ส้มจี๊ด
ส้มจี๊ด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | โรสิด |
อันดับ: | เงาะ |
วงศ์: | วงศ์ส้ม |
สกุล: | สกุลส้ม |
Informal group: | ส้มจี๊ด |
ส้มจี๊ด หรือ ส้มกิมจ๊อ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus Japonica Thunb; จีน: 金桔 หรือ 金橘; พินอิน: jīnjú อ่าน จิงจู๋ แปลตามตัว ส้มสีทอง) ในสกุลส้มและวงศ์ส้ม เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกแขนงเป็นพุ่มแน่น ใบรูปไข่ สีเขียวสดเป็นมัน มีหูใบขนาดเล็ก ดอกออกดอกเดี่ยว แต่มักออกรวมกันเป็นกลุ่ม มีสีขาว ติดผลดก ผลกลมเหมือนส้มทั่วไป แต่มีขนาดเล็ก เป็นส้มชนิดที่กินเปลือก[1] ผลขนาดเล็ก มีทั้งกลมและรี เปลือกสีเหลือง เหลืองอมเขียว หรือเหลืองทอง ผลดก ผิวที่หนา มีรสเปรี้ยว อมหวานเฝื่อนนิด ๆ จึงนิยมนำเปลือกไปดองเค็มเรียกกิมจ๊อ เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศจีนทั้งแผ่นดินใหญ่และโดยรอบเช่นเกาะไต้หวัน แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ญี่ปุ่น และเกาหลี ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า กัมกั้ด ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ Kumquat เป็นได้ทั้งไม้กินผลและไม้ประดับ เปลือกส้มมีสรรพคุณช่วยขับลม ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ดองเกลือและทำให้แห้ง อมแก้เจ็บคอ แต่งรสเปรี้ยวในการทำน้ำผลไม้ ใช้ทำแยม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ส้มจี๊ดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1.5-3 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล แตกแขนงเป็นพุ่มแน่น กิ่งอ่อนมี หนามแหลมคม ใบเดี่ยวหรือใบประกอบ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2.8-3.2 เซนติเมตร ยาว 7.5-8.3 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว เข้ม เป็นมัน ค่อนข้างหนา ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบ เลี้ยง 4-5 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก 4-6 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศเมีย 1 เกสร ดอกมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนสีเขียวเข้ม ผลแก่จะมีสีเขียวปน เหลืองหรือสีเหลืองอมส้มหรือสีส้ม เปลือกผลหรือผนังผลชั้นนอก (exocarp) มีต่อม น้ำมัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ส้มกิมจ๊อ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 230
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Burkill, I. H. (1931). "An enumeration of the species of Paramignya, Atalantia and Citrus, found in Malaya". Gard. Bull. Straits Settlem. 5: 212–220.
- Mabberley, D. J. (1998). "Australian Citreae with notes on other Aurantioideae (Rutaceae)" (PDF). Telopea 7 (4): 333–344.