เฮสเตีย
เฮสเตีย | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งเตาอิฐหรือบริเวณข้างกองไฟ | |
ประติมากรรมหินอ่อน "จุสตินิอานิเฮสเตีย" ภาพจาก O. Seyffert, Dictionary of Classical Antiquities, 1894 | |
ที่ประทับ | เดลฟีหรือยอดเขาโอลิมปัส |
สัญลักษณ์ | เตาอิฐและไฟของเตาอิฐ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ไม่มี |
บุตร - ธิดา | ไม่มี |
บิดา-มารดา | โครนัสและเรีย |
พี่น้อง | เฮดีส ดีมิเทอร์ โพไซดอน ฮีราและซูส |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | เวสตา |
ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia; กรีกโบราณ: Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย[1]
เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตา[2]
เฮสเตียทรงเป็นเทพเจ้าโอลิมปัสรุ่นแรก ร่วมกับดีมิเทอร์และฮีรา พระนางเป็นธิดาแห่งไททันโครนัสและเรีย พระเชษฐภคินีแห่งเฮดีส ดีมิเทอร์ โพไซดอน ฮีราและซูส โครนัสกลืนบุตรธิดาของตนทั้งหมดทันทีหลังคลอด ยกเว้นซูสบุตรคนสุดท้อง ต่อมาซูสบังคับให้โครนัสคายพี่น้องของพระองค์และทรงนำในสงครามกับบิดาและไททันอื่น[3] เฮสเตียทรงเป็น "พระองค์แรกที่ถูกกลืนกิน... และพระองค์สุดท้ายที่ถูกขับออกอีกครั้ง" พระองค์จึงเป็นทั้งธิดาพระองค์แรกและพระองค์สุดท้าย การผกผันตำนานนี้พบในเพลงสวดสรรเสริญแอโฟรไดทีของกวีโฮเมอร์ (700 ปีก่อน ค.ศ.)[4] เฮสเตียทรงปฏิเสธการเกี้ยวพาราสีของโพไซดอนและอพอลโล และทรงสาบานพระองค์เป็นพรหมจรรย์ตลอดกาล ซูสทรงบัญชาให้เฮสเตียทำหน้าที่เลี้ยงและรักษาไฟในเตาไฟโอลิมปัสด้วยส่วนที่ติดมันและติดไฟได้ของสัตว์ที่บูชาแด่พระเจ้า[5]
สถานภาพเทพเจ้าโอลิมปัสของเฮสเตียนั้นกำกวม Kenneth Dorter บันทึกว่า ในเอเธนส์ ใน "ชีวิตของเพลโต" "มีข้อแตกต่างกันในรายพระนามพระเจ้าหลักสิบสองพระองค์ว่าจะรวมเฮสเตียหรือไดอะไนซัสเข้ากับอีกสิบเอ็ดพระองค์ที่เหลือ ตัวอย่างเช่น แท่นบูชาพระเจ้าที่อโกรา มีแท่นบูชาของเฮสเตีย แต่ที่แถบลายตกแต่งตะวันออกของวิหารพาร์เธนอนกลับมีแท่นบูชาของไดอะไนซัส"[6] บางครั้งถือกันว่าการละเว้นเฮสเตียออกจากรายพระนามเทวสภาโอลิมปัสเป็นนิทัศน์ของธรรมชาติไม่โต้ตอบและไม่เผชิญหน้าของพระนาง โดยทรงยกบัลลังก์โอลิมปัสให้แก่ไดอะไนซัสเพื่อป้องกันความขัดแย้งบนสวรรค์ เฮสเตียเป็นที่รู้จักกันในความเมตตา แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลหรือตำนานโบราณอธิบายการยอมจำนนหรือการถอนพระองค์นี้[7] Burkert ให้ข้อคิดเห็นว่า "เนื่องจากเตาอิฐไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เฮสเตียจึงไม่อาจมีส่วนแม้ในกระบวนการแห่งพระเจ้า โดยทรงปล่อยการเล่นตลกอื่นของเทพเจ้าโอลิมปัสไว้"[8] สถานภาพทางเทพปกรณัมของพระองค์ที่เป็นธิดาหัวปีของเรียและโครนัสเหมือนจะอธิบายประเพณีที่ว่าของบูชาเล็กน้อยส่วนหนึ่งถวายแด่เฮสเตียก่อนการบูชาอื่นทั้งหมด ("เฮสเตียทรงมาก่อน")[9]
ความกำกวมในเทพปกรณัมของเฮสเตียตรงกับลักษณะประจำ บุคลิกและการบรรยายที่คลุมเครือของพระองค์ พระนางทรงถูกระบุด้วยเตาอิฐซึ่งเป็นวัตถุรูปธรรม และภาวะนามธรรมของชุมชนและกิจกรรมในบ้าน แต่ภาพของพระนางนั้นหายากและไม่ค่อยปลอดภัย[10] ในศิลปะกรีกคลาสสิก บางครั้งมีผู้วาดพระนางเป็นสตรี มีผ้าคลุมศีรษะอย่างเรียบง่ายและถ่อมพระองค์ บางครั้งแสดงภาพพระนางมีไม้เท้าในพระหัตถ์หรือประทับอยู่ข้างกองไฟขนาดใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Graves, Robert. "The Palace of Olympus". Greek Gods and Heroes.
- ↑ Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.
- ↑ Hesiod, Theogony, 4.53 f.
- ↑ Kereny 1951:91
- ↑ Kajava, Mika, "Hestia Hearth, Goddess, and Cult", Harvard Studies in Classical Philology, Vol. 102, (2004), p. 1, 2.
- ↑ Dorter, "Imagery and Philosophy in Plato's Phaedrus," Journal of the History of Philosophy 9.3 (July 1971:279-88).
- ↑ Károly Kerényi, The Gods of the Greeks, 1951, p.92: "there is no story of Hestia's ever having taken a husband or ever having been removed from her fixed abode."
- ↑ Burkert, Greek Religion 1985:170.
- ↑ Not so for every Greek in every generation, however: in Odyssey 14, 432-36, the loyal swineherd Eumaeus begin the feast for his master Odysseus by plucking tufts from a boar's head and throwing them into the fire with a prayer addressed to all the powers, then carved the meat into seven equal portions: "one he set aside, lifting up a prayer to the forest nymphs and Hermes, Maia's son." (Robert Fagles' translation).
- ↑ Kajava, Mika, "Hestia Hearth, Goddess, and Cult", Harvard Studies in Classical Philology, Vol. 102, (2004), p. 2.