ข้ามไปเนื้อหา

กระแซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระแซ
ꯃꯩꯇꯩ/ꯃꯤꯇꯩ
หญิงชาวกระแซฮินดูในชุดเจ้าสาว
ประชากรทั้งหมด
1.8 ล้านคน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
รัฐมณีปุระ, รัฐอัสสัม, รัฐตริปุระ, รัฐนาคาแลนด์, รัฐเมฆาลัย
ภาษา
มณีปุรี, อังกฤษ
ศาสนา
ฮินดู (83.38%), สนมาหี (16%), อิสลาม (8%), คริสต์ (1.06%)[2][3][4]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ปันกัล, นาคา, มณีปุระพิษณุปุระ, อาหม, พม่า, ตริปุระ, ไทใหญ่, กะเหรี่ยง

กระแซ (อังกฤษ: Cassay; พม่า: ကသည်း) เรียกตนเองว่า ไมไต (Meitei, /ˈməɪtəɪ/)[5], มีเต (Meetei) หรือ มณิปุรี (Manipuri,[6][7] ฮินดี: मणिपुरी) เป็นชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย[8] และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของรัฐมณีปุระ[8] ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบตอนกลางของรัฐมณีปุระ และยังพบอีกว่ามีจำนวนไม่น้อยอาศัยดินแดนข้างเคียงเช่น รัฐอัสสัม,[9] รัฐเมฆาลัย[10] และรัฐตริปุระ ทั้งยังพบการตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น ๆ ใกล้เคียงคือประเทศบังกลาเทศ[11] และพม่า[12] เมื่อพม่าเรืองอำนาจ มักกวาดต้อนเชลยชาวกระแซมาฝึกหัดเป็นทหารม้า[13] และเป็นพราหมณ์ในราชสำนักพม่า[14] ปัจจุบันมีชาวกระแซอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศพม่า ได้แก่ รัฐกะชีน ภาคย่างกุ้ง ภาคซะไกง์ รัฐฉาน และภาคอิรวดี เป็นอาทิ[15]

ชาวกระแซเป็นที่รู้จักในไทยอยู่บ้าง ดังปรากฏคำอธิบายลักษณะของชาวกระแซใน จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 18 ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ระบุว่า "ชาวกระแซมีผิวคล้ำ นุ่งผ้าขาว มีการอาบยาตามร่างกาย ชำนาญในการล่ากวาง และอาศัยอยู่ในดินแดนที่ขึ้นต่อพุกาม (พม่า)" โดยเนื้อหาแต่งโดยพระสมบัติบาล ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[16] นอกจากนี้ประชาชนในตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเป็นชาวกระแซที่มีเชื้อสายมอญอพยพลงมาจากเมืองพิษณุโลก เข้าไปตั้งชุมชนเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา[17] หรือราว 400 ปีก่อน[18] และสันนิษฐานกันว่าชื่อตำบล "กระแส" มาจากคำว่า "กระแซ" ตามชื่อชาติพันธุ์ของตน[17]

ชาวกระแซใช้ภาษามณีปุระในการสื่อสาร ซึ่งภาษาดังกล่าวจัดอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต-พม่า และเป็นหนึ่งในยี่สิบสองภาษาราชการของประเทศอินเดียตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1992[19] เดิมใช้อักษรเมเตมาเยกในการเขียน[20] แต่ภายหลังถูกแทนที่ด้วยอักษรเบงกอลช่วงศตวรรษที่ 18[21] ปัจจุบันมีความพยายามในการฟื้นฟูการใช้อักษรเมเตมาเยกอีกครั้งอย่างช้า ๆ

