20 มิถุนายน
หน้าตา
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 20 มิถุนายน เป็นวันที่ 171 ของปี (วันที่ 172 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 194 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
[แก้]คริสต์ศตวรรษที่ 13
[แก้]- พ.ศ. 1757 (ค.ศ. 1214) - มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดได้รับสิทธิอย่างเป็นทางการ
คริสต์ศตวรรษที่ 18
[แก้]- พ.ศ. 2309 (ค.ศ. 1766) - ค่ายบางระจัน ของชาวบ้านบางระจันแตกแก่พม่า
- พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) – สภาคองเกรสรับรองตรามหาลัญจกรสหรัฐ
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) - ตัวแทนฐานันดรที่ 3 (สามัญชน) ประชุมร่วมกันที่สนามเทนนิสหลวง เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) – พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปลอมพระองค์เป็นคนรับใช้ และพระราชวงศ์ฝรั่งเศสพยายามหลบหนีออกจากปารีส ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส[1]
คริสต์ศตวรรษที่ 19
[แก้]- พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) - รัฐบาลสยามลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยได้ทำกับประเทศตะวันตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) -
- พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร เสด็จขึ้นครองราชย์
- พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) - อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ได้ให้บริการโทรศัพท์ในแง่พาณิชย์เป็นครั้งแรก
คริสต์ศตวรรษที่ 20
[แก้]- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 : เกิดการรัฐประหาร โดยหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลป. พิบูลสงคราม) และ พระยาพหลพลพยุหเสนา ปลด พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปปีนัง จากนั้นพระยาพหล ฯ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
- พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - โรงเรียนโยธินบูรณะ เปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำ
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่นานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 2 (นาน 7 นาที 8 วินาที) มองเห็นได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีสุริยุปราคาเต็มดวงเพียง 7 ครั้งเท่านั้น ที่ยาวนานกว่า 7 นาที
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - ประเทศมาลีและประเทศเซเนกัลได้รับอิสรภาพ
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - มีการติดตั้ง สายด่วน ระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เทคนิคการย่อข้อมูลแบบแอลแซดดับบลิว (LZW) ได้ถูกจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ทางภาคตะวันตกของประเทศอิหร่าน
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - รัฐสภาในประเทศเยอรมนีได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากบ็อนไปยังเบอร์ลินอีกครั้ง
คริสต์ศตวรรษที่ 21
[แก้]- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีปากีสถาน
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - สิทธิบัตรของเทคนิคการย่อข้อมูลแบบแอลแซดดับบลิว (LZW) หมดอายุ
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 : พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนย้ายที่ชุมนุมจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ฝ่าแนวกั้นของตำรวจล้อมทำเนียบรัฐบาลบริเวณตั้งแต่สี่แยกมิกสกวันจนถึงสี่แยกยมราชได้ตลอดทั้งสาย
- พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - ประเทศอิหร่านยิงโดรนสำรวจของสหรัฐตกเหนือช่องแคบฮอร์มุซหลังอ้างว่าโดรนลำดังกล่าวละเมิดน่านฟ้า ขณะที่สหรัฐอ้างว่ามันถูกยิงตกในน่านฟ้าสากลโดยเป็น "การโจมตีที่ไม่ได้ยั่วยุ"
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - การระบาดทั่วของโควิด-19: บราซิลกลายเป็นประเทศที่สองถัดจากสหรัฐ ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เกิน 5 แสนคน
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) -
- พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ (สิ้นพระชนม์ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2525)
- เออร์รอล ฟลิน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 14 ตุลาคม พ.ศ. 2502)
- พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) - โอลิมเปีย ดูคาคิส นักแสดง ผู้กำกับ ครูและนักเคลื่อนไหวชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - ศรีนวล ขำอาจ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะพื้นบ้าน-ลำตัด)
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ไลโอเนล ริชชี นักร้องชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) -
- จอห์น กูดแมน นักแสดงชาวอเมริกัน
- ทรนง ศรีเชื้อ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- เบนนี เออร์คิวเดซ นักคาราเต้ชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรีไทย
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) -
- ประศาสตร์ ทองปากน้ำ อดีตนักการเมืองไทย
