ค็อนดอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
| |||||||
ก่อตั้ง | 21 ธันวาคม ค.ศ. 1955 (68 ปี) (ในชื่อ ด็อยท์เชอฟลูคดีนสท์ เกเอ็มเบฮา) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 29 มีนาคม ค.ศ. 1956 (68 ปี) | ||||||
ฐานการบิน | ดึสเซิลดอร์ฟ แฟรงก์เฟิร์ต ฮัมบวร์ค ไลพ์ซิช/ฮัลเลอ มิวนิก ชตุทการ์ท ซือริช | ||||||
สะสมไมล์ | Mileage Plan | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 61 | ||||||
จุดหมาย | 94 | ||||||
บริษัทแม่ | แอตแทสเทอร์แคปิตอล | ||||||
สำนักงานใหญ่ | น็อย-อีเซินบวร์ค ประเทศเยอรมนี | ||||||
บุคลากรหลัก | Peter Gerber (ซีอีโอ) | ||||||
พนักงาน | 4,900+ | ||||||
เว็บไซต์ | www |
ค็อนดอร์ (เยอรมัน: Condor) เป็นสายการบินเช่าเหมาลำสัญชาติเยอรมัน โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ค็อนดอร์ให้บริการเที่ยวบินตามกำหนดเวลาไปยังจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวจากเยอรมนี, และยังมีเที่ยวบินระยะกลางไปยังจุดหมายปลายทางในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและกานาเรียส ตลอดจนเที่ยวบินระยะไกลไปยังจุดหมายปลายทางในแอฟริกา เอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแคริบเบียน[2]
ค็อนดอร์เป็นสายการบินท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี ตั้งแต่การก่อตั้งใน ค.ศ. 1955 สายการบินได้ขนส่งผู้โดยสาร 214 ล้านคน[3] บินประมาณ 32,000 เที่ยวบินต่อปี[4] ใน ค.ศ. 2015 ค็อนดอร์มีผลประกอบการ 1.257 พันล้านปอนด์และทำกำไรจากการดำเนินงาน 56 ล้านปอนด์[5]
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]ค็อนดอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1955 ในชื่อ ด็อยท์เชอฟลูคดีนสท์ เกเอ็มเบฮา ในช่วงแรกกรรมสิทธิ์ของสายการบินถูกแบ่งระหว่างนอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์, ฮัมบูร์กอเมริกาไลน์, ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่า และด็อยท์เชอบุนเดิสบาน ค็อนดอร์มีฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ต่อมาใน ค.ศ. 1961 สายการบินค็อนดอร์ได้เข้าควบคุมกิจการของค็อนดอร์-ลัฟท์รีเดไร ซึ่งเป็นคู่แข่งของบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1957
ทศวรรษต่อมาเป็นยุคที่ค็อนดอร์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ระหว่าง ค.ศ. 1966 สายการบินได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินระยะไกลเป็นครั้งแรก โดยเดินทางถึงจุดหมายปลายทางต่าง ๆ เช่น ไทย, ศรีลังกา, เคนยา และสาธารณรัฐโดมินิกัน[6] ค็อนดอร์ยังเป็นสายการบินท่องเที่ยวรายแรกที่นำเครื่องบินโบอิง 747 มาประจำการใน ค.ศ. 1971 ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานั้น ใน ค.ศ. 1973 ฝูงบินของค็อนดอร์ประกอบด้วยเครื่องบินโบอิงทั้งหมด 14 ลำ ได้แก่ โบอิง 747 สองลำ, โบอิง 707 สองลำ, และโบอิง 727 สิบลำ[6]
การขยายตัวและการปรับโครงสร้าง
