ข้ามไปเนื้อหา

เว็บแบนเนอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เว็บแบนเนอร์ (อังกฤษ: web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ)[1] ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์

ตัวอย่างเว็บแบนเนอร์ทั่วไป ขนาด 468×60 พิกเซล

เว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า impression และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า click through ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server)

เมื่อผู้โฆษณาตรวจดูบันทึกการดาวน์โหลด และทราบว่าผู้เข้าชมนั้นได้เข้าเยี่ยมชมเว็บของผู้โฆษณาโดยการคลิกแบนเนอร์ ผู้โฆษณาจะส่งค่าตอบแทนในอัตราเล็กน้อยให้กับผู้ที่รับฝากโฆษณา ผู้ให้บริการเนื้อหาสามารถนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าตอบแทนนี้ไปจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อหนึ่ง

เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็บแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ใด เว็บแบนเนอร์นั้นอาจจะให้ผลของการโฆษณาเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความสนใจของผู้เยี่ยมชม

แต่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายคนก็กลับมองว่าแบนเนอร์โฆษณาเหล่านี้เป็นที่รบกวนอย่างมาก เพราะว่าเว็บแบนเนอร์จะแย่งจุดสนใจออกไปจากเนื้อหาจริง ๆ ที่อยู่ในหน้าเว็บนั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของแบนเนอร์ตั้งใจที่จะดึงดูดความสนใจอยู่แล้วจึงอาจทำให้รบกวนการเล่น หรือด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์[2] โดยเฉพาะกับแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักจะมีฟังก์ชันให้ปิดหน้าต่างป๊อปอัปหรือบล็อกรูปภาพจากเว็บไซต์ที่โฆษณา หรืออีกทางหนึ่งคือเรียกใช้งานผ่านพร็อกซีที่สามารถบล็อกโฆษณาได้ เช่น ไพรว็อกซี (Provoxy)

ขนาดมาตรฐาน

[แก้]
IAB standard ad sizes. This illustration has been reduced in size. See actual sizes.

เว็บแบนเนอร์มีขนาดมาตรฐานหลายขนาด เพื่อให้ใช้กับการจัดวางบนหน้าเว็บที่แตกต่างกัน ขนาดมาตรฐานมีดังต่อไปนี้ (ในหน่วยพิกเซล กว้าง×สูง) [3]

Sizes in bold are part of the IAB's Universal Ad Package.
Name Width / px Height / px Aspect ratio
Rectangles and Pop-Ups
Medium Rectangle 300 250 1.2
Square Pop-Up 250 250 1
Vertical Rectangle 240 400 0.6
Large Rectangle 336 280 1.2
Rectangle 180 150 1.2
3:1 Rectangle 300 100 3
Pop-Under 720 300 2.4
Banners and Buttons
Full banner 468 60 7.8
Half banner 234 60 3.9
Micro bar 88 31 2.84
Button 1 120 90 1.33
Button 2 120 60 2
Vertical banner 120 240 0.5
Square button 125 125 1
Leaderboard 728 90 8.09
Skyscrapers
Wide skyscraper 160 600 3.75
Skyscraper 120 600 5
Half page ad 300 600 2

อ้างอิง

[แก้]
  1. Briggs, Rex; Hollis, Nigel, Advertising on the Web: Is there Response Before Clickthrough? Journal of Advertising Research, March–April 1997, pg 33-45
  2. "IAB New Ad Portfolio". IAB. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Ad Unit Guidelines". Interactive Advertising Bureau.