ไนกี้ (บริษัท)
ประเภท | มหาชน (NYSE: NKE) |
---|---|
ISIN | US6541061031 |
อุตสาหกรรม | เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, อุปกรณ์กีฬา |
ก่อตั้ง | 25 มกราคม ค.ศ. 1964 |
ผู้ก่อตั้ง | บิล บาวเวอร์แมน ฟิล ไนต์ |
สำนักงานใหญ่ | เทศมณฑลวอชิงตัน รัฐออริกอน สหรัฐ |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ฟิล ไนต์ (ประธานกิตติคุณ) มาร์ก พาร์เกอร์ (ประธาน, CEO) |
ผลิตภัณฑ์ | เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา อุปกรณ์กีฬา |
รายได้ | 30.601 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 4.175 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1] |
รายได้สุทธิ | 3.273 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1] |
สินทรัพย์ | 21.600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 12.707 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1] |
พนักงาน | 62,600 คน (2015)[1] |
เว็บไซต์ | www |
ไนกี้ (Nike) เป็นบริษัทผลิตเครื่องกีฬา อย่างรองเท้า อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีบริษัทแม่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย บิลล์ บาวเวอร์แมน และ ฟิล ไนต์
ประวัติ
[แก้]ในปี 1948 บิลล์ บาวเวอร์แมนซึ่งเป็นโค้ชให้กับมหาวิทยาลัยออริกอน มีผลงานอย่างในการแข่งขัน NCAA outdoor championships ในปี 1962, 1964, 1965 และ 1970 เขายังทำให้ทีมชาติอเมริกาสามารถพิชิตถึง 6 เหรียญทอง ในโอลิมปิก และฟิล ไนต์ได้รู้จักกับบาวเวอร์แมนในขณะที่เขาเป็นนักวิ่งให้กับมหาวิทยาลัยออริกอน ซึ่งทั้งคู่ต่างต้องการรองเท้าคุณภาพเยี่ยมที่มีความเบาและทนทานสำหรับการแข่งขัน จนในปี 1962 ไนต์ได้ทำการค้นคว้าข้อมูลและพบว่ารองเท้ากีฬาจากประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพดี และมีราคาถูกกว่าสินค้ากีฬาจากประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นผู้นำตลาดในอเมริกาอยู่ขณะนั้น และหลังจากที่ไนต์เรียนจบด้าน MBA จึงได้ออกเดินทางไปทั่วโลก และไปที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเขาได้มีโอกาสพบกับ Onitsuka Tiger Company โรงงานผลิตรองเท้ากีฬาของญี่ปุ่น และชักชวนให้ Tiger ขยายตลาดเข้ามาในอเมริกา
ไนต์ใช้ชื่อสินค้าว่า “Blue Ribbon Sports” หรือ BRS ซึ่งเป็นชื่อเดิมของไนกี้ และได้ก่อตั้งบริษัทร่วมกับบาวเวอร์แมนที่ชื่อ BRS Inc. ขึ้น โดย ไนต์ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทางด้านการเงินและการตลาด ส่วนบาวเวอร์แมน ดูแลทางด้านการพัฒนาออกแบบรองเท้ากีฬา
ต่อมาในปี 1970 บาวเวอร์แมนทดลองทำพื้นรองเท้ายางจากเครื่องอบขนมวาฟเฟิล (Waffle) ของภรรยาเขา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำหรับรองเท้ากีฬา ที่พื้นรองเท้าเป็นแบบที่เห็นในทุกวันนี้ ถัดมาในปี 1971 บาวเวอร์แมนจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ที่ชื่อว่า Nike Inc. ในปีถัดมา BRS Inc. และ Onitsuka Tiger ได้แยกบริษัทออกจากกันอันเนื่องจากความขัดแย้งกันทางธุรกิจ ในปีนี้เองได้ออกแบรนด์ไนกี้เพื่อเจาะกลุ่มนักกีฬากรีฑาในโอลิมปิก ต่อมาในปี 1981 BRS Inc. และ Nike Inc. ได้รวมบริษัทเข้าด้วยกัน