[แก้]ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 บริษัท Südflug ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของค็อนดอร์ ได้ผนวกกิจการเข้ากับบริษัทแม่[7] ในช่วง ค.ศ. 1990 ค็อนดอร์ได้ขยายการถือหุ้นในกิจการอื่น ๆ โดยเข้าถือหุ้น 50% ในซันเอกซ์เพรส ซึ่งเป็นสายการบินเช่าเหมาลำของตุรกี[6][8][9] ในช่วงเวลานี้สายการบินมีการเปลี่ยนแปลงฝูงบินครั้งใหญ่ สายการบินค็อนดอร์ได้นำโบอิง 757 และโบอิง 767 มาประจำการ; ด้วยห้องโดยสารแบบ 2 ชั้น ค็อนดอร์เป็นสายการบินท่องเที่ยวรายแรกที่ให้บริการชั้นโดยสารสองชั้น[6]
ใน ค.ศ. 1996 เป็นวันครบรอบ 40 ปีของค็อนดอร์ฟลูคดีนสท์ เกเอ็มเบฮา; เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองโอกาสนี้ เจมส์ ริซซี ศิลปินชาวอเมริกันได้ตกแต่งเครื่องบินโบอิง 757 ใหม่ให้เป็นงานศิลปะการบิน ในชื่อ"นกริซซี"[6] ในช่วงครึ่งหลังของปีนั้น ค็อนดอร์ได้กลายเป็นลูกค้าเปิดตัวเครื่องบินโบอิง 757-300 โดยได้สั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ไป 12 ลำ[10][11]
ในช่วง ค.ศ. 1998 ค็อนดอร์ได้ก่อตั้งค็อนดอร์เบอร์ลิน เกเอ็มเบฮา ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานเบอร์ลินเชอเนอเฟ็ลท์ สายการบินนี้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ โดยมีคู่แข่งหลักคือแอโรลอยด์และแอร์เบอร์ลิน[12][13] ฝูงบินของค็อนดอร์เบอร์ลินจะประกอบด้วยแอร์บัส เอ320-200 สิบสองลำ; อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบที่มีความก้าวหน้าที่สุด ณ เวลานั้น[14][6]
การเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของ
[แก้]ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ทอมัสคุก เอจีและกลุ่มทอมัสคุกก็ค่อย ๆ เข้าซื้อหุ้นค็อนดอร์ที่ลุฟท์ฮันซ่าถือครองอยู่[15] ในช่วงนั้น ค็อนดอร์ ก็ได้เปลี่ยนจากการเป็นบริษัทในเครือของลุฟท์ฮันซ่า มาเป็นส่วนหนึ่งของทอมัสคุก (ร่วมกับทอมัสคุกแอร์ไลน์, ทอมัสคุกแอร์ไลน์ เบลเยียม, และ ทอมัสคุกแอร์ไลน์ สแกนดิเนเวีย) เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนชื่อเป็นทอมัสคุก โดยค็อนดอร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2003[15] ลวดลายเครื่องบินก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ค็อนดอร์ได้เปลี่ยนลวดลายใหม่ โดยมีโลโก้ของทอมัสคุกบริเวณหาง และมีชื่อของค็อนดอร์ในฟอนต์ของทอมัสคุกแอร์ไลน์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2004, ค็อนดอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของทอมัสคุก เอจีและกลับมาใช้ชื่อค็อนดอร์[15] ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 หุ้นของลุฟท์ฮันซาที่เหลืออยู่มีเพียงร้อยละ 24.9 เท่านั้น[15]
กลุ่มทอมัสคุก: ตั้งแต่จุดสูงสุดจนถึงจุดจบ
[แก้]เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 กลุ่มทอมัสคุกได้ประกาศว่า ทอมัสคุกแอร์ไลน์, ทอมัสคุกแอร์ไลน์ เบลเยียม และค็อนดอร์ จะผนวกกิจการเข้าด้วยกันเป็นสายการบินหนึ่งเดียวของกลุ่มทอมัสกรุ๊ป ในชื่อ ทอมัสคุกกรุ๊ปแอร์ไลน์[16] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ทอมัสคุกได้มีอัตลักษณ์องค์กรใหม่ เครื่องบินของสายการบินทอมัสคุกกรุ๊ปแอร์ไลน์มีโลโก้ใหม่: หัวใจซันนี่เพิ่มที่หางและทาสีใหม่ในโทนสีใหม่ของบริษัท สีเทา สีขาว และสีเหลือง บนเครื่องบิน หัวใจซันนี่ที่หางหมายถึงการเป็นสัญลักษณ์ของการรวมแบรนด์สายการบินและผู้ให้บริการทัวร์ภายในกลุ่มบริษัททอมัสคุกทั้งหมด
