ข้ามไปเนื้อหา

ทลิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บี.อาร์. อามเพฑกร ผู้ทำให้คำว่าทลิต กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาในการเรียกแทนกลุ่มคนผู้ถูกกดขี่ในสังคม

ทลิต (สันสกฤต: दलित, อักษรโรมัน: dälit) หรือนิยมทับศัพท์ว่า ดาลิต หรือ ดลิต แปลว่า "แตก/สลาย" ในภาษาสันสกฤต เป็นคำใช้เรียกคนในชนชั้นของอินเดียที่ถูกตีตราว่าไม่ควรไปจับต้อง (untouchable)[1] ชาวทลิตเป็นกลุ่มที่ถูกแยกออกจากวรรณะทั้งสี่ในศาสนาฮินดู และถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของอวรรณะ หรือวรรณะที่ห้าที่เรียกว่า ปัญจม (Panchama)

คำว่า dalits (ดาลิต) ถูกใช้ในการทับศัพท์ของบริติชราชในเอกสารสำมะโนเพื่อเรียกชนชั้นที่ถูกกดขี่ (Depressed Classes) จนถึงปี ค.ศ. 1935 คำว่าทลิตถูกทำมาใช้อย่างกว้างขวางอีกครั้งโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูป บี.อาร์. อามเพฑกร (ค.ศ. 1891–1956) ผู้ใช้คำเรียกรวมสำหรับผู้คนที่ถูกกดขี่ (depressed people) ทั้งปวงไม่ว่าจะวรรณะใดก็ตามให้เป็นชาวดาลิต[2]

คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อวรรณะกำหนด (National Commission for Scheduled Castes) ถือว่าการใช้คำว่า ทลิต ในแง่ของทางการนั้น "ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ" (unconstitutional) เพราะในแง่ของนิติบัญญัติร่วมสมัยจะใช้คำว่า วรรณะกำหนด (Scheduled Castes) แทน

เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งศาลของศาลสูงบอมเบย์ กระทรวงข้อมูลข่าวสารและการแพร่สัญญาณออกอากาศ (Information and Broadcasting Ministry; I&B Ministry) ของรัฐบาลอินเดีย เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 ได้ออกข้อแนะนำให้ช่องทางสื่อต่าง ๆ ใช้คำว่า "Scheduled Castes" (วรรณะกำหนด) แทนที่คำว่า "ทลิต"[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Subodh Ghildiyal; Swati Mathur (5 กันยายน 2018). "From Buddhist texts to East India Company to now, 'Dalit' has come a long way". The Times of India.
  2. "Independent labour party: 19th July (1937) in Dalit History – Dr. Ambedkar took oath as the member of Bombay Legislative Council". drambedkarbooks.com. Dr. Ambedkar Books. 9 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2018.
  3. Vidya (4 กันยายน 2018). "Stop using the term Dalit: I&B Ministry tells media". India Today.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Dalit