เอโมจิ
เอโมจิ (ญี่ปุ่น: 絵文字) หรือ อิโมจี (อังกฤษ: emoji)[1] คือตัวหนังสือความคิดและสไมลีย์ที่ใช้กันในข้อความอิเล็กทรอนิกส์และเว็บเพจ เอโมจิปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น การแสดงสีหน้าและกิริยาอาการ วัตถุ สถานที่ ลมฟ้าอากาศ สัตว์ เป็นต้น เอโมจิมีลักษณะเหมือนสัญรูปอารมณ์มาก แต่มาจากรูปภาพจริงแทนที่จะมาจากตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายวรรคตอนประสมกันอย่างสัญรูปอารมณ์[2] เดิมคำ เอโมจิ มีความหมายว่า ตัวหนังสือภาพ โดยมาจากคำ เอะ (絵, "ภาพ") ประสมกับคำ โมจิ (文字, "ตัวหนังสือ") ความคล้ายคลึงระหว่างรูปอักษรโรมันของคำนี้ (คือ emoji) กับคำ emotion และ emoticon ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องบังเอิญเท่านั้น[3]
อีโมจิมีต้นกำเนิดมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2542 โดยนายชิเกตากะ คูริตะ ผู้มีอาชีพนักออกแบบของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์แห่งหนึ่งในญี่ปุ่นเพื่อช่วยให้การสื่อสารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นง่ายขึ้น ในครั้งนั้นเขาได้คิดค้นอีโมจิรวมทั้งหมด 176 แบบ[4]
ในคริสต์ทศวรรษ 2010 เอโมจิได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลกหลังจากที่มีการเพิ่มเอโมจิเข้าไปในระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่หลายระบบ[5][6][7] ปัจจุบันถือว่าเอโมจิเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชานิยมในโลกตะวันตก[8] ในปี พ.ศ. 2558 ออกซฟอร์ดดิกชันนารีส์ ประกาศให้เอโมจิรูปใบหน้ากับน้ำตาแห่งความยินดี (Face with Tears of Joy emoji) เป็นคำแห่งปี[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "emoji Meaning in the Cambridge English Dictionary". สืบค้นเมื่อ March 30, 2017.
- ↑ Hern, Alex (February 6, 2015). "Don't know the difference between emoji and emoticons? Let me explain". The Guardian.
- ↑ Taggart, Caroline (November 5, 2015). "New Words for Old: Recycling Our Language for the Modern World". Michael O'Mara Books. สืบค้นเมื่อ October 25, 2017 – โดยทาง Google Books.
Hard on the heels of the emoticon comes the Japanese-born emoji, also a DIGITAL icon used to express emotion, but more sophisticated in terms of imagery than those that are created by pressing a colon followed by a parenthesis. Emoji is made up of the Japanese for picture (e) and character (moji), so its resemblance to emotion and emoticon is a particularly happy coincidence.
- ↑ "วิธีสร้าง emoji ส่วนตัวไว้ใช้เอง บนมือถือและคอมพิวเตอร์" เว็บไซต์ รุ่นไหนดี Roonnhaidee
- ↑ Blagdon, Jeff (March 4, 2013). "How emoji conquered the world". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ November 6, 2013.
- ↑ Adam Sternbergh (November 16, 2014). "Smile, You're Speaking EMOJI: The fast evolution of a wordless tongue". New York.
- ↑ "Android – 4.4 KitKat". android.com.
- ↑ "How Emojis took center stage in American pop culture". NBC News. July 17, 2017.
- ↑ "Oxford Dictionaries 2015 Word of the Year is an Emoji". PBS Newshour. November 17, 2015. สืบค้นเมื่อ August 23, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Unicode Technical Report #51: Unicode emoji
- The Unicode FAQ – Emoji & Dingbats
- Emoji Symbols – The original proposals for encoding of Emoji symbols as Unicode characters.
- Background data for Unicode proposal
- emojitracker – List of most popularly used emoji on the Twitter platform; updated in real-time.