ข้ามไปเนื้อหา

แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9
ดีซี-9-41 ของนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ในปี 2007
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ
ชาติกำเนิดสหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตดักลาสแอร์คราฟท์คอมปะนี
(ค.ศ. 1965–สิงหาคม ค.ศ. 1967)
แมคดอนเนลล์ดักลาส
(สิงหาคม ค.ศ. 1967–ค.ศ. 1982)
สถานะในประจำการอย่างจำกัด
ผู้ใช้งานหลัก
จำนวนที่ผลิต976 ลำ
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 1965–1982
เริ่มใช้งาน8 ธันวาคม ค.ศ. 1965 กับเดลตาแอร์ไลน์
เที่ยวบินแรก25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965
สายการผลิตแมคดอนเนลล์ดักลาส ซี-9
พัฒนาเป็น

แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9 (อังกฤษ: McDonnell Douglas DC-9) เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ ที่ออกแบบโดยดักลาสแอร์คราฟท์คอมปะนี เดิมผลิตและดำเนินการในชื่อ ดักลาส ดีซี-9 ก่อนที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1967 ที่ดักลาสได้ผนวกกิจการเข้ากับแมคดอนเนลล์แอร์คราฟท์เพื่อก่อตั้งแมคดอนเนลล์ดักลาส ภายหลังการเปิดตัวอากาศยานดีซี-8 ในปี 1959 ดักลาสสนใจที่จะผลิตอากาศยานที่เหมาะกับเส้นทางระยะสั้น โดยได้เริ่มมีการศึกษาการออกแบบในช่วงต้นปี 1958 และได้รับการอนุมัติโครงการพัฒนาอากาศยานไอพ่นขนาดเล็กรุ่นใหม่ภายใต้ชื่อ ดีซี-9 เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1963 ดีซ๊-9-10 รุ่นแรกทำการบินครั้งแรกในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 และได้รับการรับรองในวันที่ 23 พฤศจิกายน และเริ่มเข้าประจำการกับเดลตาแอร์ไลน์ในวันที่ 8 ธันวาคม

ดีซี-9 ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแบบบายพาสต่ำแพรตต์แอนด์วิตนีย์ เจที8ดีจำนวนสองเครื่องที่ติดตั้งไว้บริเวณท้ายลำใต้แพนหางในรูปแบบ ที-เทล เพื่อให้มีอากาศพลศาสตร์ของปีกที่ดีขึ้น อากาศยานมีห้องนักบินสำหรับสองคนและบันไดอากาศในตัวเพื่อให้เหมาะกับการดำเนินงานในท่าอากาศยานขนาดเล็ก อากาศยานซีรีส์ 10 มีความยาว 104 ฟุต (32 ม.) สำหรับที่นั่งชั้นประหยัดโดยทั่วไป 90 ที่นั่ง อากาศยานซีรีส์ 30 ซึ่งยาวขึ้น 15 ฟุต (4.5 ม.) สำหรับที่นั่งชั้นประหยัด 115 ที่นั่ง มีปีกที่ใหญ่กว่าและเครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่าสำหรับน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่สูงขึ้น อากาศยานทำการบินครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 1966 และเริ่มให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 อากาศยานซีรีส์ 20 มีลำตัวเครื่องบินซีรีส์ 10 แต่ใช้เครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่า และปีกที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ของซีรีส์ 30 อากาศยานนี้บินครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1968 และเริ่มให้บริการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 อากาศยานซีรีส์ 40 ได้รับการต่อความยาวอีก 6 ฟุต (2 ม.) สำหรับความจุผู้โดยสาร 125 คน และเครื่องบินซีรีส์ ดีซี-9-50 รุ่นสุดท้ายที่ทำการบินครั้งแรกในปี 1974 จะต่อความยาวอีก 8 ฟุต (2.5 ม.) สำหรับผู้โดยสาร 135 คน เมื่อการส่งมอบสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1982 ได้มีการผลิตอากาศยานตระกูลดีซี-9 จำนวน 976 ลำ โดยดีซี-9 จะแข่งขันโดยตรงกับ บีเอซี 1-11 ฟอกเกอร์ เอฟ-28 ซูว์ดาวียาซียงการาแวล และโบอิง 737 ออริจินัล

ผู้ให้บริการ

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 มีอากาศยานตระกูลแมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9ให้บริการเชิงพาณิชย์ทั้งหมด 29 ลำกับผู้ให้บริการ 7 ราย[1] โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดสามราย ได้แก่ อาเอโรนาเบสเตเอเซเม (19), อเมริสตาร์ (4), และแอฟริกันเอกซ์เพรสแอร์เวย์ (2)

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 อากาศยานตระกูลแมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9 ได้ประสบอุบัติเหตุทางการบิน 276 ครั้ง รวมเหตุที่ตัวเครื่องไม่สามารถกลับมาให้บริการหรือซ่อมแซมได้ 156 ครั้ง และมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมด 3,697 คนในทุกรุ่น[2][3]