หลังจากที่กลุ่มทอมัสกรุ๊ปเลิกกิจการแล้ว ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2019 ค็อนดอร์ได้รับวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม 380 ล้านยูโรเพื่อให้บินต่อไปได้[17] ในวันเดียวกันนั้น ศาลแฟรงก์เฟิร์ตได้อนุมัติมาตรการคุ้มครองนักลงทุนเพื่ออนุญาตให้ปรับโครงสร้างบริษัท[18] เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2019 เขตแฟรงก์เฟิร์ตให้สายการบินได้เปิดการดำเนินการอย่างเป็นทางการภายใต้มาตรา "Schutzschirmverfahren" (กระบวนการคุ้มครองป้องกัน) โดยมีผู้ชำระบัญชี Lucas Flöther โดยขอให้เจ้าหนี้ลงทะเบียนการเรียกร้องของพวกเขากับเขาภายในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2020[19]
เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2020 ค็อนดอร์ประกาศว่า PGL Polish Aviation Group จะซื้อดอนดอร์ และคาดว่าจะปิดดีลได้ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 เมื่อได้รับการอนุมัติการต่อต้านการผูกขาด ด้วยข้อตกลงนี้ คาดว่า PGL จะชำระคืนเงินกู้สะพานจากเยอรมนีเต็มจำนวน ค็อนดอร์จะยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้แบรนด์และการจัดการปัจจุบันของพวกเขา[20] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 เมษายน 2020 มีการประกาศว่าข้อตกลงในการขายกิจการให้กับล็อตโปแลนด์ล้มเหลว
ปัจจุบัน
[แก้]เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 แอทเทสเตอร์แคปิตอลได้เข้าซื้อหุ้น 51% ของสายการบิน โดยประกาศว่าจะจัดหาทุน 200 ล้านยูโร และจะจัดหาอีก 250 ล้านยูโรเพื่อปรับปรุงฝูงบินของค็อนดอร์ให้ทันสมัย[21] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 คณะกรรมาธิการยุโรปพบว่าชุดความช่วยเหลือที่รัฐเยอรมันเสนอให้ค็อนดอร์นั้น สอดคล้องกับกฎการช่วยเหลือของรัฐในสหภาพยุโรป การอนุมัติชุดความช่วยเหลือมูลค่ารวม 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการสนับสนุนการปรับโครงสร้าง 378.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้ค็อนดอร์กลับมาดำเนินงานได้[22]
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ค็อนดอร์ได้ประกาศสั่งซื้อแอร์บัส เอ330-900 จำนวน 16 ลำเพื่อทดแทนฝูงบินโบอิง 767-300อีอาร์ ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน[23]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ค็อนดอร์ได้ประกาศการเปลี่ยนอัตลักษณ์องค์กรใหม่ ซึ่งรวมถึงโลโก้ที่ได้รับการแก้ไขและลวดลายเครื่องบินใหม่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยแถบสีโดดเด่นที่โดดเด่นทั่วทั้งลำตัวเครื่องบิน แทนที่ลวดลายเดิมของทอมัสคุก[24]
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 ค็อนดอร์ได้ประกาศสั่งซื้อแอร์บัส เอ320นีโอ จำนวน 13 ลำและแอร์บัส เอ321นีโอจำนวน 28 ลำ เพื่อทดแทนฝูงบินตระกูลแอร์บัส เอ320 และโบอิง 757-300 ที่มีอยู่เดิม[25]
กิจการองค์กร
[แก้]สำนักงานใหญ่
