเซีย | ||||||
บุคลากรหลัก | Sergei Alexandrovsky (ประธานและซีอีโอ) | ||||||
เว็บไซต์ | www.aeroflot.com |
แอโรฟลอต (รัสเซีย: Аэрофло́т; อังกฤษ: Aeroflot) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศรัสเซีย และอดีตสายการบินแห่งชาติของสหภาพโซเวียต โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโวในมอสโก ให้บริการเที่ยวบินทั้งภายในและภายนอกประเทศ 97 เมือง ใน 48 ประเทศ มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว กรุงมอสโก
ประวัติ
[แก้]แอโรฟลอตเริ่มต้นในปีค.ศ. 1923 ในสหภาพโซเวียต ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของแอโรฟลอตถูกเก็บเป็นความลับเมื่อสงครามเย็นเริ่มต้นขึ้น และแอโรฟลอตต้องยกเลิกเที่ยวบินไปสหรัฐอเมริกา
ตลอดช่วงทศวรรษ 1960, 70 และ 80 แอโรฟลอตและสายการบินในกลุ่มประเทศตะวันออกประสบอุบัติเหตุทางอากาศหลายครั้งเนื่องจากเครื่องบินรัสเซียที่เก่าและประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียวที่แอโรฟลอตและสายการบินเหล่านั้นสามารถนำมาประจำการได้ อย่างไรก็ตาม แอโรฟลอตเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงช่วงทศวรรษ 1980[2] หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 แอโรฟลอตเริ่มพัฒนาฝูงบินให้ทันสมัยโดยการสั่งซื้อเครื่องบินตะวันตกเพิ่มเติม เช่น แอร์บัส เอ300 และ โบอิง 767 ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 แอโรฟลอตเข้าร่วมเป็นสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสกายทีม[3]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ก่อนเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 แอโรฟลอตให้บริการ 146 จุดหมายปลายทางใน 52 ประเทศ[4] แต่ได้ลดลงเหลือเพียง118 จุดหมายหลังจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
พันธมิตรทางการบิน
[แก้]แอโรฟลอตเป็นสมาชิกของสกายทีม[5][6] ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 และเข้าเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006[7][8] แม้ว่าแอโรฟลอตจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปของพันธมิตรในขณะนั้น แต่สกายทีมมองเห็นศักยภาพในเครือข่ายศูนย์กลางขนาดใหญ่ของสายการบินและตัดสินใจว่าจะชดเชยข้อบกพร่องของสายการบิน[9] บริษัทขนส่งสินค้าของแอโรฟลอต แอโรฟลอต–คาร์โก ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับบริษัทแม่อีกครั้ง โดยดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของ สกายทีมคาร์โก[10]
ด้วยการเริ่มต้นมาตราการคว่ำบาตรต่อรัสเซียหลังการโจมตียูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 สกายทีมได้ระงับสถานะสมาชิกของแอโรฟลอต
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 แอโรฟลอตได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[11]
ฝูงบิน
[แก้]ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 แอโรฟลอตมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
B | C | E | รวม | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 50 | — | 20 | — | 120 | 140 | ลำหนึ่งมีลวดลายย้อนยุค 1950s[14] ลำหนึ่งมีลวดลายสกายทีม สองลำมีลวดลายซีเอสเคเอ มอสโก [15] |
8 | 150 | 158 | |||||
แอร์บัส เอ320นีโอ | 6 | — | 12 | — | 144 | 156 | |
แอร์บัส เอ321-200 | 33 | — | 28 | — | 142 | 170 | ลำหนึ่งมีลวดลายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[16] ลำหนึ่งมีลวดลายเฉลิมฉลองครบรอบ 95 ปี[17] |
16 | 167 | 183 | |||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 3 | — | 12 | — | 184 | 196[18] | |
แอร์บัส เอ330-300 | 12 | — | 28 | — | 268 | 296 | ลำหนึ่งมีลวดลายสกายทีม [19] |
36 | 265 | 301 | |||||
แอร์บัส เอ350-900 | 7 | 13[20] | 28 | 24 | 264 | 316[21] | การส่งมอบถูกระงับตามมาตราการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย[22] อากาศยานที่ได้มีการติดตั้งห้องโดยสารและสวมลวดลาบของแอโรฟลอตแล้วจะถูกโอนย้ายไปยังสายการบินอื่นๆ โดยแอร์บัส.[23] |
โบอิง 737-800 | 37 | — | 20 | — | 138 | 158 | ลำหนึ่งมีลวดลายสกายทีม
ทั้งหมดจะถูกโอนย้ายไปยังสายการบินโพบีลา[24] |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 2 | — | 30 | 48 | 324 | 402 | |
28 | 24 | 375 | 427 | ||||
