ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิดิออเกลติอานุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิออเกลติอานุส
รูปแกะสลักหินอ่อนของจักรพรรดิดิออเกลติอานุส
จักรพรรดิโรมัน
ครองราชย์20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2841 เมษายน ค.ศ. 286
ก่อนหน้าการินุส
ถัดไปกงสตันติอุส โคลรุส (ตะวันตก)
กาเลริอุส (ตะวันออก)
จักรพรรดิร่วมมักซิมิอานุส (เอากุสตุสแห่งตะวันตก)[1]
ประสูติราว 22 ธันวาคม ค.ศ. 244
ไดโอคลิอา
สวรรคต3 ธันวาคม ค.ศ. 311
สปาลาตัม (ปัจจุบันโครเอเชีย)
พระนามเต็ม
กาอิอุส เอาเรลิอุส วาเลริอุส ดิออเกลติอานุส
พระรัชกาลนาม
อิมแปราตอร์ ไกซาร์ กาอิอุส เอาเรลิอุส วาเลริอุส ดิออเกลติอานุส เอากุสตุส[2]

ดิออเกลติอานุส (Gaius Aurelius Valerius Diocletianus; ภาษาอังกฤษ: Diocletian; ภาษากรีก: Διοκλής) (ราว 22 ธันวาคม ค.ศ. 244 - เสียชีวิต 3 ธันวาคม ค.ศ. 311) เมื่อแรกเกิดชื่อ “ไดโอคลีส” และรู้จักกันว่า “ดิออเกลติอานุส”[3]เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 284 ถึงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ด้วยพระองค์เอง และระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 305 ในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันออก และร่วมกับแม็กซิเมียนในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันตก[4]

ดิออเกลติอานุสเป็นจักรพรรดิที่เป็นผู้ยุติเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 235 ถึงปี ค.ศ. 284 และก่อตั้งรัฐบาลแบบเผด็จการ นอกจากนั้นดิออเกลติอานุสยังวางรากฐานของสมัยที่สองของจักรวรรดิโรมันซึ่งเรียกกันว่า “สมัยเรืองอำนาจ” (Dominate) (ซึ่งตรงข้ามกับสมัย “สมัยผู้นำ” (Principate) ก่อตั้งโดย ออกัสตัส ซีซาร์ ), หรือ “จตุรธิปไตย” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “สมัยโรมันหลัง” การปฏิรูปของดิออเกลติอานุสทำให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐบาลที่ทำให้จักรวรรดิมีความมั่นคงขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหาร และทำให้จักรวรรดิโรมันอยู่รอดมาโดยไม่มีปัญหาร่วมร้อยปีหลังจากนั้น

ในสมัยดิออเกลติอานุสยังมีการการข่มเหงผู้นับถือคริสต์ศาสนากันอย่างเป็นทางการมาจนถึง ค.ศ. 311 ซึ่งเป็นการทำร้ายผู้นับถือคริสต์ศาสนาอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโร

อ้างอิง

[แก้]
  1. Barnes, New Empire, 4.
  2. Barnes, New Empire, 4. For full imperial titulature, see: Barnes, New Empire, 17-29.
  3. The full name Diocletian is derived from the Greek language díos kletos ("sky-called").
  4. Barnes, New Empire, 4.

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]