[แก้]ค็อนดอร์มีสำนักงานใหญ่ที่น็อย-อีเซินบวร์ค[26] ตั้งแต่ ค.ศ. 2020 โดยก่อนหน้านี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เค็ลสเตอร์บัค[27][28] และแฟรงก์เฟิร์ต[29]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 ค็อนดอร์ได้เปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ณ ขณะนั้นที่ Gateway Gardens ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานในแฟรงก์เฟิร์ต ตรงข้ามบุนเดิสเอาโทบาน 3 จากท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต มีพนักงาน 380 คนทำงานในอาคาร ก่อนที่จะมีการพัฒนาขึ้นใหม่ ที่ดินเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่ประจำการอยู่ที่ฐานทัพสหรัฐฯ[30] Groß & Partner และ OFB Projektentwicklung พัฒนาอาคารงสำนักงานใหญ่ของค็อนดอร์และศูนย์ฝึกอบรมและการศึกษาพร้อมเครื่องจำลองการบิน และศูนย์ปฏิบัติการการบินของสายการบิน[31]
บริษัทลูก
[แก้]ค็อนดอร์ เบอร์ลิน
[แก้]เมื่อต้น ค.ศ. 1998 สายการบินค็อนดอร์ได้ก่อตั้งค็อนดอร์เบอร์ลิน เกเอ็มเบฮา มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานเบอร์ลินเชอเนอเฟ็ลท์ สายการบินลูกนี้ใช้รหัส ICAO CIB ค็อนดอร์ เบอร์ลินให้บริการเที่ยวบินในเส้นทางระยะสั้นและระยะกลางด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ320-200 จนกระทั่งผนวกกิจการเข้ากับบริษัทแม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[32]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ค็อนดอร์มห้บริการเที่ยวบินไปยัง 81 จุดหมานปลายทางทั่วทั้งแอฟริกา, เอเชีย, อเมริกาเหนือ และแคริบเบียน
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 ค็อนดอร์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 ค็อนดอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[44][45]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
C | P | Y | รวม | อ้างอิง | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 20 | — | — | 24 | 156 | 180 | [46] | จะถูกปลดประจำการและแทนที่ด้วยแอร์บัส เอ320นีโอ[47] |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 1 | 14 | — | 24 | 156 | 180 | เริ่มส่งมอบใน ค.ศ. 2024[48] ทดแทนแอร์บัส เอ320-200[47] | |
แอร์บัส เอ321-200 | 13 | — | — | 24 | 186 | 210 | [49] | จะถูกปลดประจำการและแทนที่ด้วยแอร์บัส เอ321นีโอ[47] |
196 | 220 | |||||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 3 | 29 | — | 24 | 209 | 233 | เริ่มส่งมอบใน ค.ศ. 2024[48] | |
แอร์บัส เอ330-900 | 17 | 4 | 30 | 64 | 216 | 310 | [50] | ส่งมอบจนถึงปี ค.ศ. 2027[48] |
โบอิง 757-300 | 9 | — | — | 26 | 249 | 275 | [51] | จะถูกปลดประจำการและแทนที่ด้วยแอร์บัส เอ321นีโอใน ค.ศ. 2025[52][47] |
36 | 239 | 275 | ||||||
รวม | 63 | 47 |
ค็อนดอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.7 ปี
-
แอร์บัส เอ320-200ของค็อนดอร์
-
แอร์บัส เอ321-200ของค็อนดอร์
-
แอร์บัส เอ330-900ของค็อนดอร์
-
โบอิง 757-300ของค็อนดอร์
ฝูงบินในอดีต
[แก้]ค็อนดอร์เคยมีเครื่องบินประจำการในฝูงบิน ดังนี้:[53][54]
ห้องโดยสาร
[แก้]ชั้นธุรกิจ
[แก้]ชั้นธุรกิจของค็อนดอร์จะมีให้บริการบนเครื่องบินแอร์บัส เอ330, และโบอิง 767 ทุกลำ ที่นั่งชั้นธุรกิจได้รับการผลิตโดยโซดิแอคแอโรสเปซ ซึ่งสามารถแปลงเป็นเตียงได้ 170 องศา โดยที่นั่งมีความยาว 180 เซนติเมตร (71 นิ้ว) และระยะห่างระหว่างที่นั่งมาตรฐาน (ในรูปแบบบินขึ้น) ที่ 60 นิ้ว (1,500 มม.) ที่นั่งมีช่องเสียบปลั๊กไฟและ USB รวมถึงหน้าจอความบันเทิงขนาด 15 นิ้ว (380 มม.)[55]