ยาโกเลฟ เอ็มซี-21-300 | — | 260[25] | 16 | — | 159 | 175[26] | สั่งซื้อเพิ่มเติม 210 ลำในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022.[27] กำหนดส่งมอบในปี 2024[28] |
ซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต100-95 | — | 89 | 12 | — | 75 | 87 | สั่งซื้อเพิ่มเติม 86 ลำในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022[27] |
ตูโปเลฟ ตู-214 | — | 40 | รอประกาศ | สั่งซื้อในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022[27] | |||
รวม | 168 | 402 |
แอโรฟลอตมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8.1 ปี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Aeroflot official website
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
- ↑ http://sputniknews.com/business/20150609/1023107419.html
- ↑ "Vietnam Airlines, Aeroflot to expand cooperation | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ https://web.archive.org/web/20140620140051/http://www.themoscowtimes.com/business/article/aeroflot-becomes-10th-airline-to-join-skyteam/205560.html
- ↑ https://web.archive.org/web/20121014005440/http://www.kommersant.com/p-11187/r_500/Aeroflot_top
- ↑ https://web.archive.org/web/20100106065928/http://skyteam.com/news/headlines/20040524.html
- ↑ https://web.archive.org/web/20140811120333/http://www.bizjournals.com/atlanta/stories/2004/05/24/daily3.html
- ↑ "Aeroflot eyes Sky Team membership". BBC News. 29 January 2004. Archived from the original on 2 April 2015. Retrieved 28 June 2012.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
- ↑ "Codeshare flights, 2020". Aeroflot (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
- ↑ "Aircraft Fleet". Aeroflot (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
- ↑ "Aeroflot - Russian Airlines Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ Drum, Bruce (31 May 2013). "Aeroflot puts its Airbus A320 1956 retrojet into revenue service". World Airline News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
- ↑ "A320 with CSKA Moscow livery joins Aeroflot fleet". 26 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
- ↑ "Aeroflot unveils Manchester United livery on new Airbus A321". 23 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
- ↑ "ФОТО: A321 "Аэрофлота" к 95-летию авиакомпании получил специальную ливрею". ato.ru. 3 May 2018.
- ↑ Liu, Jim (18 February 2020). "Aeroflot schedules A321neo Dubai al Maktoum service in Oct 2020". routesonline.com.
- ↑ "SkyTeam livery fact sheet" (PDF). SkyTeam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 August 2016.
- ↑ airbus.com - O&D May 2022 retrieved 2 July 2022
- ↑ Liu, Jim (19 June 2019). "Aeroflot outlines A350 long-haul service in S20". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
- ↑ Hepher, Tim (12 April 2022). "Analysis: Pandemic jet deals in spotlight as Airbus axes Russia delivery". Reuters. สืบค้นเมื่อ 22 June 2022.
- ↑ "Turkish Airlines nimmt Aeroflot-A350". aero.de (ภาษาเยอรมัน). 2022-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
- ↑ "Aeroflot Group's new strategy gains traction". Russian Aviation Insider. 31 May 2021.
- ↑ "Aeroflot to sign firm order with Rostec for 50 of the latest Russian-built MC-21 aircraft". Aeroflot (Press release). 1 February 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-01. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
- ↑ ""Аэрофлот" получит первые МС-21 в конце 2018 года". ТАСС. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 "News Aeroflot orders 210 MC-21-300s, 89 SSJs, 40 Tu-214s". Ch-Aviation. 7 September 2022.
- ↑ "Aeroflot Orders 339 Russian-Built Planes". Onemileatatime.com. 7 September 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แอโรฟลอต ประเทศไทย เก็บถาวร 2005-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Aeroflot