ข้ามไปเนื้อหา

เต็นท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เต็นท์โดมเดินป่าน้ำหนักเบาสมัยใหม่สำหรับสองคน ซึ่งผูกไว้กับหินเพราะไม่มีที่ที่จะวางเสาหลักบนชั้นหินนี้

เต็นท์ (อังกฤษ: tent) คือที่กำบังที่ประกอบด้วยแผ่นผ้าหรือวัสดุอื่นที่พาดทับไว้ โดยติดกับโครงเสาหรือเชือกพยุง แม้ว่าเต็นท์ขนาดเล็กจะตั้งอยู่อย่างอิสระหรือติดกับพื้นได้ แต่เต็นท์ขนาดใหญ่มักจะยึดไว้โดยใช้เชือกโยงติดกับเสาหรือหมุดเต็นท์ เต็นท์เหล่านี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในฐานะบ้านเคลื่อนที่ของชนร่อนเร่ ซึง่ปัจจุบัน เต็นท์เหล่านี้มักใช้สำหรับการตั้งแคมป์เพื่อการพักผ่อนและเป็นที่พักพิงชั่วคราวมากขึ้น

เต็นท์มีขนาดตั้งแต่โครงสร้าง "พักแรม" ซึ่งใหญ่พอสำหรับนอนคนเดียว ไปจนถึงเต็นท์ละครสัตว์ขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับคนได้หลายพันคน ส่วนเต็นท์สำหรับการตั้งแคมป์สันทนาการแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่เต็นท์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใส่กระเป๋าสะพายหลังสะพายนั้นเป็นเต็นท์ที่เล็กและเบาที่สุด ซึ่งเต็นท์ขนาดเล็กอาจมีน้ำหนักเบาพอที่จะบรรทุกในระยะทางไกลด้วยจักรยานทัวร์ริง, เรือ, หรือการเดินทางแบบแบ็กแพ็ก ส่วนประเภทที่สองคือเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่กว่าและหนักกว่าซึ่งมักจะบรรทุกในรถยนต์หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดเต็นท์และประสบการณ์ของบุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปเต็นท์ดังกล่าวสามารถประกอบ (กาง) ได้ภายในเวลาระหว่าง 5 ถึง 25 นาที การถอดแยกชิ้นส่วน (การรื้อ) ใช้เวลานานพอ ๆ กัน ส่วนเต็นท์ที่มีความพิเศษบางหลังมีเสาสปริงและสามารถกางได้ภายในไม่กี่วินาที แต่ใช้เวลานานกว่าในการกาง (รื้อและบรรจุ)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เต็นท์มีความเชื่อมโยงมากขึ้นกับวิกฤตคนไร้บ้านในสหรัฐ, แคนาดา และภูมิภาคอื่น ๆ โดยสถานที่ที่มีคนไร้บ้านหลายคนอาศัยอยู่ในเต็นท์ซึ่งมีที่ตั้งใกล้กันหรือวางผังใกล้กัน มักเรียกกันว่าดงเต็นท์

ประวัติ

[แก้]
เต็นท์หนังของกองทัพโรมัน (กลางซ้าย) ตามที่ปรากฎบนเสาตรายานุสในโรม (ภาพถ่ายจากการหล่อปูนปลาสเตอร์)

เต็นท์รูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าทีพีหรือทิพิ ซึ่งสังเกตได้จากรูปทรงกรวยและรูควันที่ส่วนสูงสุด ใช้โดยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันและชาวแคนาดาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวอินเดียนแดงเผ่าเพลนมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งประมาณกันในช่วง 10,000 ถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล[1][2]

เต็นท์ถูกนำมาใช้อย่างน้อยก็ย้อนกลับไปถึงยุคเหล็กตอนต้น[3] และมีการกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ในคัมภีร์ไบเบิล ตัวอย่างเช่น ในปฐมกาล บทที่ 4 ข้อ 20 ยาบาลได้รับการอธิบายว่าเป็น "คนแรกที่อาศัยอยู่ในเต็นท์และเลี้ยงแกะและแพะ" ส่วนกองทัพโรมันใช้เต็นท์หนัง ซึ่งเป็นการลอกเลียนแบบที่ผู้จำลองสมัยใหม่ได้นำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ[4] โดยรูปแบบต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป บางรูปแบบได้มาจากเต็นท์เร่ร่อนแบบดั้งเดิม เช่น เยิร์ต

เต็นท์ทหารส่วนใหญ่ตลอดประวัติศาสตร์มีการออกแบบสันหลังคาที่เรียบง่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญคือการใช้ผ้าลินินหรือผ้าป่านสำหรับหลังคาซึ่งตรงกัน้ามกับหนังสำหรับชาวโรมัน ซึ่งการใช้เต็นท์เป็นหลักยังคงเป็นการจัดเตรียมที่พักพิงแบบพกพาให้กับพลทหารจำนวนเล็กน้อยในสนาม

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การออกแบบที่ใหญ่ขึ้นได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่ด้านหลังเพื่อเป็นที่ซ่อนสำหรับกิจกรรมสนับสนุนและเสบียงต่าง ๆ

การใช้

[แก้]

เต็นท์ใช้เป็นที่พักพิงของชนเผ่าเร่ร่อน, คนตั้งค่ายพักแรมนันทนาการ, ทหาร และผู้ประสบภัยพิบัติ โดยทั่วไปเต็นท์ยังใช้เป็นที่พักพิงเหนือศีรษะสำหรับงานเทศกาล, งานแต่งงาน, งานปาร์ตีในสวนหลังบ้าน งานสำคัญของบริษัท, ผ้าคลุมการขุด (การก่อสร้าง) และที่พักพิงทางอุตสาหกรรม

แบบดั้งเดิม

[แก้]
เต็นท์เบอร์เบอร์ใกล้ซอโกระ ประเทศโมร็อกโก

เต็นท์มักใช้โดยชนร่อนเร่ทั่วโลก เช่น ชนพื้นเมืองทวีปอเมริกา, ชาวมองโกเลีย, ชนร่อนเร่เตอร์กิกและทิเบต รวมถึงเบดูอิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The History Behind Teepee Dwellings". Teepee Joy. สืบค้นเมื่อ 4 June 2018.
  2. Wishart, David J. "Tipis". Encyclopedia of the Great Plains. University of Nebraska. สืบค้นเมื่อ 4 June 2018.
  3. "A Brief History of Tents - where did tents originate? The History of Tents". www.turas.tv (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  4. "ContuberniumTent". Legiotricesima.org. สืบค้นเมื่อ 2012-11-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เต็นท์