ข้ามไปเนื้อหา

Mycobacterium tuberculosis

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Mycobacterium tuberculosis
M. tuberculosis bacterial colonies
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Bacteria
ไฟลัม: Actinobacteria
ชั้น: Actinobacteria
อันดับ: Actinomycetales
อันดับย่อย: Corynebacterineae
วงศ์: Mycobacteriaceae
สกุล: Mycobacterium
สปีชีส์: M.  tuberculosis
ชื่อทวินาม
Mycobacterium tuberculosis
Zopf 1883
ชื่อพ้อง

Tubercle bacillus Koch 1882

Mycobacterium tuberculosis (ติดสีแดง) ในเนื้อเยื่อ(ติดสีน้ำเงิน)

Mycobacterium tuberculosis (MTB) เป็นแบคทีเรียก่อโรคในสกุล Mycobacterium และเป็นสาเหตุของวัณโรค[1] ค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2425 โดยโรแบร์ท ค็อค M. tuberculosis มีลักษณะพิเศษคือมีส่วนที่เป็นไขห่อหุ้มเซลล์ (มักจะเป็น mycolic acid) ทำให้ย้อมสีแบบแกรมไม่ติด ต้องใช้การย้อมแบบ acid-fast แทน M. tuberculosis เป็นเชื้อที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญสูงมาก เป็นเชื้อก่อโรคในทางเดินหายใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม MTB ติดเชื้อที่ปอด วิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยได้แก่ tuberculin skin test, การย้อมสี acid-fast และเอกซเรย์ปอด[1]

จีโนมของ M. tuberculosis ได้หาลำดับเบสแล้วเมื่อ พ.ศ. 2541[2][3]

M. tuberculosis มาจากสกุล Mycobacterium ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นที่รู้จักแล้วหลายร้อยสปีชีส์ ซึ่งที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือ M. tuberculosis และ M. leprae (leprosy)[4] M. tuberculosis มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างของฟีโนไทป์ระหว่างเชื้อที่คัดแยกได้ทางคลินิก สายพันธุ์ที่ต่างกันของM. tuberculosis เกี่ยวข้องกับความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ แต่ไม่มีผลต่อการวินิจฉัยและการผลิตวัคซีน โดยวิวัฒนาการในระดับเล็กน้อยจะส่งผลต่อความเหมาะสม และกลไกในการแพร่กระจายของสายพันธุ์ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ [5]

ประวัติ

[แก้]

M. tuberculosisถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2425 โดย Robert Koch ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์สำหรับการค้นพบนีใน พ.ศ. 2448 ซึ่งเรียกแบคทีเรียนี้ว่า "Koch's bacillus".[6]

การปรากฏของวัณโรคพบได้ทั่วไปในประวัติศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ใน พ.ศ. 2263 เริ่มมีการเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยวัณโรค ดังที่นายแพทย์ Benjamin Marten ได้อธิบายไว้ใน A Theory of Consumption ว่าวัณโรคอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ส่งผ่านระหว่างผู้ป่วยทางอากาศ [7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. ISBN 0-8385-8529-9.
  2. Cole ST, Brosch R, Parkhill J; และคณะ (June 1998). "Deciphering the biology of Mycobacterium tuberculosis from the complete genome sequence". Nature. 393 (6685): 537–44. doi:10.1038/31159. PMID 9634230.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Camus JC, Pryor MJ, Médigue C, Cole ST (October 2002). "Re-annotation of the genome sequence of Mycobacterium tuberculosis H37Rv". Microbiology (Reading, Engl.). 148 (Pt 10): 2967–73. PMID 12368430.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. (Page 576;Textbook of Diagnostic Microbiology, Mahon, Lehman, Manuselis)
  5. Gagneux S (2009). "Strain variation and evolution". ใน Parish T, Brown A (บ.ก.). Mycobacterium: Genomics and Molecular Biology. Caister Academic Press. ISBN 978-1-904455-40-0.
  6. "Robert Koch and Tuberculosis: Koch's Famous Lecture". Nobel Foundation. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  7. "Tuberculosis History Timeline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-21. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]