จักรพรรดิแนร์วา
แนร์วา | |||||
---|---|---|---|---|---|
รูปแกะสลักหินอ่อนของจักรพรรดิแนร์วา | |||||
จักรพรรดิโรมัน | |||||
ครองราชย์ | 18 กันยายน ค.ศ. 96 – 27 มกราคม ค.ศ. 98 | ||||
ก่อนหน้า | ดอมิติอานุส | ||||
ถัดไป | ตรายานุส | ||||
ประสูติ | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 30 นาร์นิ มาร์กุส ก็อกไกอุส แนร์วา | ||||
สวรรคต | 25 มกราคม ค.ศ. 98 กรุงโรม | ||||
พระราชบุตร | ตรายานุส (พระโอรสบุญธรรม) | ||||
| |||||
พระราชบิดา | มาร์คัส โคเชียส แนร์วา | ||||
พระราชมารดา | เซอร์เจีย เพลาติลลา |
มาร์กุส ก็อกแกย์ยุส แนร์วา ไกซาร์ เอากุสตุส (ละติน: MARCVS COCCEIVS NERVA CAESAR AVGVSTVS; 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 30 – 25 มกราคม ค.ศ. 98) แนร์วาเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตนิน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิโดมิเชียนเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 96 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 98 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิทราจันเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา
แนร์วาขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่ออายุได้ 65 ปีหลังจากการรับราชการภายใต้จักรพรรดิเนโรและกษัตริย์ราชวงศ์เฟลเวียน--เวสเปเซียน, ไททัส และ โดมิเชียน ภายใต้จักรพรรดิเนโรแนร์วาเป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระจักรพรรดิและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปิดเผยการคบคิดพิโซเนียน (Pisonian conspiracy) ของปี ค.ศ. 65 ต่อมาเพราะความที่มีความที่มีความจงรักภักดีราชวงศ์เฟลเวียนแนร์วาก็ได้รับตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 71 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเวสเปเซียน และในปี ค.ศ. 90 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโดมิเชียน
โดมิเชียน 18 กันยายน ค.ศ. 96 ถูกลอบสังหารโดยองค์รักษ์เพรทอเรียน (Praetorian Guard) ในวันเดียวกันแนร์วาก็ได้รับการประกาศให้เป็นจักรพรรดิโดยสภาเซเนทโรมัน ในฐานะพระจักรพรรดิองค์ใหม่แนร์วาก็ประกาศว่าจะฟื้นฟูเสรีภาพที่หยุดยั้งไปในสมัยการปกครองอย่างเผด็จการของโดมิเชียนกลับคืนมา แต่รัชสมัยอันสั้นของแนร์วาเป็นสมัยที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและความขาดสมรรถภาพในการใช้อำนาจในการควบคุมกองทัพโรมัน การปฏิวัติโดยองค์รักษ์เพรทอเรียนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 97 มีผลทำให้แนร์วาต้องรับทราจันผู้ที่เป็นที่นิยมมากกว่าเป็นพระโอรสบุญธรรมและทายาท หลังจากที่ครองราชย์ยังไม่ถึง 15 เดือนแนร์วาก็เสด็จสวรรคตโดยธรรมชาติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 98 หลังจากนั้นก็ได้รับตั้งให้เป็นเทพโดยทราจัน
แม้ว่าตลอดชีวิตแนร์วาจะไม่มีบทบาทอะไรที่เป็นที่รู้จักแต่นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณก็ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดี ทัศนคติที่ต่อมาได้รับการเผยแพร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยผู้คงแก่เรียนเอ็ดเวิร์ด กิบบอน ผู้จัดให้แนร์วาและจักรพรรดิที่ตามมาอีกสี่องค์อยู่ในกลุ่มจักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์ (Five Good Emperors) แต่นักประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ปรับความคิดนี้ใหม่และกล่าวว่าแนร์วาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ทรงเป็นผู้มีความตั้งพระทัยดีแต่ทรงอ่อนแอและเกือบนำจักรวรรดิโรมันเข้าสู่สงครามกลางเมือง คุณธรรมอย่างหนึ่งของแนร์วาคือการที่ทรงจัดให้การเปลี่ยนอำนาจระหว่างทราจัน-อันโตนินเป็นไปอย่างราบรื่น
อ้างอิง
[แก้]ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิแนร์วา