ในปี 1984 ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอลชื่อดังได้มาร่วมงานกับไนกี้ ซึ่งทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ชื่อแบรนด์เป็นชื่อ "Jordan" และในปี 1997 สินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของ “M.J.” แตกไลน์ออกไปโดยใช้ชื่อ "12-Star products" (ในปีนั้นไมเคิล จอร์แดนได้รับเป็นผู้เล่น All-Star Game ถึง 12 ครั้ง) และไนกี้ยังประสบความสำเร็จกับแคมเปญ โฆษณาชุด “Just Do It” อีกด้วย
ปัจจุบัน Nike Inc. มีพนักงาน 23,000 คนทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ 2 แห่ง คือที่เมืองโอเรกอน ประเทศอเมริกา และประเทศเนเธอร์แลนด์ กีฬาสำคัญที่ไนกี้ได้ให้การสนับสนุน คือ บาสเกตบอล เบสบอล อเมริกันฟุตบอล เทนนิส ฟุตบอล และอื่นๆ [2]
แคมเปญ โฆษณา
[แก้]ไนกี้เริ่มทำโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1982 สำหรับการออกอากาศในการถ่ายทอดการแข่งขันนิวยอร์กมาราธอน สร้างโดย บริษัท Wieden+Kennedy โดยคำขวัญที่ว่า Just do it ซึ่งได้รับการยกย่องจาก แอดเวอร์ไทซิ่ง เอจ ว่าเป็นหนึ่งในห้าสโลแกนแห่งศตวรรษที่ 20
การใช้นักกีฬาในการเป็น Brand Endorser ทางไนกี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1978 โดยเป็นสปอนเซอร์ให้กับนักเทนนิสชาวโรมาเนียชื่อ IIie Nastase ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ นักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน ไมเคิล จอร์แดน ซึงไนกี้เป็นสปอนเซอร์ตั้งแต่ปี 1984 และผลิตภัณฑ์สำหรับกีฬาบาสเกตบอลไลน์จอร์แดน ยังทำรายได้ให้ไนกี้มหาศาล
สำหรับแคมเปญการตลาดต่าง ๆ ของ ไนกี้ ได้รับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สมิทโซเนียน[3]
ปัจจุบัน ไนกี้ ได้เข้าสู่ตลาดกอล์ฟ โดยใช้ Tiger Woods เป็น Brand Ambassadors.
สปอนเซอร์ว่าจ้าง
[แก้]ทีมฟุตบอล
[แก้]
|
|
นักกีฬา
[แก้]- ไทเกอร์ วูดส์
- รอรีย์ แม็คอิลรอย
- มิเชล วี
- แมนนี่ ปาเกียว
- รอย โจนส์ จูเนียร์
- ทิโมธี แบรดลีย์
- ไมเคิล จอร์แดน
- ซลาตัน อีบราฮีมอวิช
- เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง[13]
- ราฟาเอล นาดาล[14]
- มาเรีย ชาราโปวา[15]
- คริสเตียโน โรนัลโด
- เวย์น รูนีย์[16]
- แดเนียล สเตอร์ริดจ์[17]
- อันเดรส อีเนียสตา[18]
- อดุล หละโสะ[18]
- ธีรศิลป์ แดงดา[19]
- ชินสึเกะ ยะมะนะกะ
- ทะกะชิ อุชิยะมะ[20]
- สเตฟาน เอล ชาราวี
- ทีโอ วอลคอตต์
- เอแดน อาซาร์
- มารีโอ เกิทเซอ
- ราฮีม สเตอร์ลิง
- คริสเตียน เอริกเซน[21][22]
อดีตนักฟุตบอลเด่น
[แก้]- เอร์นัน เกรสโป
- โรนัลโด
- รอนัลดีนโย
- โรแบร์ตู การ์ลุส
- โรมารีอู
- เนย์มาร์[23]
- ดีดีเย ดรอกบา
- พอล สโกลส์
- เอียน ไรต์
- ริโอ เฟอร์ดินานด์
- การ์เลส ปูยอล
- เอริก ก็องโตนา
- ตีแยรี อ็องรี
- โกลด มาเกเลเล
- Lilian Thuram
- ปาทริก วีเยรา
- มีโรสลัฟ โคลเซอ
- ฟาบีโอ กันนาวาโร
- เจนนาโร กัตตูโซ
- เปาโล มัลดีนี
- อันเดรอา ปีร์โล
- ฟรันเชสโก ตอตตี
- ฮิเดโตชิ นากาตะ
- พัก จี-ซ็อง
- เอ็ดการ์ ดาวิดส์
- รืด ฟัน นิสเติลโรย
- ลูอิช ฟีกู
- คลินต์ เดมป์ซีย์
- แลนดอน โดโนแวน
- เอียน รัช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "2015 annual results". Nike Inc and subsidiaries.
