ทะเลชวา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ทะเลชวา | |
---|---|
แผนที่ทะเลชวา | |
ที่ตั้ง | ไหล่ทวีปซุนดา |
พิกัด | 5°S 110°E / 5°S 110°E |
ชนิด | ทะเล |
ประเทศในลุ่มน้ำ | อินโดนีเซีย |
ช่วงยาวที่สุด | 1,600 กิโลเมตร (990 ไมล์) |
ช่วงกว้างที่สุด | 380 กิโลเมตร (240 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 320,000 ตารางกิโลเมตร (120,000 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 46 เมตร (151 ฟุต) |
ทะเลชวา (อินโดนีเซีย: Laut Jawa) ตั้งอยู่ระหว่างเกาะชวากับเกาะบอร์เนียว (กาลีมันตัน) ในประเทศอินโดนีเซีย ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 310,000 ตารางกิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกับทะเลจีนใต้
การประมงเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งในทะเลชวา มีสัตว์น้ำในพื้นที่เหล่านี้มากกว่า 3,000 ชนิด มีอุทยานแห่งชาติจำนวนหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การีมุนจาวา และมีเกาะนับพันเกาะทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่จาการ์ตา พื้นที่รอบทะเลชวาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นแหล่งดำน้ำเพื่อชมและถ่ายภาพใต้น้ำ เช่น สัตว์ทะเล ฟองน้ำ ปะการัง ซากเรืออับปาง หรือถ้ำใต้น้ำ เป็นต้น
การรบในทะเลชวาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2485 นับเป็นยุทธนาวีที่สิ้นเปลืองมากที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่กองกำลังทางเรือของเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา แทบจะถูกทำลายย่อยยับในการรบเพื่อป้องกันชวาจากการโจมตีของญี่ปุ่น