ข้ามไปเนื้อหา

ข้อตั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อตั้ง (อังกฤษ: premise) คือข้อความที่ถูกกล่าวอ้างในการให้เหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าข้อสรุปเป็นจริงหรือเท็จ[1]

คำอธิบาย

[แก้]

ในตรรกศาสตร์ การอ้างเหตุผล (argument) ต้องการเซตของประโยคบอกเล่า (อย่างน้อย) สองประโยค (หรือ "ประพจน์") เรียกว่า "ข้อตั้ง" พร้อม ๆ กับประโยคบอกเล่า (categorical proposition) อีกประโยค (หรือ "ประพจน์") เรียกว่าข้อสรุป โครงสร้างของข้อตั้งสองข้อและข้อสรุปหนึ่งข้อนี้คือโครงสร้างพื้นฐานของการอ้างเหตุผล การอ้างเหตุผลที่ซับซ้อนกว่านี้สามารถใช้ลำดับของกฏต่าง ๆ เพื่อเชื่อมต่อข้อตั้งหลายข้อเข้ากับข้อสรุปข้อเดียว หรือเพื่อหาข้อสรุปจำนวนหนึ่งจากข้อตั้งชุดเดิมที่จะทำตัวเป็นข้อตั้งของข้อสรุปชุดต่อมา ตัวอย่างเช่นการใช้กฏของการอนุมานที่มีอยู่ในตรรกศาสตร์เชิงสัญลักษณ์

แอริสตอเติลถือว่าการอ้างเหตุผลเชิงตรรกะใด ๆ สามารถลดรูปจนเหลือข้อตั้งสองข้อและข้อสรุปหนึ่งข้อได้[2] ข้อตั้งบางครั้งถูกละไว้ ในกรณีนั้นจะเรียกว่าข้อตั้งที่หายไป ตัวอย่างเช่น:

โสกราตีสเป็นมรรตัยเพราะมนุษย์ทุกคนเป็นมรรตัย

ชัดเจนว่าการกล่าวอ้างที่เข้าใจกันโดยปริยายคือการที่โสกราตีสเป็นมนุษย์ การให้เหตุผลฉบับเต็มจึงเป็น:

เพราะมนุษย์ทุกคนเป็นมรรตัยและโสกราตัสเป็นมนุษย์ โสกราตีสเป็นมรรตัย

ในตัวอย่างนี้ อนุประโยค (clause (logic)) อิสระที่อยู่ก่อนเว้นวรรค (คือ "มนุษย์ทุกคนเป็นมรรตัย" และ "โสกราตีสเป็นมนุษย์") เป็นข้อตั้ง ในขณะที่ "โสกราตีสเป็นมรรตัย" เป็นข้อสรุป

การพิสูจน์ข้อสรุปนี้ขึ้นอยู่กับทั้งความจริงของข้อตั้ง และความสมเหตุสมผล (validity (logic)) ของการให้เหตุผล นอกจากนั้น เราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของข้อตั้งเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าความหมายเต็มของข้อสรุปตรงกับข้อสรุปที่ได้มาหรือไม่[3]

ยุคลิดถือว่าสองในสามประพจน์ในตรรกบท (syllogism) คือข้อตั้ง และประพจน์ที่สามคือข้อสรุป[4] ประพจน์แบบจัดกลุ่มเหล่านี้ประกอบด้วยสามพจน์: ประธานและภาคแสดงของข้อสรุปและพจน์ที่อยู่ตรงกลาง ประธานของข้อสรุปจะเรียกว่าพจน์รองในขณะที่ภาคแสดงเป็นพจน์หลัก ข้อตั้งที่ประกอบด้วยพจน์กลางและพจน์หลักเรียกว่าข้อตั้งหลัก และข้อตั้งที่ประกอบด้วยพจน์กลางและพจน์รองเรียกว่าข้อตั้งรอง[5] ในกรณีของการอ้างเหตุผลก่อนหน้านี้ พจน์หลักคือโสกราตีส พจน์รองคือ(เป็น)มรรตัย และพจน์กลางคือ(เป็น-/-ทุกคน)มนุษย์

ข้อตั้งสามารถเป็นคำบ่งชี้ได้ถ้าข้อความเหล่านั้นถูกรวมเป็นการอ้างเหตุผลเชิงตรรกะ คำจำพวกนี้ทำหน้าที่บ่งชี้บทบาทของข้อความแต่ละข้อ[6] เช่นบ่งชี้ว่าข้อความที่มีคำนั้นอยู่เป็นข้อตั้ง[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Audi, Robert, บ.ก. (1999). The Cambridge Dictionary of Philosophy (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 43. ISBN 0-521-63136-X. Argument: a sequence of statements such that some of them (the premises) purport to give reasons to accept another of them, the conclusion
  2. Gullberg, Jan (1997). Mathematics : From the Birth of Numbers. New York: W. W. Norton & Company. p. 216. ISBN 0-393-04002-X.
  3. Byrne, Patrick Hugh (1997). Analysis and Science in Aristotle. New York: State University of New York Press. p. 43. ISBN 0791433218.
  4. Ryan, John (2018). Studies in Philosophy and the History of Philosophy, Volume 1. Washington, D.C.: CUA Press. p. 178. ISBN 9780813231129.
  5. Potts, Robert (1864). Euclid's Elements of Geometry, Book 1. London: Longman, Green, Longman, Roberts, & Green. p. 50.
  6. 6.0 6.1 Luckhardt, C. Grant; Bechtel, William (1994). How to Do Things with Logic. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers. p. 13. ISBN 0805800751.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]