นิสสัน
สำนักงานใหญ่นิสสันในโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น | |
ชื่อท้องถิ่น | 日産自動車株式会社 |
---|---|
ชื่อโรมัน | Nissan Jidōsha Kabushiki-gaisha |
ประเภท | สาธารณะ (K.K.) |
การซื้อขาย | |
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
ก่อตั้ง | 26 ธันวาคม 1933นิสสันกรุ๊ป)[1][2] | (ภายใต้
ผู้ก่อตั้ง |
|
สำนักงานใหญ่ | นิชิกุ โยะโกะฮะมะ, ประเทศญี่ปุ่น (ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในคะนะงะวะ โยะโกะฮะมะ) |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | |
ผลิตภัณฑ์ | ยานยนต์, ยานพาหนะหรู, ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์, เครื่องยนต์เรือ, รถยก |
ผลผลิต | 5,556,241 หน่วย (2016)[4] |
รายได้ | ¥11.38 trillion (FY2014)[5] |
รายได้จากการดำเนินงาน | ¥589.6 พันล้าน (FY2014)[5] |
รายได้สุทธิ | ¥457.6 พันล้าน (FY2014)[5] |
สินทรัพย์ | ¥17.04 ล้านล้าน (FY2014)[5] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ¥5.07 ล้านล้าน (FY2014)[5] |
พนักงาน | 142,925 (รวมเดือนมีนาคม 2014)[6] |
บริษัทแม่ | เรโนลต์ (หุ้นสามัญ 44.4%) |
แผนก | |
บริษัทในเครือ | รายการ
|
เว็บไซต์ | www |
นิสสัน | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
คันจิ | 日産自動車株式会社 | ||||
ฮิรางานะ | にっさん じどうしゃ かぶしきがいしゃ | ||||
|
บริษัทนิสสันมอเตอร์จำกัด (อังกฤษ: Nissan Motor Company Ltd ญี่ปุ่น: 日産自動車株式会社) มักเรียกสั้น ๆ ว่า นิสสัน (/ˈniːsɑːn/ หรือ UK: /ˈnɪsæn/) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิชิกุ เมืองโยโกฮาม่า โดยนิสสันได้จำหน่ายรถยนต์ภายใต้ยี่ห้อนิสสัน อินฟินิทีและดัตสัน พร้อมกับรถยนต์ที่ถูกปรับแต่งสมรรถนะชื่อว่านิสโม บริษัทนิสสัน ฯ ได้เข้าร่วมกลุ่มบริษัทที่ทรงพลังของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า ไซบัสสึ ในชื่อนิสสันกรุ๊ป
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 นิสสันเป็นส่วนหนึ่งของเรโนลต์–นิสสัน–มิตซูบิชิอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนระหว่างนิสสันของญี่ปุ่น มิตซูบิชิมอเตอร์สของญี่ปุ่นและเรโนลต์ของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2556 เรโนลต์ถือหุ้นที่สามารถออกเสียงได้ของนิสสัน 43.4% ในขณะที่นิสสันถือหุ้นที่ไม่สามารถออกเสียงได้ของเรโนลต์ 15% จาก พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2560 คาร์ลอส กอนได้ดำรงตำแน่งซีอีโอทั้งสองบริษัท ในเดือนกุมภาพันธ์ กอนได้ประกาศลดขั้นลงจากซีอีโอในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นเพียงตำแหน่งประธานบริษัท[7]
ในปี พ.ศ. 2556 นิสสัน เป็นบริษัทรถยนต์รายใหญ่อันดับที่หกของโลกตามหลังโตโยต้า เจเนอรัลมอเตอร์ส โฟล์คสวาเกนกรุ๊ป ฮุนไดมอเตอร์กรุ๊ป และฟอร์ดมอเตอร์[8] หลังจากที่รวมบริษัทกันแล้วกับเรโนลต์ เรโนลต์–นิสสันจึงเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสี่ของโลก โดยนิสสันเป็นแบรนด์รถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่นในประเทศจีน รัสเซียและเม็กซิโก[9]
ในปี พ.ศ. 2557 นิสสันเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ[10]
นิสสันเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายทั่วโลกกว่า 275,000 คันในช่วงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559[11] รถที่ขายดีที่สุดของผู้ผลิตรถยนต์รายนี้คือ นิสสัน ลีฟ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วนและเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มียอดขายสูงที่สุดในโลกในประวัติศาสตร์ มากกว่า 300,000 ขายทั่วโลกเมื่อวันที่มกราคม พ.ศ. 2561[12]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ฮิโรโตะ ไซกาวะ ซีอีโอนิสสัน ประกาศว่ารถยนต์ยี่ห้ออินฟินิทีจะเป็นรถยนต์ไฮบริดหรือรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป[13]
