บลูส์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บลูส์ | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ดนตรีโฟล์ก แอฟริกัน อเมริกัน , เวิร์กซองส์, โฟล์ก, คันทรี |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ปลายศตวรรษที่ 19 ทางตอนใต้ของสหรัฐ |
เครื่องบรรเลงสามัญ | กีตาร์ - เปียโน - ฮาร์โมนิกา - กีตาร์เบส - กลอง - แซกโซโฟน - เสียงร้อง - ทรัมเป็ต - ทรอมโบน |
รูปแบบอนุพันธุ์ | แจ๊ซ, อาร์แอนด์บี, ร็อกแอนด์โรล |
แนวย่อย | |
คลาสสิกฟีเมลบลูส์ - คันทรีบลูส์ - เดลตาบลูส์ - แจ๊ซบลูส์ - จัมป์บลูส์ - เปียโนบลูส์ - บูกี้-วูกี้ | |
แนวประสาน | |
บลูส์ร็อก - โซลบลูส์ - แจ๊ซบลูส์ | |
ทัศนียภาพในระดับภูมิภาค | |
แอฟริกันบลูส์ - แอตแลนตาบลูส์ - บริติชบลูส์ - แคนาเดียนบลูส์ - ชิคาโกบลูส์ - ดีทรอยต์บลูส์ - อีสต์โคสต์บลูส์ - แคนซัสซิตีบลูส์ - ลุยเซียนาบลูส์ - เมมฟิสบลูส์ - นิวออร์ลีนบลูส์ - พีด์มอนต์บลูส์ - เซนต์หลุยส์บลูส์ - สแวมป์บลูส์ - เท็กซัสบลูส์ - เวสต์โคสต์บลูส์ |
บลูส์ (อังกฤษ: Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ
ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี
ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังก์, โซล, ริทึมแอนด์บลูส์, ร็อกแอนด์โรล เป็นต้น
ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น รอเบิร์ต จอห์นสัน, จอห์น ลี ฮุกเกอร์, มัดดี วอเตอส์, อัลเบิร์ต คิง, บี.บี. คิง, เฟรดดี คิง, บัดดี กาย, จิมิ เฮนดริกซ์, เอริก แคลปตัน และสตีวี เรย์ วอห์น
ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.