ชั้นประหยัดพรีเมียม
[แก้]รุ่นสำหรับการบินระยะไกล จะมีให้บริการบนเครื่องบินแอร์บัส เอ320, โบอิง 757, และโบอิง 767 ทุกลำ จะใช้ที่นั่งชั้นประหยัดปกติ ที่ผลิตโดย ZIM FLUGSITZ แต่จะมีพื้นที่วางขาเพิ่มขึ้น 15 เซนติเมตร (5.9 นิ้ว) (ระยะห่างระหว่างที่นั่ง 1 เมตร (3 ฟุต 3 นิ้ว))[56]
ชั้นประหยัด
[แก้]ชั้นประหยัดของค็อนดอร์ บนโบอิง 767-300อีอาร์จะมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง 30 นิ้ว (760 มม.)[57] และความกว้าง 17 นิ้ว (430 มม.) ที่นั่งตรงกลางกว้างกว่าที่นั่งที่ไม่ใช่ตรงกลางเล็กน้อย (2 นิ้ว (51 มม.))[58]
ระบบความบันเทิงบนเที่ยวบิน
[แก้]บนทุกชั้นโดยสารจะมีจอมอนิเตอร์ส่วนตัว พร้อมกับภาพยนตร์ประมาณ 30 เรื่อง ทีวีซีรีส์มากกว่า 50 เรื่อง วิทยุ 24 ช่อง และเสียงเพลงทุกประเภทหลายร้อยรายการ เนื้อหาความบันเทิงทั้งหมดมีให้สำหรับผู้โดยสารในชั้นธุรกิจและชั้นประหยัดพรีเมียม อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารชั้นประหยัดสามารถเข้าถึงได้อย่างจำกัดโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ในชั้นประหยัดจะมีสิทธิ์เข้าถึงภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง รายการทีวีหนึ่งตอน ตลอดจนคลังเพลงและสถานีวิทยุเต็มรูปแบบ[59]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "IATA – Airline and Airport Code Search". iata.org. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
- ↑ "Directory: World Airlines". Flight International. 3 April 2007. p. 68.
- ↑ Airliner World , June 2016, p.90
- ↑ Ambient Media (PDF) Condor. Cited on 06/09/2016. (In English)
- ↑ Return to profit and well positioned for growth เก็บถาวร 2016-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF) (page 15) 25.11.2015. Thomas Cook Group. Cited on June 30, 2016. (In English)
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "Condor: History". condor-newsroom.condor.com.
- ↑ 1998-05-01T00:00:00+01:00. "Rule Britannia?". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1996-01-03T00:00:00+00:00. "Condor adds more travel agencies". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1995-04-01T00:00:00+01:00. "Sunny prospects". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1996-09-11T00:00:00+01:00. "Boeing launches 757 stretch". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1998-09-30T00:00:00+01:00. "Condor's first 757-300 rolls out in Seattle". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1997-10-01T00:00:00+01:00. "Condor prepares for low-cost subsidiary". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1998-05-01T00:00:00+01:00. "Rule Britannia?". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 1998-03-25T00:00:00+00:00. "Condor Berlin boosts Airbus A320 orders as operations begin". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "ATDB.aero aerotransport.org AeroTransport Data Bank". aerotransport.org.
