ข้ามไปเนื้อหา

ริไจนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริไจนา
นครริไจนา
จากบนลงล่างและซ้ายไปขวา: ย่านใจกลางเมือง, สวนวิกตอเรีย, อาคารนิติบัญญัติแห่งรัฐซัสแคตเชวัน, อาคารพรินซ์เอ็ดเวิร์ด, หอสมุด ดร.จอห์น อาร์เชอร์, พิพิธภัณฑ์ซัสแคตเชวัน และพื้นที่ย่านใจกลางเมือง
ธงของริไจนา
ธง
ตราราชการของริไจนา
ตราอาร์ม
สมญา: 
คำขวัญ: 
Floreat Regina
("ริไจนาจงเจริญ")[2]
ริไจนาตั้งอยู่ในแคนาดา
ริไจนา
ริไจนา
ที่ตั้งในประเทศแคนาดา
พิกัด: 50°27′17″N 104°36′24″W / 50.45472°N 104.60667°W / 50.45472; -104.60667
ประเทศแคนาดา
รัฐซัสแคตเชวัน
เทศบาลชนบทเชอร์วูด
ก่อตั้งค.ศ. 1882
ตั้งชื่อจาก"ราชินี" (ละติน) ตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีSandra Masters
 • หน่วยงานสภานครริไจนา
 • สภาล่าง
รายชื่อสมาชิก
 • สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
พื้นที่
 • เมืองหลวงของรัฐ179.97 ตร.กม. (69.5 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล4,324.39 ตร.กม. (1,669.66 ตร.ไมล์)
ความสูง577 เมตร (1,893 ฟุต)
ประชากร
 (2016)
 • เมืองหลวงของรัฐ215,106 (อันดับที่ 24 ของประเทศ) คน
 • ความหนาแน่น1,195.2 คน/ตร.กม. (3,109.3 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง214,631[3] คน
 • รวมปริมณฑล236,481 (อันดับที่ 18 ของประเทศ) คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล54.7 คน/ตร.กม. (142.3 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมริไจนัน
เขตเวลาUTC−06:00 (CST)
รหัสไปรษณีย์S4K – S4Z
รหัสพื้นที่306 และ 639
NTS Map072I07
รหัส GNBCHAIMP
เว็บไซต์http://www.regina.ca/

ริไจนา (อังกฤษ: Regina) เป็นเมืองหลวงของรัฐซัสแคตเชวันในประเทศแคนาดา และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของรัฐรองจากซัสคาทูนและเป็นศูนย์กลางทางพาณิชยกรรมทางตอนใต้ของรัฐ ใน ค.ศ. 2016 ริไจนามีประชากร 215,106 คน และหากนับรวมทั้งเขตมหานครแล้ว จะมีประชากร 236,481 คน[4] นครปกครองโดยสภานครริไจนา และพื้นที่ของนครล้อมรอบโดยเทศบาลชนบทเชอร์วูด หมายเลข 159

เดิมริไจนาเป็นศูนย์การบริหารของนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ ซึ่งต่อมาได้มีเขตการปกครองแยกออกเป็นรัฐซัสแคตเชวัน รัฐแอลเบอร์ตา และเขตแอสซินิโบอา นครเคยถูกเรียกว่า "วาสคานา" ("กระดูกควาย" ในภาษาครี) แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ริไจนา" ("ราชินี" ในภาษาละติน) เมื่อ ค.ศ. 1882 เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย การเปลี่ยนชื่อนครครั้งนี้ดำเนินการโดยเจ้าหญิงลูอิส ดัชเชสแห่งอาร์กายล์ พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและพระชายาในจอห์น คัมป์เบลที่ 9 ดยุกแห่งอาร์กายล์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแคนาดา[5]