ประวัติ
[แก้]การเริ่มต้นยี่ห้อดัตสันจากปี พ.ศ. 2459
[แก้]มาสุจิโร ฮาชิโมะโตะ ได้ตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ไคชินชา ซึ่งแปลว่าบริษัทผลิตรถยนต์ที่ดี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ที่ตำบลอะซะบุในโตเกียว เป็นบริษัทผลิตรถยนต์บริษัทแรกของญี่ปุ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 บริษัทไคชินชาได้ผลิตรถยนต์รุ่นแรกชื่อว่า "ดัต" (DAT)[3][1][2]
ชื่อรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งมาจากอักษรย่อของนามสกุลนักลงทุน:
- ญี่ปุ่น: Kenjiro Den; โรมาจิ: 'Den Kenjirō'
- ญี่ปุ่น: Rokuro Aoyama; โรมาจิ: 'Aoyama Rokurō'
- ญี่ปุ่น: Meitaro Takeuchi; โรมาจิ: 'Takeuchi Meitarō'
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไคชินชามอเตอร์คาร์ จำกัด ใน พ.ศ. 2461 และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น บริษัท ดัต จิโดะชะ จำกัด (บริษัท ดัตมอเตอร์คาร์) ใน พ.ศ. 2468 ดัตมอเตอร์ได้ผลิตรถบรรทุกภายใต้ยี่ห้อดัตและรถยนต์นั่งภายใต้ยี่ห้อดัตสัน และส่วนใหญ่จะผลิตรถบรรทุกเนื่องจากในเวลานั้นไม่ค่อยมีลูกค้านิยมซื้อรถยนต์นั่งและต้องฟื้นฟูผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 รถบรรทุกรุ่นดัตตัวแรกผลิตขึ้นสำหรับตลาดการทหาร ในขณะเดียวกันบริษัท จิสึโยะ จิโดะชะ จำกัด (จิสึโยะ หมายถึงการใช้ประโยชน์หรือสาธารณูปโภค) ได้ผลิตรถบรรทุกขนาดเล็กที่ใช้ชิ้นส่วนและวัสดุนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา[14]
การค้าถูกระงับในระหว่างการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของญี่ปุ่นและบริษัทได้มีส่วนร่วมกับสงคราม
นิสสันในประเทศไทย
[แก้]นิสสันประเทศไทย ก่อตั้งโดยนายถาวร พรประภา ในกลุ่มของสยามกลการ โดยนิสสันไทยได้รับความไว้วางใจจากนิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์นิสสัน นอกประเทศญี่ปุ่นรายแรกของโลก[ต้องการอ้างอิง]
โดยนิสสันประเทศไทย เคยมีสโลแกนที่เรียกกันติดปากว่า "เพื่อนที่แสนดี" ซึ่งเป็นที่คุ้นหูสำหรับนิสสันเมืองไทย
ในปัจจุบัน นิสสันประเทศไทยบริหารในนามบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด หรือชื่อเดิม บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด โดยดำเนินธุรกิจจำหน่าย ประกอบรถยนต์นิสสัน ภายใต้การบริหารของนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในสยามนิสสัน
ในโอกาสที่นิสสันครบรอบ 50 ปีในไทย นิสสันได้ผลิตรถยนต์นิสสันในประเทศไทยเป็นคันที่ 1,000,000 โดยคันที่หนึ่งล้านนี้ คือ นิสสัน เซฟิโร่ (A33) นิสสันได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย
ผลิตภัณฑ์
[แก้]นิสสัน ผลิตรถยนต์และรถบรรทุก ตั้งแต่ยุค 1950 โดยนิสสัน ได้ผลิตรถรุ่นแรกๆ คือ แฟร์เลดี้ แซด, สกายไลน์ ฯลฯ
ปัจจุบัน นิสสันมีผลิตภัณฑ์ซึ่งจำหน่ายอยู่ทั่วโลกกว่า 60 โมเดล ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่นโดยเฉพาะ และผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายทั่วโลก
โดยนิสสันพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด SHIFT_ โดยเป็นแนวคิดซึ่งใช้กับนิสสันทั่วโลก ทั้งออกแบบโดยเน้นการพัฒนารูปลักษณ์ เทคโนโลยี ความปลอดภัย รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย