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
แบบลักษณะของอากาศยานตระกูลดีซี-9
ข้อมูลจำเพาะของแมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9[4][5]
รุ่น -15 -21 -32 -41 -51
นักบิน[6]: 66  สองคน
ความจุผู้โดยสารในหนึ่งชั้นโดยสาร: 15–18  90Y@31-32" 115Y@31-33" 125@31-34" 135@32-33"
ความจุผู้โดยสารสูงสุด[6]: 80  109 127 128 139
ความจุสินค้า: 4  600 ฟุต³ / 17.0m³[a] 895 ฟุต³ / 25.3 ม.³[b] 1,019 ฟุต³ / 28.9 ม.³ 1,174 ฟุต³ / 33.2 ม.³
ความยาว: 5–9  104 ฟุต 4.8 นิ้ว / 31.82 ม. 119 ฟุต 3.6 นิ้ว / 36.36 ม. 125 ฟุต 7.2 นิ้ว / 38.28 ม. 133 ฟุต 7 นิ้ว / 40.72 ม.
ความยาวปีก: 10–14  89 ฟุต 4.8 นิ้ว / 27.25 ม. 93 ฟุต 3.6 นิ้ว / 28.44 ม. 93 ฟุต 4.2 นิ้ว / 28.45 ม.
ความสูง: 10–14  27 ฟุต 7 นิ้ว / 8.4 ม. 27 ฟุต 9 นิ้ว / 8.5 ม. 28 ฟุต 5 นิ้ว / 8.7 ม. 28 ฟุต 9 นิ้ว / 8.8 ม.
ความกว้าง ลำตัวเครื่อง: 131.6 นิ้ว / 334.3 ซม.: 23  ภายในห้องโดยสาร:122.4 นิ้ว / 311 ซม.: 24 
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 4  90,700 ปอนด์ / 41,141 กก. 98,000 ปอนด์ / 45,359 kgกก. 108,000 ปอนด์ / 48,988 กก. 114,000 ปอนด์ / 51,710 กก. 121,000 ปอนด์ / 54,885 กก.
น้ำหนักเครื่องเปล่า: 4  49,162 ปอนด์ / 22,300 กก.[a] 52,644 ปอนด์ / 23,879 กก. 56,855 ปอนด์ / 25,789 กก.[b] 61,335 ปอนด์ / 27,821 กก. 64,675 ปอนด์ / 29,336 กก.
ความจุเชื้อเพลิง: 4  24,743 ปอนด์ / 11,223 กก. 24,649 ปอนด์ / 11,181 กก.
เครื่องยนต์ (2×)[6] เจที8ดี-1/5/7/9/11/15/17 เจที8ดี-9/11 เจที8ดี-1/5/7/9/11/15/17 เจที8ดี-9/11/15/17 เจที8ดี-15/17
แรงผลักดัน (2×)[6] -1/7: 14,000 pound-force (62 กิโลนิวตัน), -5/-9: 12,250 pound-force (54.5 กิโลนิวตัน), -11: 15,000 pound-force (67 กิโลนิวตัน), -15: 15,500 pound-force (69 กิโลนิวตัน), -17: 16,000 pound-force (71 กิโลนิวตัน)
เพดานบิน[6]: 67  35,000 ฟุต (11,000 เมตร)
ความเร็วขณะบิน[6] มัค 0.84 (556 นอต; 1,029 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 639 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยการบิน: 36–45  1,300 ไมล์ทะเล (2,400 กิโลเมตร; 1,500 ไมล์) 1,500 ไมล์ทะเล (2,800 กิโลเมตร; 1,700 ไมล์) 1,500 ไมล์ทะเล (2,800 กิโลเมตร; 1,700 ไมล์) 1,200 ไมล์ทะเล (2,200 กิโลเมตร; 1,400 ไมล์) 1,300 ไมล์ทะเล (2,400 กิโลเมตร; 1,500 ไมล์)
  1. 1.0 1.1 -15เอฟ: 2,762 ฟุต³ / 78.2ม.³, เครื่องเปล่า: 53,200 ปอนด์ / 24,131 กก.
  2. 2.0 2.1 -33เอฟ: 4,195 ฟุต³ / 119.0 ม.³, เครื่องเปล่า: 56,430 ปอนด์ / 25,596 กก.

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งอ้างอิง

[แก้]
  1. "McDonnell Douglas DC-9 Operators". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 13 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Accident summary hull-losses Douglas DC-9, Aviation Safety Network. Retrieved 19 July 2022.
  3. fatality statistics Douglas DC-9. Aviation Safety Network. Retrieved 19 July 2022.
  4. "DC-9 airplane characteristics for airport planning" (PDF). Douglas aircraft company. June 1984.
  5. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "Type Certificate Data Sheet no. A6WE" (PDF). Federal Aviation Administration. March 25, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 28, 2016. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]