มอนซานโต้
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
---|---|
การซื้อขาย | NYSE: MON S&P 500 Component |
ISIN | US61166W1018 |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจเกษตร |
ก่อตั้ง | เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ (1901 ) |
ผู้ก่อตั้ง | John Francis Queeny |
เลิกกิจการ | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 |
สำนักงานใหญ่ | คลีฟคัวร์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ |
บุคลากรหลัก | Hugh Grant (ประธานและซีอีโอ)[1] |
ผลิตภัณฑ์ | สารฆ่าวัชพืช สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ เมล็ดพืชผล |
รายได้ | |
รายได้จากการดำเนินงาน | |
รายได้สุทธิ | |
สินทรัพย์ | |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | |
พนักงาน | ~21,900 (ปีงบฯ 2556)[5] |
บริษัทแม่ | ไบเออร์ |
เว็บไซต์ | www |
บริษัทมอนซานโต้ (อังกฤษ: Monsanto Company) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดด้านเกษตรเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่ในคลีฟคัวร์ เกรตเตอร์เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุวิศวกรรมชั้นนำ และราวน์อัพ สารฆ่าวัชพืชซึ่งมีสารไกลโฟเสต บทบาทของมอนซานโต้ในการเปลี่ยนแปลงทางเกษตร ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การวิ่งเต้นหน่วยงานของรัฐบาล และเดิมที่เคยเป็นบริษัทเคมีทำให้บริษัทฯ เป็นกรณีพิพาท
มอนซานโต้ก่อตั้งในปี 2444 โดย จอห์น แฟรนซิส ควีนี (John Francis Queeny) เดิมผลิตสารปรุงแต่งอาหารอย่างแซกคารีนและวานิลลิน และขยายเป็นสารเคมีอุตสาหกรรมอย่างกรดซัลฟิวริกและพอลีคลอริเนเต็ดไบฟีนิล (polychlorinated biphenyl) ในคริสต์ทศวรรษ 1920 และในคริสต์ทศวรรษ 1940 เป็นผู้ผลิตพลาสติกรายสำคัญ ซึ่งรวมพอลิสไตรีนและใยสังเคราะห์ ความสำเร็จสำคัญของมอนซานโต้และนักวิทยาศาสตร์ในฐานะบริษัทเคมีได้แก่การวิจัยค้นพบยิ่งใหญ่เรื่องไฮโดรจีเนชันอสมมาตรแคทาลิติก (catalytic asymmetric hydrogenation) และเป็นบริษัทแรกที่ผลิตไดโอดเปล่งแสงขนาดใหญ่ บริษัทฯ ยังเคยผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นข้อพิพาทอย่าง สารฆ่าแมลงดีดีที พีซีบี เอเจนต์ออเรนจ์ และรีคอมบิแนนต์โซมาโตโทรปินหมู (หรือฮอร์โมนเติบโตหมู)
มอนซานโต้เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดัดแปรพันธุกรรมเซลล์พืช เป็นหนึ่งในสี่กลุ่มที่ประกาศการใส่ยีนเข้าพืชในปี 2526[6] และเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดำเนินการทดลองสนามพืชผลดัดแปรพันธุกรรมซึ่งทำในปี 2530 มอนซานโต้ยังเป็นหนึ่งในสิบยอดบริษัทเคมีของสหรัฐจนบริษัทถอนธุรกิจเคมีส่วนใหญ่ระหว่างปี 2540 ถึง 2545 ผ่านกระบวนการการรวมบริษัทและแยกบริษัทซึ่งมุ่งสนใจเทคโนโลยีชีวภาพ
มอนซานโต้ยังเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ใช้แบบจำลองธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโยโลยีชีวภาพเพื่อเกษตรกรรม โดยใช้เทคนิคที่จีเนนเทค (Genentech) พัฒนาและบริษัทยาเทคโนโลยีชีวภาพอื่นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย[7]: 2–6 ในแบบจำลองธุรกิจนี้ บริษัทลงทุนอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนา และหักลบกลบค่าใช้จ่ายผ่านการใช้และบังคับใช้สิทธิบัตรชีวภาพ[8][9][10][11] แบบจำลองสิทธิบัตรเมล็ดถูกวิจารณ์ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางชีวภาพและภัยต่อความหลากหลายทางชีวภาพ[12][13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Board of Directors". Monsanto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-23. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.
Hugh Grant is the chairman and chief executive officer of Monsanto Company.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "MONSANTO CO /NEW/ 2013 Annual Report Form (10-K)" (XBRL). United States Securities and Exchange Commission. October 23, 2013.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "MONSANTO CO /NEW/ 2014 Q2 Quarterly Report Form (10-Q)" (XBRL). United States Securities and Exchange Commission. April 3, 2014.
- ↑ Monsanto. Monsanto Annual Report, Form 10-K เก็บถาวร 2015-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Filing Date August 31, 2013
- ↑ "The race towards the first genetically modified plant". Plant Biotech News. 19 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-17. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
- ↑ Dorothy Leonard-Barton, Gary P. Pisano. January 29, 1990. Harvard Business Review: Case Studies. Monsanto's March into Biotechnology
- ↑ "Competition Issues in the Seed Industry and the Role of Intellectual Property". Choicesmagazine.org. November 21, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-02. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
- ↑ Schneider, Keith (June 10, 1990) Betting the Farm on Biotech. the New York Times
- ↑ Burrone, Esteban (2006) Patents at the Core: the Biotech Business เก็บถาวร 2016-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. WIPO
- ↑ Economic Research Service/USDA The Seed Industry in U.S. Agriculture: An Exploration of Data and Information on Crop Seed Markets, Regulation, Industry Structure, and Research and Development เก็บถาวร 2012-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Shiva, Vandana (February 6, 2012) The seed emergency: The threat to food and democracy, Aljazeera.
- ↑ Parsai, Gargi (February 5, 2012). "Opposition to Monsanto patent on Indian melons". The Hindu. Chennai, India.
- ↑ Vidal, John (November 15, 2000). "Biopirates who seek the greatest prizes". London: The Guardian.