เอลเกรโก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โดเมนิคอส เทโอโทโคพูลอส (กรีก: Δομήνικος Θεοτοκόπουλος; Doménicos Theotokópoulos [ðoˈminikos θeotoˈkopulos]; ค.ศ. 1541 – 7 เมษายน ค.ศ. 1614) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ เอลเกรโก (El Greco; "ชาวกรีก") เป็นจิตรกร ประติมากร และสถาปนิกสมัยเรอเนซองซ์คนสำคัญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน เอลเกรโกมักจะลงนามในภาพเขียนด้วยชื่อเต็มเป็นภาษากรีก
เอลเกรโกเกิดที่เกาะครีตซึ่งในสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเวนิสและเป็นศูนย์กลางของศิลปะไบแซนไทน์ยุคปลาย เอลเกรโกได้รับการฝึกฝนลักษณะศิลปะไบแซนไทน์ก่อนที่เดินทางไปเวนิสเมื่ออายุ 26 ปึเช่นเดียวกับศิลปินชาวกรีกคนอื่น ๆ[1] ในปี ค.ศ. 1570 เอลเกรโกก็ย้ายไปโรมไปเปิดโรงฝึกงานและสร้างงานเขียน ระหว่างที่อยู่ในอิตาลี เอลเกรโกก็ปรับปรุงงานของตนเองโดยการใช้วิธีการเขียนภาพแบบลัทธิแมนเนอริสม์ (Mannerism) และเรอเนซองซ์อิตาลี
ในปี ค.ศ. 1577 เอลเกรโกก็ย้ายไปโตเลโดในประเทศสเปนซึ่งเป็นที่ที่เอลเกรโกอาศัยอยู่จนตลอดชีวิต ที่โตเลโด เอลเกรโกได้รับงานเขียนหลายชิ้นและเป็นที่สร้างผลงานที่รู้จักกันดีที่สุด
เอลเกรโกเป็นผู้ที่เป็นแนวทางต่อลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) และลัทธิบาศกนิยม (Cubism) ในสมัยต่อมา นอกจากนั้นงานของเอลเกรโกยังมีแรงบันดาลใจต่อกวีและนักเขียนเช่น ไรเนอร์ มาเรีย ริลค์ (Rainer Maria Rilke) และนิคอส คาแซนท์ซาคิส (Nikos Kazantzakis) นักวิชาสมัยใหม่กล่าวว่าเอลเกรโกมีลักษณะเป็นตัวของตัวเองอย่างเด่นชัด จนไม่สามารถจัดเข้าอยู่ในกลุ่มศิลปะกลุ่มหนึ่งได้[2] งานที่เป็นลักษณะที่รู้จักกันคือรูปแบบที่สูงยาวอย่างบิดเบือนและการใช้สีหนักและจัดโดยผสมผสานระหว่างศิลปะไบแซนไทน์กับศิลปะตะวันตก[3]
อ้างอิง
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]สมุดภาพ
[แก้]-
“การประกาศของเทพ”
ราว ค.ศ. 1570-1575 -
“ปีเอตา”
ราว ค.ศ. 1571-1576 -
“พระเยซู”
ราว ค.ศ. 1580-1585 -
“พระแม่มารีสวมมงกุฏ”
ราว ค.ศ. 1591 -
“ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์”
ราว ค.ศ. 1594-1604 -
“พระเยซูบนกางเขน”
ราว ค.ศ. 1595-1600 -
“วิทัศน์ของนักบุญอิลดิฟองโซ”
ราว ค.ศ. 1600-1604 -
“สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5”
ราว ค.ศ. 1600-1610
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]