- ↑ Nike positioningmag.com
- ↑ "Nike สุดยอดแบรนด์ในใจนักศึกษา อันดับ 4 (Marketeer/04/51)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-14. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
- ↑ "คอนเฟิร์ม "ไนกี้" เลิกสัญญาทีมชาติไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 29 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-04. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "ใส่ก่อนเท่ก่อน!! รวมเสื้อแข่ง "เวิลด์ คัพ 2014"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-07. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
- ↑ "Ukraine Euro 2016 Kits Released". footyheadlines. 15 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ "Poland Euro 2016 Kit Released". footyheadlines. 17 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ "Nike football unveils national home kits", Nike.com, 16 April 2012
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อC]k,
- ↑ "ว้าว! แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด บอกลาไนกี้ เซ็น10ปีทุบสถิติโลกกับ อาดิดาส". สนุกดอตคอม. 10 July 2014. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
- ↑ ""ทอฟฟี" คลอดเสื้อใหม่กลับไปใช้ "อัมโบร"". ผู้จัดการออนไลน์. 26 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-28. สืบค้นเมื่อ 26 June 2014.
- ↑ "ไนกี้จัดให้! หลุดชุดแข่งไก่เดือยทอง ฤดูกาล 2017-18". ไทยรัฐ. 2016-12-10. สืบค้นเมื่อ 2017-01-08.
- ↑ ""ไนกี้" จับ "ซลาตัน" ลุยโฆษณา "ไฟ-น้ำแข็ง-สายฟ้า"". ผู้จัดการออนไลน์. 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""ไนกี" ปั้นหุ่นดิน "นาดาล" ฉลองเฟรนช์ฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ไนกีคลอดชุด "มาเรีย" ส้มจี๊ดลุยเฟรนช์ฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 April 2014. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แอด "ไนกี้" สุดฮา!! "รูน" ยิงระเบิดรถบัส". ผู้จัดการออนไลน์. 13 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 May 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Top Premier League strikers of to flying start in the Hypervenom". Nike.com. Retrieved 8 September 2014
- ↑ 18.0 18.1 "ไนกี้เปิดตัว "มาจิสต้า" ให้ฉายา "พ่อมดบนพื้นสนาม"". ผู้จัดการออนไลน์. 21 May 2014. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""มุ้ย" อัปสปีด! เปิดตัว "ไนกี้ SPARK BRILLIANCE" สตั๊ดใหม่คู่ละหมื่น (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 7 June 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Takashi-uchiyama". ไนกี้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
- ↑ "Stephan El Shaarawy Wears the Nike GS2". Football Boots. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-16. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.
- ↑ "Nike GS2 Football Boots". FootballBoots.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-15. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.
- ↑ "ฟีฟาสอบ "เนย์มาร์" จงใจทำกางเกงในแลบ?". ผู้จัดการออนไลน์. 26 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-28. สืบค้นเมื่อ 26 June 2014.