- ↑ "Thomas Cook shakes up airline business". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ "Condor - Bundesbürgschaft für Überbrückungskredit zugesagt". web.archive.org. 2019-09-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "German court begins protection proceedings for Thomas Cook's Condor". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-26. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ "Fluggesellschaft: Schutzschirmverfahren über Condor eröffnet". www.handelsblatt.com (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "LOT Polish Airlines owner buys Condor". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "German Airline Condor Rescued as Investor Attestor Swoops In". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-20. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ "State aid: Commission approves €525.3 million German aid in favour of airline Condor in context of coronavirus outbreak". AVIATOR (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-27.
- ↑ Garbuno, Daniel Martínez (2021-07-28). "Condor Orders 16 Airbus A330-900neo Aircraft". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Condor unveils new brand identity". Breaking Travel News.
- ↑ "41 new aircraft for Condor: 13 Airbus A320neo and 28 Airbus A321neo to join the fleet by 2024". condor-newsroom.condor.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Imprint". www.condor.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Directions". www.condor.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "How to find us in Kelsterbach."(in German) Condor Flugdienst. Retrieved on 28 May 2011.
- ↑ "Imprint". www.condor.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Fairplay Sustainability Report 2007 Archived 25 July 2011 at the Wayback Machine." Fraport. 6. Retrieved on 28 May 2011.
- ↑ "CONDOR FLUGDIENST GMBH Archived 25 July 2011 at the Wayback Machine." เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gateway Gardens. Retrieved on 28 May 2011.
- ↑ "Condor's and Condor Berlin's fleets merged from May 1". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Condor: New partnership with Air Dolomiti" (PDF). condor.com.
- ↑ "Condor enters into a marketing collaboration with Air North" (PDF). condor.com. 7 June 2011.
- ↑ "Condor further expands route network: Seattle available from summer 2011" (PDF). condor.com.
- ↑ "Condor and Bahamasair form partnership" (PDF). condor.com.
- ↑ "Condor expands South America Programme" (PDF). condor.com. 18 October 2010.
- ↑ "Condor – News". สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ partners
- ↑ "Condor expands partnership with Brazilian airline GOL" (PDF). condor.com.
- ↑ "Condor: Announces Interline Agreement With Sun Country Airlines®" (PDF). condor.com.
- ↑ "Condor and Mexican Airline Volaris enter Pertnership" (PDF). condor.com.
- ↑ "Condor and WestJet agree on Interline Pertnership" (PDF). condor.com.
- ↑ "Our Fleet". www.condor.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Condor Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ "Airbus A320-200". Condor. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 47.3 "Germany's Condor chooses Airbus for narrowbody renewal". Ch-Aviation. 26 July 2022.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 "41 new aircraft for Condor: 13 Airbus A320neo and 28 Airbus A321neo to join the fleet by 2024". condor-newsroom.condor.com (Press release) (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2022-07-25.
- ↑ "Airbus A321-200". Condor. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ "New cabin in stylish elegance onboard Condor's A330neo". Condor (Press release). 1 June 2022. สืบค้นเมื่อ 11 June 2022.
- ↑ "Boeing 757-300". Condor. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ Nowack, Timo (10 November 2021). "Condor packt Nachfolge der Boeing 757 an" [Condor is tackling the successor to the Boeing 757]. aeroTELEGRAPH (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Condor Fleet". Airfleets aviation. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ "Condor fleet". aerobernie.bplaced.net. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ Brown, David Parker (2014-10-10). "Flight Review: Checking Out Condor Airlines' Business Class to Frankfurt". AirlineReporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Condor Planes, Fleet and Seat Maps". www.seatguru.com.
- ↑ "SeatGuru Seat Map Condor". www.seatguru.com.
- ↑ "Condor Gives Wider Middle Seats". AirlineReporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "SeatGuru Seat Map Condor". www.seatguru.com.