ข้ามไปเนื้อหา

มิริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชามใส่มิริง

มิริง (ญี่ปุ่น: 味醂 หรือ みりん) เป็นเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นในการประกอบอาหารของญี่ปุ่น ประกอบด้วยน้ำตาล 40-50%[1] เป็นประเภทไวน์ข้าวคล้ายกับสาเก แต่จะลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงจากราว 20% เหลือเพียง 14%[2] โดยมิริงนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ฮงมิริง มีแอลกอฮอลล์ 14% 2. ชิโอะมิริง มีแอลกอฮอล์และเกลือราว 1.5%[1] เพื่อเลี่ยงภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสุดท้ายคือ 3. ชินมิริง[3] หรือเรียกอีกอย่างว่า มิริงฟุโชมิริว ซึ่งมีแอลกอฮอล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1%

ขวดบรรจุมิริงที่ผลิตในการพาณิชย์ญี่ปุ่น

ในยุคเอะโดะ ชาวญี่ปุ่นดื่มมิริงโดยถือว่าเป็นสาเกหวาน หรือ เหล้าหวาน [4] และโอโตโซะสำหรับเทศกาลปีใหม่นั้น ก็สามารถทำได้โดยการผสมเครื่องเทศที่เรียกว่า โทโซซัง ลงไปในมิริง [5]

การประกอบอาหารในภูมิภาคคันไซนั้น มิริงจะถูกต้มก่อนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ มิริงชนิดนี้เรียกว่า นิกิริมิริง (煮切り味醂) เพื่อให้แอลกอฮอล์บางส่วนระเหยไป หรือในภูมิภาคคันโต มิริงถูกนำมาใช้การบำบัด นอกจากนี้บางครั้งแล้ว มิริงยังเป็นวัตถุดิบของซอสเทริยากิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Diversified uses of Mirin". Taiwan News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2009-01-07.
  2. Shimbo, Hiroko (2000). The Japanese Kitchen: 250 Recipes in a Traditional Spirit. Ming Tsai. Harvard Common Press. p. 75. ISBN 978-1-55832-177-9. สืบค้นเมื่อ 2009-01-06. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Telford, Anthony (2003). The Kitchen Hand: A Miscellany of Kitchen Wisdom. Allen & Unwin. p. 153. สืบค้นเมื่อ 2009-01-06.
  4. Chiba, Machiko (2005). Japanese Dishes for Wine Lovers. Kodansha International. p. 12. ISBN 978-4-7700-3003-0. สืบค้นเมื่อ 2009-01-06. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. Gauntner, John (2001-12-31). "An o-tososan a year keeps the doc away". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2009-01-07.