ริไจนามีความแตกต่างจากนครอื่น ๆ ในแผนแม่บทของแคนาดาตะวันตก ตรงที่ริไจนาตั้งอยู่บนที่ราบไร้ซึ่งต้นไม้และมีภูมิลักษณ์เพียงแค่ลำธารวาสคานาเท่านั้น ผู้วางแผนรุ่นแรกอาศัยประโยชน์จากการสร้างเขื่อนบนลำธารจนก่อให้เกิดทะเลสาบเทียมทางตอนใต้ของย่านธุรกิจ ซึ่งมีสะพานถนนแอลเบิร์ต ความยาว 260-เมตร (850-ฟุต) ทอดข้ามทะเลสาบแห่งใหม่นี้[6] ริไจนามีความสำคัญมากขึ้นเมื่อรัฐซัสแคตเชวันได้จัดตั้งนครแห่งนี้เป็นเมืองหลวงของรัฐนับตั้งแต่ ค.ศ. 1906 เป็นต้นมา[7] วาสคานาเซ็นเตอร์ ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบวาสคานา เป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของนครและเป็นที่ตั้งของสภานิติบัญญัติรัฐ, มหาวิทยาลัยริไจนา, มหาวิทยาลัยแห่งชาติแคนาดาแห่งแรก, พิพิธภัณฑ์ซัสแคตเชวัน, โรงเรียนสอนดนตรีริไจนา (ตั้งอยู่ในอาคารเดิมของมหาวิทยาลัยริไจนา), ศูนย์วิทยาศาสตร์ซัสแคตเชวัน,[8] หอศิลป์แม็กเคนซี และศูนย์ศิลปะซัสแคตเชวัน

ย่านที่พักอาศัยซึ่งเป็นบริเวณที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมือง เป็นย่านที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านเล้กวิวและเดอะเครสเซนต์ ซึ่งทั้งสองย่านตั้งอยู่ทางทิศใต้ของย่านใจกลางเมือง ส่วนย่านที่อยู่ทางทิศเหนือของใจกลางเมืองเป็นย่านโกดังเก่าซึ่งมีการพัฒนาด้านการค้า การเที่ยวกลางคืน และที่พักอาศัย[9] บริเวณรอบนอกนครมีศูนย์การค้าและซูเปอร์สโตร์เช่นเดียวกันกับเมืองอื่น ๆ ในอเมริกาเหนือ

ใน ค.ศ. 1912 พายุหมุนริไจนาสร้างความเสียหายแก่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง[10] ต่อมาในคริสตทศวรรษ 1930 เกิดจราจลขึ้นในตัวเมือง และในช่วงกลางทศวรรษเดียวกันนี้เอง ก็เกิดภัยแล้งและเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เกษตรกรทำงานบนทุ่งหญ้าได้อย่างยากลำบาก[11] ต่อมาใน ค.ศ. 1933 สหพันธ์ความร่วมมือจักรภพ (CCF) (ปัจจุบันคือพรรคประชาธิปไตยใหม่ (NDP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายขนาดใหญ่ในประเทศ) ได้เปิดเผยคำแถลงการณ์ริไจนา (Regina Manifesto)[12] และในช่วงปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจด้านเกษตรกรรมของรัฐซัสแคตเชวันได้เข้าสู่ช่วงที่เติบโตมากอย่างมั่นคง[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Canadian Geographic Kids!". cgkids.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2006.
  2. "City of Regina". The Governor General of Canada. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
  3. Population and dwelling counts, for Canada, provinces and territories, and population centres, 2016 and 2011 censuses: Saskatchewan เก็บถาวร 11 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Statistics Canada. Retrieved 8 February 2017
  4. "Population of census metropolitan areas". Statistics Canada. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2016. สืบค้นเมื่อ 9 August 2015.
  5. Daria Coneghan, "Regina," The Encyclopedia of Saskatchewan. เก็บถาวร 29 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 December 2007.
  6. Herrington, Ross (31 March 2007). "Saskatchewan Road and Railway Bridges to 1950: Inventory". Ministry of Tourism, Parks, Culture and Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 February 2009.
  7. Coneghan เก็บถาวร 29 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 December 2007.
  8. "Saskatchewan Science Centre website". Sasksciencecentre.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2014. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
  9. Regina's Old Warehouse District. เก็บถาวร 17 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 December 2007.
  10. Dagmar Skamlová, "Regina Cyclone," Encyclopedia of Saskatchewan. เก็บถาวร 26 สิงหาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 December 2007.
  11. Steven J. Shirtliffe, "Agronomy," Encyclopedia of Saskatchewan. เก็บถาวร 7 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 December 2007.
  12. "The Regina Manifesto (1933) เก็บถาวร 10 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Co-operative Commonwealth Federation Programme, Adopted by the founding convention in Regina, Saskatchewan, July 1933." Socialist History Project. South Branch Publishing. Retrieved 11 December 2007.
  13. "Saskatchewan Poised for Strong Economic Growth Says RBC Economics," Royal Bank of Canada Financial Group, March 30, 2007.. Retrieved 11 December 2007. เก็บถาวร 18 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]