ข้ามไปเนื้อหา

อามาเลข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดจาก Phillip Medhurst Collection แสดงโยชูวาต่อสู้กับชาวอามาเลข (อพยพ 17)

อามาเลข (อังกฤษ: Amalek, /ˈæməlɛk/;[1] Biblical Hebrew: עֲמָלֵק, อักษรโรมัน: ʿĂmālēq, อาหรับ: عماليق, อักษรโรมัน: ʿAmālīq) ได้รับการอธิบายในคัมภีร์ฮีบรูเป็นชาติศัตรูของวงศ์วานอิสราเอล ชื่อ "อามาเลข" สามารถสื่อถึงลูกหลานอามาเลข หลานชายของเอซาว หรือใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในดินแดนอามาเลขที่คานาอัน[2][3][4] ธรรมเนียมอิสลามถือให้อามาเลขเป็นเผ่าอาหรับในมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ยุคก่อนอิสลาม [5][6] หรือลูกหลานฮาม บุตรโนอาห์ ในแอฟริกาเหนือ[7]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ในการตีความของรับบีบางส่วน มีการวิเคราะห์ศัพท์อามาเลขเป็น am lak 'ผู้คนที่เลีย (เลือด)'[8] แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าที่มาของคำนี้ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด[9]

ในคัมภีร์ฮีบรู

[แก้]

คัมภีร์ฮีบรูระบุว่า อามาเลขเป็นบุตรของเอลีฟัส (ผู้เป็นบุตรของเอซาว บรรพบุรุษของชาวเอโดมและพี่ชายของอิสราเอล) กับทิมนา ผู้เป็นภรรยาน้อยของเอลีฟัส ทิมนาเป็นชาวโฮรีและน้องสาวของโลทาน[2] อามาเลขก็มาจากการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง เนื่องจากเอลีฟัสเป็นพ่อเลี้ยงของทิมนา ตาม 1 พงศาวดาร 1:36[10] หลังเขาทำการประเวณีกับภรรยาของเสอีร์ชาวโฮรี ผู้เป็นพ่อทางสายเลือดของทิมนา[11][12] ฟลาวิอุส โยเซพุส นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน-ยิวในคริสต์ศตวรรษที่ กล่าวถึงอามาเลขเป็น "บุตรนอกสมรส" (νόθος) ในเชิงเหยียดหยาม[13]

Battle with the Amalekites, โดย Julius Schnorr von Carolsfeld (1860), ภาพสื่อถึงโองการอพยพ 17:8–16

ชาวอามาเลข

[แก้]

ในปฐมกาล 36:16[14] อามาเลขได้รับการกล่าวถึงเป็น "หัวหน้า" ในบรรดา "หัวหน้าซึ่งสืบเชื้อสายจากเอลีฟัส" ซึ่งคาดการณ์ว่าเขาปกครองตระกูลหรือดินแดนที่ตั้งชื่อตามตัวเขา ในคำทำนายของบาลาอัม อามาเลขถูกเรียกขานเป็น "ประชาชาติหมายเลขหนึ่ง"[15] ชาวอามาเลข ถูกอ้างว่าเป็นลูกหลานของอามาเลขผ่านวงศ์ตระกูลของเอซาว[16]

คัมภีร์ฮีบรูระบุว่า ชาวอามาเลขอาศัยอยู่ที่เนเกบและไซนาย[3] พวกเขาดูเหมือนมีรูปแบบชีวิตร่อนเร่หรือกึ่งร่อนเร่ตามแนวเขตเกษตรกรรมทางตอนใต้ของคานาอัน[4]

สำหรับกลุ่มคน ชาวอามาเลขถูกระบุทั่วคัมภีร์ฮีบรูในฐานะศัตรูที่เกิดซ้ำของวงศ์วานอิสราเอล[16]

การตีความ

[แก้]

หลักฐานในประวัติศาสตร์

[แก้]

ไม่มีการพบอ้างอิงถึงอามาเลขหรือชาวอามาเลขในจารึกและบันทึกของชาวอียิปต์และอัสซีเรีย แม้ว่าทั้งสองกลุ่มบันทึกเผ่าและกลุ่มชนต่าง ๆ ในลิแวนต์หลายช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น Hugo Winckler จึงสรุปว่าชาวอามาเลขไม่มีจริง และเรื่องราวเกี่ยวกับพวกเขาในพระคัมภีร์ทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และเป็นตำนานโดยสิ้นเชิง[17] แม้ว่ามีการปรับปรุงความรู้การวิจัยทางโบราณคดีเกี่ยวกับชาวอาหรับเร่ร่อน ไม่มีโบราณวัตถุหรือสถานที่ใดที่เชื่อมโยงกับอามาเลขอย่างแน่นอน[4]

การใช้งานในสมัยใหม่

[แก้]

รับบีโดยทั่วไปยอมรับว่าชาวอามาเลขไม่มีตัวตนอีกต่อไป โดยอิงจากข้อโต้แย้งที่ว่า พระเจ้า Sennacherib เคลื่อนย้ายและผสมกลุ่มชนต่าง ๆ ดังนั้น จึงไม่สามารถระบุว่าใครคือชาวอามาเลขได้อีกต่อไป[18]

ในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ นักการเมืองและพวกหัวรุนแรงบางส่วนเทียบชาวปาเลสไตน์กับอามาเลข โดยระบุว่าชาวปาเลสไตน์คือชาวอามาเลข[19][20] หรือกล่าวหาชาวอาหรับว่ามี "พฤติกรรม" ที่ "เป็นตัวอย่าง" ของชาวอามาเลข[21] รับบี 200 คนเรียกยัสเซอร์ อาราฟัตเป็น "อามาเลขและฮิตเลอร์ในรุ่นของเรา"[21] สมาชิกขบวนการกุชเอมูนิมหลายคนมองชาวอาหรับเป็น "อามาเลขในปัจจุบัน"[22] เหตุผลหนึ่งคือความเชื่อว่าอามาเลขคือชาติใดก็ตามที่ขัดขวางชาวยิวจากการเข้าตั้งถิ่นฐานในดินแดนอิสราเอล ซึ่งรวมถึงชาวปาเลสไตน์[23] ในช่วงสงครามกาซา ค.ศ. 2014 แนวหน้าของ yeshiva ระบุชาวปาเลสไตน์เป็นลูกหลานของชาวอามาเลขและชาวฟิลิสตีนโบราณ[23] ในทางลำดับวงศ์ตระกูล ชาวอาหรับไม่มีความเกี่ยวข้องกับชาวอามาเลข และก่อนหน้าความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล ชาวยิวบางส่วนเชื่อมโยงอามาเลขกับจักรวรรดิโรมันและชาวคริสต์สมัยกลาง[21]

ในทางตรงข้าม กลุ่ม ultra-Orthodox บางส่วนถือให้ไซออนิสต์เป็นชาวอามาเลขเนื่องจากการต่อต้านยิวของลัทธิไซออนิสต์[24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Amalek". Random House Webster's Unabridged Dictionary.
  2. 2.0 2.1 Genesis 36:12; 1 Chronicles 1:36
  3. 3.0 3.1 Numbers 13:29
  4. 4.0 4.1 4.2 Mattingly 2000, p. 48.
  5. Athamina, Khalil (2005). "Abraham in Islamic Perspective Reflections on the Development of Monotheism in Pre-Islamic Arabia". Der Islam. 81 (2): 193–196. doi:10.1515/islm.2004.81.2.184. S2CID 170567885 – โดยทาง De Gruyter.
  6. Milani, Zohreh Babaahmadi (2022). "An Investigation into Qur'anic and Historical Reasons for the Immigration and Presence of the People of the Book in Arabia". International Journal of Multicultural and Multireligious Understanding. 9 (8): 205–206 – โดยทาง IJMMU.
  7. Knight 1833, p. 411.
  8. Patterson, David (2011). A Genealogy of Evil: Anti-Semitism from Nazism to Islamic Jihad. Cambridge University Press. pp. 43, 244. ISBN 9781139492430.
  9. M. Weippert, Semitische Nomaden des zweiten Jahrtausends. Biblica vol. 55, 1974, 265-280, 427-433
  10. 1 Chronicles 1:36
  11. Ginzberg, Louis (1913). The Legends of the Jews. pp. 422–423.
  12. For an Rabbanic explanation of Timna lineage see Kadari, Tamar (31 December 1999). "Timna, concubine of Eliphaz: Midrash and Aggadah". The Shalvi/Hyman Encyclopedia of Jewish Women. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
  13. Feldman 2004, p. 8–9.
  14. Genesis 36:16
  15. Numbers 24:20
  16. 16.0 16.1 Mills 1997, p. 21.
  17. Singer, Isidore (1901). The Jewish encyclopedia: a descriptive record of the history, religion, literature, and customs of the Jewish people from the earliest times to the present day (2004 reprint ed.). Cornell University Library. ISBN 978-1112115349.
  18. Eynei Kol Ḥai, 73, on Sanhedrin 96b. Also Minchat Chinuch, parshat Ki Tetze, mitzvah 434.
  19. Goldberg, Jeffrey (May 24, 2004). "Among the Settlers". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 14 November 2023.
  20. Lanard, Noah. "The Dangerous History Behind Netanyahu's Amalek Rhetoric". Mother Jones. สืบค้นเมื่อ 15 November 2023.
  21. 21.0 21.1 21.2 Elliott Horowitz (2018). Reckless Rites:Purim and the Legacy of Jewish Violence. Princeton University Press. pp. 2–4.
  22. Nur Masalha. Imperial Israel and the Palestinians. Pluto Press. p. 113.
  23. 23.0 23.1 Defining Israel:The Jewish State, Democracy, and the Law. Hebrew Union College Press. p. 281.
  24. Porat, Dina (1992). "'Amalek's Accomplices' Blaming Zionism for the Holocaust: Anti-Zionist Ultra-Orthodoxy in Israel during the 1980s". Journal of Contemporary History. 27 (4): 695–729. doi:10.1177/002200949202700408. S2CID 154626003 – โดยทาง SageJournals.

หนังสือ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]