- ปีเตอร์ รีด นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) -
- นิโคล คิดแมน นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลีย
- ปาชี ชาบิเอร์ เลซามา เปริเอร์ ประติมากรชาวบาสก์
- ร็อคกี้ หลิน นักมวยสากลชาวจีน
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) -
- มาแตอุช มอราวีแยตสกี นักการเมืองชาวโปแลนด์
- โรเบิร์ต รอดริเกซ ผู้กำกับภาพยนตร์/ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์/นักเขียนบทภาพยนตร์/ผู้กำกับภาพชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - เปาลู เบ็งตู อดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) -
- จาง ถิง นักแสดงชาวไต้หวัน
- เจ้าชายมูลัย รอชิด เจ้าชายแห่งโมร็อกโก พระราชอนุชาใน สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโก
- หลี่ เจียซิน นักแสดง , นางแบบ ชาวฮ่องกง
- อิสรา สุนทรวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - จอช ลูคัส นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - แดน เมิร์ช นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - ชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ พิธีกรหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - แฟรงก์ แลมพาร์ด นักฟุตบอลสโมสรฟุตบอลเชลซีในพรีเมียร์ลีก
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม นักแสดงและนักแสดงตลกชาวไทย
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - พรชิตา ณ สงขลา นักแสดงหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) -
- เบรเด ฮังเกลันด์ นักฟุตบอลชาวนอร์เวย์
- ท่านหญิงภานุมา พิพิธโภคา พระธิดาองค์เล็กในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลกับหม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - จตุโชค วิริยะพงศ์ชัย นักร้อง นักแสดง และนักฟุตบอลชาวไทย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) -
- อนุสรา วันทองทักษ์ (เปรี้ยว เอเอฟ 2) นักร้องหญิงชาวไทย
- ช่อฟ้า เหล่าอารยะ ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - อัสมีร์ เบกอวิช นักฟุตบอลชาวบอสเนีย
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช (ริท เดอะสตาร์) เดอะสตาร์ปีที่ 6
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - กาลีดู กูลีบาลี นักฟุตบอลชาวเซเนกัล
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - เซอัด คอลาชินัตส์ นักฟุตบอลชาวบอสเนีย
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) -
- คัง แท-โอ นักแสดงและนักร้องชาวเกาหลีใต้
- ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ศุภณัฐ สุดจินดา นักแสดง และ นักร้อง ชาวไทย
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ยูอิ มิซูโนะ นักร้อง นักดนตรี นางแบบ และนักแสดงชาวญี่ปุ่น
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) - คริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์ สถาปนิกชาวเยอรมันที่เมืองปรากในสาธารณรัฐเช็ก
- พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) - คาร์ล ฟรีดริช อะเบล นักประพันธ์ดนตรีชาวเยอรมัน
- พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) - พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (พระราชสมภพ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2308)
- พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) - แบร์นฮาร์ด รีมันน์ นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน (เกิด ค.ศ. 1826)
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - จักรพรรดินีวั่นหรง จักรพรรดินีพระองค์สุดท้ายของประเทศจีน (พระราชสมภพ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449)
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เลฟ ยาชิน นักฟุตบอลชาวสหภาพโซเวียต (เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2429)
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - มณี พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2549 (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2473)
- พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - หนิงหน่อง เพชรพิณทอง นักแสดงตลกในวงดนตรีเพชรพิณทอง (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2492)
- พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - วสิษฐ เดชกุญชร ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2541 (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ลุยส์ เดล โซล นักฟุตบอลชาวสเปน (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2478)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]วันนี้ในบันเทิงคดี
[แก้]- พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) - วันเกิดของ ฮิมุระ เคนชิน ตัวละครในการ์ตูนเรื่องซามูไรพเนจร
- วันเกิดของคารินจากนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BBC: On This Day
- Today in History: June 20 เก็บถาวร 2005-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Legrand, Jacques (1989). Chronicle of the World. Eca, Publication. p. 765. ISBN 0-13-133463-8.