แต่เดิมชาวกระแซนับถือศาสนาสนมาหี (Sanamahism) ซึ่งเป็นลัทธิบูชาสุริยเทพและผีบรรพชน[22] และพบร่องรอยว่าชาวกระแซเคยนับถือศาสนาพุทธมาก่อน[23] ปัจจุบันชาวกระแซส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูนิกายไวษณพ[24] ซึ่งเปลี่ยนไปนับถือเมื่อราว 300 ปีก่อนหน้านี้[25] แต่เป็นเพียงฮินดูพื้นเมืองหรือฮินดูแบบมณีปุระเท่านั้นเพราะรับอิทธิพลมาอย่างผิวเผิน โดยมีการนับถือปะปนกับลัทธิพื้นเมือง[24][26] นอกจากนี้ยังมีชาวกระแซบางส่วนเข้ารีตศาสนาอิสลามเมื่อศตวรรษที่ 17 ในยุคจักรวรรดิโมกุลเรืองอำนาจ[27] โดยจะถูกเรียกว่าปันกัล (Pangal)[28] หรือมียะฮ์เมเต (Miah Meitei)[29]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Meitei". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
  2. "Manipur violence: Who are Meiteis and Kukis? What are they fighting over". Economic Times. 9 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2023. สืบค้นเมื่อ 22 July 2023.
  3. "Meitei unspecified in India". Joshua Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
  4. "'Inclusion of Sanamahi religion in minority is being reviewed' : 27th aug11 ~ E-Pao! Headlines". www.e-pao.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2020.
  5. Laurie Bauer (2007). The Linguistics Student’s Handbook. Edinburgh University Press. ISBN 9780748627592.
  6. "At a Glance". Official website of Manipur (ภาษาอังกฤษ).
  7. Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2000, Census of India, 2001
  8. 8.0 8.1 Prabaskar, Arunima. "Shiv Sena plans to rename Nagaland to Naganchi". Geocities.ws.
  9. "Meitei Diaspora In Assam". E-pao.net. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  10. "Festivals Of Meghalaya..." เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2018.
  11. Project, Joshua. "Manipuri, Meitei in Bangladesh". Joshuaproject.net (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-23. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  12. Project, Joshua. "Manipuri, Ponna in Myanmar (Burma)". Joshuaproject.net (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  13. ศิริญากรณ์ โชคประเสริฐศรี, บ.ก. (2019) [2006]. มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. แปลโดย นายต่อ. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. p. 422. ISBN 9786165146258.
  14. Sanajaoba, Naorem (1988). Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization (ภาษาอังกฤษ). Mittal Publications. ISBN 978-81-7099-853-2.
  15. "Manipuri in Myanmar 1". e-pao.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2023. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
  16. "จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 18 (ภาพกระแซ)". จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 21 ธันวาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. 17.0 17.1 โอฬาร ถิ่นบางเตียว (2559). การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง ด้วยวิธีการประวัติศาสตร์บอกเล่า : กรณีศึกษาตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (PDF). วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 4:(2). p. 12-13.
  18. "วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กระแสบน". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  19. "Eight Schedule of the Constitution of India" (PDF). Mha.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  20. "History of Meetei Mayek". Tabish.freeshell.org. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  21. "Manipuri language and alphabets". Omniglot.com. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  22. Bertil Lintner (2015). Great Game East: India, China, and the Struggle for Asia's Most Volatile Frontier. Yale University Press. p. 113. ISBN 978-0-300-19567-5.
  23. Sanjoo Thangjam (15 มิถุนายน 2017). "Buddhism in Manipur". E-Pao. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
  24. 24.0 24.1 "Redefining Manipuri Hindu". Imphal Times. 24 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
  25. Aheibam Koireng Singh; Sanasam Amal Singh (2019). Hinduism in Manipur. Centre for Manipur Studies, Manipur University. New Delhi: Akansha Publishing House. ISBN 978-81-8370-557-8.
  26. Kulacandra (2012). Maitai lāinina, Hindū lāinīnagī cāṃdama-pādama [Comparative study of indigenous Meitei faith and Hinduism] (ภาษามณีปุระ). Imphal: Bi. Kulacandra Sarmma. OCLC 813301477.
  27. Syed Ahmed (5 มกราคม 2015). "Muslims in the history of Manipur". Imphal Times. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
  28. Farooque Ahmed (1 กรกฎาคม 2002). "Manipuri Muslims or Meitei-Pangal?". The Milli Gazette. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
  29. Dr. N. Debendra Singh, 2005, Identities of the Migrated People of Manipur, Canchipur: Centre for Manipuri Studies (Manipur University).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]