ข้ามไปเนื้อหา

ลาเกิน

พิกัด: 50°52′40″N 4°21′21″E / 50.87778°N 4.35583°E / 50.87778; 4.35583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ลาเกิน
  • ลาแกน
ธงของ ลาเกิน ลาแกน
ธง
ตราราชการของ ลาเกิน ลาแกน
ตราอาร์ม
ที่ตั้งในกรุงบรัสเซลส์
ที่ตั้งในกรุงบรัสเซลส์
ลาเกินตั้งอยู่ในBelgium
ลาเกิน
ลาเกิน
ที่ตั้งในประเทศเบลเยียม
พิกัด: 50°52′40″N 4°21′21″E / 50.87778°N 4.35583°E / 50.87778; 4.35583
ประเทศ เบลเยียม
ภูมิภาคบรัสเซลส์
เขตนครหลวงบรัสเซลส์
เทศบาลนครหลวงบรัสเซลส์
พื้นที่
 • ทั้งหมด9.25 ตร.กม. (3.57 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2015)
 • ทั้งหมด60,295 คน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ลาเกิน (ดัตช์: Laken, ออกเสียง: [ˈlaːkə(n)] ( ฟังเสียง)) หรือ ลาแกน (ฝรั่งเศส: Laeken, ออกเสียง: [laˈkɛn]) เป็นบริเวณเขตที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงบรัสเซลส์ในประเทศเบลเยียม ลาเกินนั้นอยู่ในเขตปกครองของเทศบาลเมืองบรัสเซลส์ (Municipality of the City of Brussels) โดยใช้รหัสไปรษณีย์ว่า B-1020 ก่อนหน้า ค.ศ. 1921 ลาเกินนั้นอยู่ในเขตต่างพื้นที่ปกครองของเทศบาล

สิ่งก่อสร้างสำคัญ

[แก้]
อนุสาวรีย์แห่งพระราชวงศ์บริเวณด้านหน้าของพระราชวัง
พระราชวังลาเกิน

พระราชวัง

[แก้]

พระราชวังลาเกิน ที่ประทับส่วนพระองค์ของราชวงศ์เบลเยียม สร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1782–1784 โดยชาร์ล เดอ วายี ต่อมาถูกทำลายลงบางส่วนโดยอัคคีภัยใน ค.ศ.​ 1890 และบูรณะต่อเติมโดยอาลฟงส์ บาลัต ตัวอาคารในปัจจุบันนั้นมาจากการออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ชาร์ล ฌีโร ใน ค.ศ.​ 1902 พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของพระราชวงศ์เบลเยียมตั้งแต่การเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยพระเจ้าเลออปอลที่ 1 ใน ค.ศ.​ 1831

สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีประทับอยู่ในพระราชวังแบลเวอแดร์ ซึ่งเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันและสมเด็จพระราชินีประทับอยู่ในพระที่นั่งองค์หลัก[1]

เรือนกระจกหลวง

[แก้]
เรือนกระจกหลวงแห่งลาเกิน ออกแบบโดยสถาปนิกบาลัต (ค.ศ. 1874–1890)

ในบริเวณพระราชฐานนั้นยังเป็นที่ตั้งของ เรือนกระจกหลวงแห่งลาเกิน ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างรูปทรงโดมขนาดใหญ่โครงทำด้วยโลหะมุงกระจก ซึ่งเปิดให้เข้าชมได้เพียงไม่กี่วันในแต่ละปีเท่านั้น เรือนกระจกหลวงแห่งนี้ออกแบบโดยอาลฟงส์ บาลัต และวิกตอร์ ออร์ตา

โบสถ์แม่พระแห่งลาเกิน

[แก้]

บริเวณทิศใต้ของพระราชวังเป็นที่ตั้งของ โบสถ์แม่พระแห่งลาเกิน ในแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอ-กอทิก ซึ่งแรกนั้นสร้างไว้เป็นมอโซเลียมสำหรับสมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารี ในพระเจ้าเลออปอลที่ 1

สถาปนิกผู้ออกแบบคือ โฌแซ็ฟ ปูลาร์ต ผู้ออกแบบอาคารศาลยุติธรรมของบรัสเซลส์ ภายในบริเวณโบสถ์เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงสำหรับพระราชวงศ์เบลเยียม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Opulent homes of Europe's royal families". Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-25. สืบค้นเมื่อ 2013-08-05.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Jespers, Jean-Jacques (2005). Dictionnaire des noms de lieux en Wallonie et à Bruxelles (ภาษาฝรั่งเศส). Brussels: Racine Lannoo. ISBN 978-2-87386-409-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]