กลีบดอก
กลีบดอก (อังกฤษ: petal) เป็นส่วนหนึ่งของดอก กลีบดอกเจริญมาจากใบที่เปลี่ยนรูป ล้อมรอบโครงสร้างสืบพันธุ์ของดอก กลีบดอกมักมีสีสันสดใส และรูปทรงสะดุดตาเพื่อดึงดูดพาหะถ่ายเรณู[1] เมื่อกลีบดอกอยู่รวมกันจะเรียกว่า วงกลีบดอก (corolla) กลีบดอกมักอยู่ร่วมกับกลีบเลี้ยง ซึ่งเป็นใบเปลี่ยนรูปอีกชุดที่ทำหน้าที่ปกป้องดอก เมื่อวงกลีบดอกและวงกลีบเลี้ยงอยู่ด้วยกันจะเรียกว่า วงกลีบรวม (perianth) บางครั้งมีการใช้คำกลีบรวม (tepal) เมื่อการแยกกลีบดอกและกลีบเลี้ยงเป็นไปได้ยาก โดยทั่วไปกลีบดอกเป็นส่วนที่เด่นชัดที่สุดของพืชดอก แต่พืชบางชนิด เช่น หญ้ามีกลีบดอกที่ลดรูปเล็กมากหรือไม่มีเลย[2]: 11
พืชแต่ละชนิดมีจำนวนกลีบดอกต่างกัน พืชใบเลี้ยงคู่แท้มีกลีบดอก 4–5 กลีบ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีกลีบดอก 3–6 กลีบ[3] วงกลีบดอกมีความสมมาตรได้ทั้งแบบด้านข้างและแบบรัศมี[4] กล่าวคือดอกสมมาตรด้านข้างสามารถแบ่งเป็นสองด้านที่มีลักษณะเหมือนกันได้ครั้งเดียว[5] ขณะที่ดอกสมมาตรแบบรัศมียังคงมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองด้าน แม้จะแบ่งหลายครั้ง[6]
พืชสร้างกลีบดอกที่มีสีสัน กลิ่น และน้ำหวานเพื่อดึงดูดพาหะถ่ายเรณู ทั้งยังพัฒนากลไก ขนาด และรูปทรงให้เหมาะสมกับการถ่ายเรณูแต่ละแบบ ดอกที่ใช้การถ่ายเรณูด้วยลมมีกลีบดอกเล็ก มีกลิ่นเล็กน้อยหรือไม่มีกลิ่น แต่มีละอองเรณูจำนวนมากเพื่อเพิ่มโอกาสในการถ่ายเรณู[7] ดอกที่ใช้การถ่ายเรณูด้วยแมลงมีสี–กลิ่นเฉพาะ และกลไกการสร้างรังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อนำทางแมลง[8] ดอกที่ใช้การถ่ายเรณูด้วยนกจะมีขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้นกมองเห็นในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และพัฒนาโครงสร้างให้ทนต่อนกจะงอยปากแข็ง[9] ส่วนดอกที่ใช้การถ่ายเรณูด้วยค้างคาวจะมีขนาดใหญ่ มีสีอ่อนถึงสีขาว มีกลิ่นแรง และบานตอนกลางคืน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โครงสร้างของดอกไม้ อวัยวะสำคัญในการสืบพันธุ์ของพืชดอก". NGThai.com. November 21, 2018. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.
- ↑ Cope, T.; Gray, A. (30 October 2009). Grasses of the British Isles. London, U.K.: Botanical Society of Britain and Ireland. ISBN 9780901158420.
- ↑ Soltis, Pamela S.; Douglas E. Soltis (2004). "The origin and diversification of angiosperms". American Journal of Botany. 91 (10): 1614–1626. doi:10.3732/ajb.91.10.1614. PMID 21652312. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-21. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ "คำศัพท์น่ารู้ - พฤกษศาสตร์สำหรับเยาวชน". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.
- ↑ "Zygomorphic - EarthWord". USGS.gov. May 9, 2016. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.
- ↑ "Symmetry - biology". Britannica. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.
- ↑ Donald R. Whitehead (1969). "Wind Pollination in the Angiosperms: Evolutionary and Environmental Considerations". Evolution. 23 (1): 28–35. doi:10.2307/2406479. JSTOR 2406479. PMID 28562955.
- ↑ "ไขความลับวิธีที่ดอกไม้ใช้ยั่วยวนล่อใจผึ้ง". Thairath. October 30, 2017. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.
- ↑ Grant, Verne (1950). "The Protection of the Ovules in Flowering Plants". Evolution. 4 (3): 179–201. doi:10.2307/2405331. JSTOR 2405331.
- ↑ "Bat Pollination". USDA Forest Service. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.