ข้ามไปเนื้อหา

ซาดาร์

พิกัด: 44°6′51″N 15°13′40″E / 44.11417°N 15.22778°E / 44.11417; 15.22778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาดาร์

Grad Zadar
นคร
ธงของซาดาร์
ธง
ตราราชการของซาดาร์
ตราอาร์ม
ซาดาร์ตั้งอยู่ในCroatia
ซาดาร์
ซาดาร์
ตำแหน่งของซาดาร์ในประเทศโครเอเชีย
พิกัด: 44°6′51″N 15°13′40″E / 44.11417°N 15.22778°E / 44.11417; 15.22778
ประเทศ โครเอเชีย
เทศมณฑล ซาดาร์
ก่อตั้งโดยชาวลิเบอร์เนียน899-800 ปีก่อนคริสตกาล
อาณาจักรโรมันยกฐานะเป็น Colonia Iulia Iader48 ปีก่อนคริสตกาล
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีBožidar Kalmeta (HDZ)
พื้นที่
 • นคร25 ตร.กม. (10 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล194 ตร.กม. (75 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2011)
 • นคร75,082 คน
 • ความหนาแน่น3,000 คน/ตร.กม. (7,800 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมZadrani
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์23000
รหัสพื้นที่23
ป้ายทะเบียนรถZD
เว็บไซต์Official website
แนวการป้องกันเมืองเวนิสระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย
ภูมิภาค **ยุโรป
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv)
อ้างอิง617
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2560 (คณะกรรมการสมัยที่ 41)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก


ซาดาร์ (โครเอเชีย: Zadar; อิตาลี: Zara; ละติน: Iader) เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ห้าของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลเอเดรียติกในภูมิภาคแดลเมเชีย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,800 ปี ในอดีตเป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของทะเลเอเดรียติกและเป็นที่ช่วงชิงของหลายอาณาจักรเพื่อครองความได้เปรียบของการค้าทางทะเลในบริเวณนี้ ในช่วงสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาดาร์ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของฝั่งทะเลเอเดรียติก และแม้ปัจจุบันนี้หลังโครเอเชียได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อต้นทศวรรษที่ 90 ซาดาร์ก็ยังคงเป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้วยความที่อยู่ใต้การปกครองของสาธารณรัฐเวนิสมาช้านาน ซาดาร์จึงได้เป็นแหล่งกำเนิดของ Maraschino ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการบ่มเชอร์รีสายพันธุ์ marasca

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพขยายพื้นที่บริเวณเมืองซาดาร์

เขตซาดาร์ (Zadar County) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภูมิภาคดัลเมเทียติดกับภูมิภาคลีกา (Lika) โดยฝั่งตะวันตกของเขตมีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกมาจากแผ่นดินหลักไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัวเมืองซาดาร์ตั้งค่อนลงมาทางด้านล่าง

ทะเลเอเดรียติกในช่วงที่เมืองซาดาร์ตั้งอยู่มีหมู่เกาะน้อยใหญ่ทอดเรียงตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้ เกาะใหญ่สองเกาะที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกตรงข้ามกับชายฝั่งของซาดาร์คือ เกาะอูกลยาน(Ugljan) และ เกาะปาชมาน(Pašman) ไกลออกไปทางตะวันออกของตัวเมืองซาดาร์เป็นที่ราบระหว่างแนวเขา

ประวัติ

[แก้]

ยุคก่อนโรมัน

[แก้]

ชุมชนเริ่มแรกสุดที่ตั้งในบริเวณของเมืองซาดาร์ปัจจุบันนั้นถูกสร้างโดยกลุ่มคนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยบันทึกของชาวกรีกในช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาลกล่าวว่าว่าชนกลุ่มนี้คือ ชาวลิเบอร์เนียน(Liburnians) และในอาณาเขตทางตะวันตกที่ติดทะเลเอเดรียติกของโครเอเชียนั้นเคยเป็นดินแดนที่เรียกว่า Liburnia ชาวลิเบอร์เนียนนั้นเป็นผู้ชำนาญด้านการเดินเรือและคอยต่อสู้ยับยั้งการจะเข้ามาตั้งอาณานิคมของอาณาจักรกรีกโบราณในย่านนี้ พวกเขายังมีชื่อเสียงด้านการเป็นโจรสลัดค่อยออกปล้นเรือในช่วงหลังๆก่อนจะถูกอาณาจักรโรมันเข้ามาปกครองอีกด้วย

ซาดาร์เริ่มเป็นเมืองที่มีบทบาททางด้านการค้าในทะเลเอเดรียติกตั้งแต่ช่วง 700 ปีก่อนคริสตกาลโดยได้ติดต่อค้าขายกับชาวกรีกโบราณ ชาวฟินิเชีย และ ชาวอีทรัสคันในระยะนั้น ประมาณการณ์ว่าประชากรของซาดาร์อยู่ที่จำนวน 2,000 คน ด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ทำให้ซาดาร์เป็นเมืองหลักของอาณาจักรชาวลิเบอร์เนียน