[แก้]ผลิตภัณฑ์ของนิสสันได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทย โดยเฉพาะรถปิคอัพ โดยรถกระบะรุ่นที่เป็นตำนานอันได้แก่รุ่นบิ๊ก เอ็ม ซึ่งยังเป็นที่กล่าวขานจนถึงทุกวันนี้ถึงความทนทาน ส่วนปัจจุบันนี้มีรถกระบะนิสสัน นาวารา 3 รุ่นย่อย คือ LE, SE และ XE ต่อมาเปลี่ยนชื่อรุ่นย่อยเป็น S, SL, E, EL, V และ VL รวมถึงรถยนต์นั่ง นิสสัน ทีด้า ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จำหน่ายแทนที่นิสสัน ซันนี่ ที่จำหน่ายมาแล้วนับทศวรรษและ นิสสัน มาร์ช ซึ่งนำมาจำหน่ายและยกเลิกการจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530(รุ่นที่ 1) และได้นำมาจำหน่ายอีกครั้งในประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ในรุ่นที่ 4
รุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทย
[แก้]- รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.0 ลิตร เทอร์โบ นิสสัน อัลเมร่า (Nissan Almera)
- รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) พลังงานไฟฟ้า นิสสัน ลีฟ (Nissan Leaf)
- รถยนต์นั่งสมรรถนะสูงสปอร์ต 2 ประตู ขนาด 3.8 ลิตร นิสสัน จีที-อาร์ (Nissan GT-R) รหัสตัวถัง R35
- รถยนต์เอนกประสงค์ SUV ขนาด 1.2 ลิตร ระบบไฮบริด นิสสัน คิกส์ อี-เพาเวอร์ (Nissan Kicks e-Power)
- รถยนต์เอนกประสงค์ PPV ขนาด 2.3 ลิตร เทอร์โบคู่ นิสสัน เทอร์ร่า (Nissan Terra)
- รถกระบะขนาด 1 ตัน ขนาด 2.3 ลิตร เทอร์โบคู่, 2.3 ลิตร เทอร์โบเดี่ยว และ 2.5 ลิตร เทอร์โบเดี่ยว นิสสัน นาวารา (Nissan Navara) รหัสตัวถัง D23
- รถตู้เพื่อการพาณิชย์ ขนาด 2.5 ลิตร นิสสัน เออร์แวน (Nissan Urvan)
รุ่นรถยนต์ที่เลิกผลิต หรือเลิกนำเข้าไปแล้วในประเทศไทย
[แก้]- รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน โน้ต (Nissan Note)
- รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน มาร์ช (Nissan March) รหัสตัวถัง K13
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดเล็ก นิสสัน ซันนี่ (Nissan Sunny)
- (รุ่นพัฒนา) นิสสัน ซันนี่ นีโอ (Nissan Sunny Neo)
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดเล็ก นิสสัน ทีด้า ลาติโอ (Nissan Tiida Latio)
- รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร นิสสัน ซิลฟี่ (Nissan Sylphy)
- รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร นิสสัน พัลซาร์ (Nissan Pulsar)
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดกลาง นิสสัน เซฟิโร่ (Nissan Cefiro) รหัสตัวถัง A31 , A32 , A33
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดกลาง นิสสัน บลูเบิร์ด (Nissan Bluebird)
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูแบบหรูหราระดับต้น นิสสัน พรีเซีย (Nissan Presea) รหัสตัวถัง R10 , R11
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดใหญ่ นิสสัน เซดริค (Nissan Cedric)
- รถกระบะขนาดเล็ก นิสสัน เอ็นวี ปิคอัพ (Nissan NV Pickup)
- รถยนต์นั่งสเตชันแวกอนขนาดเล็ก นิสสัน เอ็นวี (Nissan NV)
- รถกระบะขนาด 1 ตัน ขนาด 2.5 ลิตร นิสสัน นาวารา (Nissan Navara) รหัสตัวถัง D40
- รถกระบะขนาด 1 ตัน นิสสัน ฟรอนเทียร์ (Nissan Frontier) รหัสตัวถัง D22
- รถกระบะขนาด 1 ตัน นิสสัน บิ๊กเอ็ม (Nissan Big-M) รหัสตัวถัง D21
- รถกระบะขนาด 1 ตัน นิสสัน โพรเฟสชินอล (Nissan Professional) รหัสตัวถัง 720
- รถยนต์ซีดาน 4 ประตูแบบหรูหราขนาดใหญ่ นิสสัน เพรชิเดนท์ (Nissan President)
- รถยนต์สปอร์ต 2 ประตูขนาดกลาง นิสสัน ชิลเวีย (Nissan Silvia) รหัสตัวถัง S13 , S14
- รถตู้เพื่อการพาณิชย์ ขนาด 2.5 ลิตร นิสสัน บิ๊ก เออร์แวน (Nissan Big Urvan)
- รถยนต์นั่งขนาดกลาง ขนาด 2.5 ลิตร และ 2.0 ลิตร นิสสัน เทียน่า (Nissan Teana) รหัสตัวถัง J31 , J32 ,L33
- รถยนต์ครอสโอเวอร์ 5 ประตู (Crossover) ขนาด 1.6 ลิตร นิสสัน จู๊ค (Nissan Juke)
- รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.6 ลิตร เทอร์โบ นิสสัน ซิลฟี่ (Nissan Sylphy)
- รถยนต์เอนกประสงค์ SUV ขนาด 2.0 ลิตร และ 2.5 ลิตร นิสสัน เอ็กซ์เทรล [http://www.nissan.co.th/vehicles/x-trail.aspx (Nissan X-
Trail)] เก็บถาวร 2014-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รถยนต์เอนกประสงค์ SUV ขนาด 2.0 ลิตร ไฮบริด นิสสัน เอ็กซ์เทรล ไฮบริด
การเรียกคืนรถ
[แก้]ปี 2012 นิสสันเรียกคืนรถยนต์แฮทช์แบ็ครุ่น "มาร์ช" หรือ "ไมครา" จำนวน 498,793 คันที่จำหน่ายในญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาไฟท้าย ซึ่งบางครั้งไม่ติด เป็นข้อบกพร่องผลิตในโรงงานออปปามะใกล้กรุงโตเกียว ที่ผลิตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2545-2552 เช่นเดียวกับโรงงานในเมืองซันเดอร์แลนด์ อังกฤษ ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2550 [15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Brief History of Nissan Motor Company". Brief History of Nissan Motor Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2017.
- ↑ 2.0 2.1 "History of Nissan Motors". National Science Museum of Japan. National Museum of Nature and Science, Tokyo. สืบค้นเมื่อ 6 April 2017.
- ↑ 3.0 3.1 "Masujiro Hashimoto". Japan Automobile Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2017.
- ↑ "Nissan Production, Sales and Export Results for December 2016 and Calendar Year 2016". Nissan. 30 January 2017. สืบค้นเมื่อ 4 March 2017.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "FY2014 Consolidated Financial Results" (PDF). Nissan. 13 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-18. สืบค้นเมื่อ 13 May 2015.
- ↑ "Outline of company". June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
- ↑ "Carlos Ghosn, Executive Who Revived Nissan, Will Step Aside". The New York Times. 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 13 March 2017.
- ↑ "World Motor Vehicle Production – OICA correspondents survey – World Ranking of Manufacturers – Year 2013" (PDF). OICA. 2014. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
- ↑ "Message from CEO". Nissan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "Who makes the most cars in North America? Who has the largest auto factory in the U.S.? Don't be embarrassed, few get it right - DailyKanban". 27 February 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLeaf3bi
- ↑ "Nissan delivers its 300,000th Leaf electric car". Electrek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 Jan 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ Frost, Laurence; Tajitsu, Naomi (17 January 2018). "Nissan's Infiniti vehicles to go electric". Reuters. US. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
- ↑ "NISSAN | CORPORATE INFORMATION | Outline of Company|Company Development, Heritage | First half of the history of Nissan". Nissan-global.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 25 November 2011.
- ↑ นิสสันเรียกคืนมาร์ชเกือบ5แสนคันในญี่ปุ่น.html[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นิสสัน ญี่ปุ่น
- เว็บไซต์บริษัทนิสสัน เก็บถาวร 2021-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์นิสสันประเทศไทย
- เพรสบริษัทนิสสัน
- ข่าวสารนิสสันอเมริกา เก็บถาวร 2008-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน