ข้ามไปเนื้อหา

ตอนเช้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตอนเช้า หลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ในฟาร์ม ในประเทศนามิเบีย (2014)

ตอนเช้า คือ ช่วงเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงเที่ยงวัน โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลาใด (เช่นเดียวกับ ตอนเย็น และกลางคืน) เพราะอาจแตกต่างกันไปตามความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล และช่วงเวลาการเกิดของแสงอาทิตย์ ในแต่ละช่วงเวลาของปี[1] อย่างไรก็ตาม ตอนเช้าจะสิ้นสุดลงแน่นอนเมื่อถึงเวลาเที่ยงวัน ซึ่งเป็นเวลาเริ่มต้นของตอนบ่าย ตอนเช้าสามารถอธิบายได้อีกนัยหนึ่งว่าเริ่มต้นตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน

ตอนเช้า เริ่มต้นขึ้นก่อน ตอนบ่าย, ตอนเย็น และกลางคืน ตามลำดับของวัน แต่เดิมคำนี้เรียกว่า พระอาทิตย์ขึ้น[2]

รากศัพท์

[แก้]

คำภาษาอังกฤษสมัยใหม่ "เช้า" และ "พรุ่งนี้" เริ่มต้นใน ภาษาอังกฤษยุคกลาง ซึ่ง morwening ได้พัฒนาเป็น morwen, แล้วจึงเป็น morwe, และในที่สุดจึงเป็น morrow ภาษาอังกฤษแตกต่างจากภาษาอื่น ๆ โดยมีคำศัพท์ "เช้า" และ "พรุ่งนี้" แยกกันแม้จะมีรากศัพท์ร่วมกันก็ตาม ภาษาอื่น ๆ เช่นภาษาเยอรมันอาจใช้คำเดียว - Morgen - เพื่อแสดงคำว่า "เช้า" และ "พรุ่งนี้"[3][4]

ความสำคัญ

[แก้]

การทักทาย

[แก้]

ในบางภาษา ได้มีการใช้คำทักทายเฉพาะสำหรับตอนเช้า เช่น ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า "good morning" (กูดมอร์นิง) โดยเวลาที่เหมาะแก่การใช้คำนี้นั้นยังคลุมเครือ ซึ่งอาจใช้ในช่วงระหว่างเที่ยงคืนถึงย่ำรุ่ง หรืออาจเป็นช่วงเวลา 03:00 น. ถึงเที่ยงวัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม หรือผู้พูดในเวลาตอนเช้า หรือผู้ที่ตื่นขึ้นมา[5]

โดยบางคนอาจกล่าวทักทายด้วยคำนี้ให้สั้นลงว่า 'morning' (มอร์นิง) ค่อนข้างมากกว่าการกล่าวคำเต็ม ทั้งนี้ คำนี้สามารถใช้เป็นคำทักทายได้ แตกต่างจาก 'ราตรีสวัสดิ์' ที่ใช้เพื่อกล่าวลา[6] โดยผู้พูดคำนี้สามารถกล่าวนามสกุงของผู้รับหลังคำทักทายได้ เช่น Good morning mr.smith (สวัสดีตอนเช้าคุณสมิทธ์)

กิจกรรม

[แก้]

โดยทั่วไป ตอนเช้า มักมีการทำกิจกรรม เช่น อาบน้ำ, แต่งกาย, ทานอาหารเช้า, รับประทานของว่าง, สำหรับบางคนอาจวางแผนกำหนดการของวัน หรืออ่าน หนังสือพิมพ์ตอนเช้า

การใช้คำทางวัฒนธรรม

[แก้]

สำหรับบางคนคำว่า ตอนเช้า อาจหมายถึงช่วงเวลาที่ตื่นนอนทันทีโดยไม่คำนึงถึงเวลาปัจจุบันของวัน ความรู้สึกสมัยใหม่ของ เช้าวันใหม่ ส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายของกระแสไฟฟ้าทั่วโลกและความเป็นอิสระจากแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติ[7]

ทางร่างกาย

[แก้]

ตอนเช้า อาจเป็นช่วงเวลาที่เพิ่มหรือลดพลังงานของร่างกาย ความสามารถของบุคคลในการ ตื่นนอน อย่างมีประสิทธิภาพในตอนเช้าอาจได้รับอิทธิพลจาก ยีนตัวที่สาม ซึ่งมีสองรูปแบบคือ "ยาว" และ "สั้น" ซึ่งจะส่งผลต่อความชอบตื่นเช้าหรือนอนดึกของแต่ละคน คนที่มียีนสั้นมักจะชื่นชอบในตื่นเช้า ในขณะที่ คนที่มียีนยาวมักชื่นชอบนอนดึก[8][9]

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Learner's Dictionary
  2. Online Etymology Dictionary
  3. Origin of the phrase "Good Morning เก็บถาวร 2012-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Etymology of the word "morning
  5. "Definition of good morning | Dictionary.com". www.dictionary.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-31.
  6. [1]
  7. "Why some of us are early risers". BBC News. London. 2003-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-30.
  8. Gene determines sleep patterns
  9. morning or night person? It depends on many more genes than we thought theconversation สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]