สมัยโรมัน

[แก้]

อาณาจักรโรมันเริ่มเข้ามามีบทบาทในดินแดนของชาวลิเบอร์เนียนในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล แม้ว่าช่วงแรก ๆ นั้นทั้งสองฝ่ายจะสู้รบกันแต่ชาวลิเบอร์เนียนไม่ได้เข้าร่วมสงครามเมื่อฝ่ายโรมันทำการรุกไล่ชาวอิลลีเรียน (Illyrians) ที่ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่านในสมัยนั้น จนเมื่อชาวอิลลีเรียนถูกกลืนเข้าเป็นประชากรของโรมันจนหมดสิ้นและโรมันได้ทำการตั้งเขต Illyricum ขึ้นเมื่อ 59 ปีก่อนคริสตกาล ซาดาร์จึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน

ไบแซนไทน์

[แก้]

อาณาจักรโครเอเชียโบราณและราชอาณาจักรฮังการี

[แก้]
การปิดล้อมโจมตีซาดาร์ใน ค.ศ. 1202

ใน ค.ศ. 1185 ซาดาร์ได้ก่อกบฏเพื่อให้หลุดจากการปกครองของสาธารณรัฐเวนิส และในระยะนั้นเมืองได้ไปขอความคุ้มครองจากวาติกันและราชอาณาจักรฮังการีแม้จะมีสถานะเป็นเมืองอิสระ จวบจนปี ค.ศ. 1202 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 (Pope Innocent III) ได้ประกาศเรียกคริสตศาสนิกชนให้ก่อสงครามครูเสดครั้งที่สี่ เพื่อนำดินแดนเยรูซาเลมกลับมาอยู่ในอำนาจของชาวคริสต์อีกครั้ง กองทหารที่จะเข้าร่วมสงครามครูเสดส่วนหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะเดินทางจากเวนิสโดยทางทะเลไปขึ้นฝั่งที่อียิปต์ โดยได้ตกลงทำสัญญากับเวนิสให้สร้างกองเรือที่จะขนทหารข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนล่วงหน้าเป็นเวลา 1 ปี

เมื่อถึงเวลาที่จะเริ่มเดินทาง ทหารที่จะไปร่วมสงครามครูเสดกลับไม่สามารถรวบรวมเงินเพื่อชำระค่าสร้างเรือตามที่ตกลงไว้กับเวนิสได้ ทางเวนิสจึงได้ออกอุบายว่าจะยกยอมส่วนต่างของจำนวนเงินที่ต้องชำระให้ก่อน แต่กองทหารครูเสดนั้นต้องช่วยเวนิสในการกำราบเหล่าเมืองท่าริมทะเลเอเดรียติกที่แข็งขืนไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของเวนิสและแผนการหลักคือการไปปิดล้อมโจมตีซาดาร์ เมื่อทางพระสันตะปาปาอินโนเซนส์ที่ 3 ทรงทราบถึงแผนการก็ทรงประนามและสั่งห้ามกองทหารไม่ให้โจมตีซาดาร์ซึ่งเป็นเมืองของชาวคริสต์ กระทั่งทหารที่เป็นผู้นำหลายๆคนเองก็ไม่เห็นด้วยและปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วม ทว่าหมู่ทหารส่วนใหญ่กลับเห็นพ้องที่จะให้ความร่วมมือตามแผนการณ์ของเวนิส

กองทหารที่จะไปทำสงครามครูเสดและกองกำลังของเวนิสออกเดินทางในวันที่ 8 ตุลาคมและไปถึงซาดาร์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน แม้ว่าซาดาร์จะได้ทำการเตรียมวางแนวป้องกันขวางปากอ่าวไว้และชาวเมืองต่างก็แขวนผ้าที่ประดับสัญลักษณ์กางเขนเพื่อประกาศว่าเป็นชาวคริสต์เช่นเดียวกับเหล่าทหารครูเสด กระนั้นการปิดล้อมโจมตีซาดาร์ก็ดำเนินไปจนเมืองต้องพ่ายแพ้และตกอยู่ใต้อำนาจของสาธารณรัฐเวนิสเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนในที่สุด ชาวเมืองจำนวนมากต่างพากันหลบหนีไปอยู่ที่เมืองเล็กกว่าใกล้ ๆ เช่น นิน (Nin) บิโอกราด นา โมรู (Biograd na Moru) รวมถึงเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบข้าง โดยการทำลายเมืองซาดาร์นี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เมืองคาธอลิกถูกโจมตีโดยทหารที่เป็นคาธอลิกซึ่งจะไปรบในสงครามครูเสด[1]

สาธารณรัฐเวนิส

[แก้]

หลังสาธารณรัฐเวนิสล่มสลาย

[แก้]

ถูกผนวกเข้ากับอิตาลี

[แก้]
ซาดาร์ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซารา และถูกล้อมด้วยดินแดนของรัฐชาวสลาฟใต้

ในปี ค.ศ. 1920 ซาดาร์ได้ถูกผนวกเข้าเป็นเขตโพ้นทะเลแห่งเดียวในการปกครองของอิตาลีที่ยังอยู่บนฝั่งดัลเมเทียในขณะที่พื้นที่ส่วนอื่นของดัลเมเทียกลายเป็นดินแดนของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes) ในระยะนี้ชาวโครแอทที่อาศัยอยู่ในเมืองได้ถูกกดขี่จนต้องยอมย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานในเมืองอื่นรอบนอกที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาวสลาฟใต้ เมื่อชาวโครแอทย้ายออกไป ทางการอิตาลีก็ได้นำชาวอิตาลีจากแผ่นดินหลักเข้ามาเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองทดแทน

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

สงครามยูโกสลาเวียจนถึงปัจจุบัน

[แก้]

ประชากร

[แก้]

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา องค์ประกอบทางประชากรศาสตร์ของซาดาร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ชาวอิตาลีที่เคยอยู่ในเมืองเป็นจำนวนมากอพยพนีออกไปเมื่อเมืองถูกรวมเข้าเแ็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และในช่วงสงครามยูโกสลาเวียชาวเซิร์บที่อาศัยอยู่ในเมืองก็ได้อพยพออกไปเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น ณ ทุกวันนี้จำนวนประชากรราว 75,000 คนของซาดาร์เป็นชาวโครแอทเสียส่วนใหญ่


Maraschino ที่ผลิตในซาดาร์

เศรษฐกิจ

[แก้]

นับแต่อดีต ซาดาร์นั้นเป็นท่าเรือที่สำคัญของเส้นทางการค้าขายในทะเลเอเดรียติก ปัจจุบันนี้แม้การคมนาคมจะเปลี่ยนไปมาก ทว่าเศรษฐกิจของซาดาร์ก็ยังมีการขนส่งทางเรือเป็นองค์ประกอบหลักโดยมี Tankerska plovidba Zadar ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจเรือขนส่งสินค้าตั้งกิจการอยู่

ผลิตภัณฑ์อาหารก็เป็นสินค้าที่สำคัญซึ่งซาดาร์ผลิตได้ นอกจากสินค้าทางพืชผลแล้วซาดาร์ยังมีอุตสาหกรรมด้านประมงและการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังตามชายฝั่ง สินค้าประเภทอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของซาดาร์คือเหล้า Maraschino ซึ่งบ่มจากเชอร์รี่ marasca รสอมเปรี้ยว โดยมีประวัติการผลิตเหล้า Maraschino มานับตั้งแต่คริสตวรรษที่ 18 โดยชาวอิตาลีที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในซาดาร์ระหว่างการปกครองโดยสาธารณรัฐเวนิส

การท่องเที่ยวก็เป็นอีกอุตสาหกรรมหลักของเมือง โดยซาดาร์เป็นหนึ่งในเมืองริมทะเลเอเดรียติกที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีจุดสนใจคือประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานและบรรยากาศริมทะเลเอเดรียติกที่แม้แต่อัลเฟรด ฮิตช์ค็อกยังเคยเปรยว่า "ซาดาร์มีพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดในโลก" เมื่อได้มาเยี่ยมเยือนเมืองในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1964[2]

สนามบิน Zadar

การคมนาคม

[แก้]

ซาดาร์รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านสนามบินของเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกห่างจากตัวเมืองราว 14 กิโลเมตร เที่ยวบินส่วนใหญ่จะมาจากเยอรมันและประเทศทางยุโรปเหนือ[3]

ถนนสายหลักที่เชื่อมต่อซาดาร์กับเมืองใหญ่อื่นๆคือทางหลวงสาย A1 ซึ่งเริ่มจากกรุงซาเกร็บเลาะเลียบเมืองตามชายฝั่งทะเลเอเดรียติกจนลงไปถึงเมืองสปลิตและกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายให้สามารถเดินทางไปจนถึงเมืองดูบรอฟนิกได้

ซาดาร์ยังเป็นท่าเรือเฟอร์รี่หลักแห่งหนึ่งของโครเอเชียอีกด้วย นอกจากเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากจากซาดาร์ไปยังเกาะน้อยใหญ่ต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงแล้ว ยังมีเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากไปถึงประเทศอิตาลีเช่นกัน

วัฒนธรรม

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "SIEGE OF ZADAR (1202)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-02-18.
  2. "Celebrities in Zadar". zadar.travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-02-18.
  3. "Destinations Map". Zadar airport.