เนสซี
"ภาพถ่ายของศัลยแพทย์" ใน ค.ศ. 1934 ปัจจุบัน เป็นแค่เรื่องหลอกลวง[1] | |
สัตว์คล้ายคลึง | แชมป์, โอโกโปโก, โมแกเล-อึมแบมเบ, Altamaha-ha |
---|---|
บันทึกครั้งแรก | ค.ศ. 565 (ย้อนหลัง)[a] 1802 (chronologically)[3] ค.ศ. 1933 (โด่งดัง) |
ชื่ออื่น | เนสซี, Niseag |
ประเทศ | สกอตแลนด์ |
ภูมิภาค | ล็อกเนสส์, Scottish Highlands |
เนสซี หรือ สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ (อังกฤษ: Nessie, Loch Ness Monster) คือสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าอาศัยอยู่ในทะเลสาบเนสส์ (ล็อกเนสส์) ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]โดยชื่อ "เนสซี" (เกลิก: Niseag) เป็นชื่อเรียกเล่น ๆ ของสิ่งมีชีวิตลึกลับนี้ โดยเป็นชื่อที่ดัดแปลงมาจากคำว่าล็อกเนสส์ ในช่วงทศวรรษที่ 1940 สมาสกับชื่อที่เป็นที่นิยมของหญิงสาวในท้องถิ่น คือ "แอ็กเนส" (Agnes) ในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1932 ข่าวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายงานเรื่องการแต่งงานของ น.ส. เนสซี คลาร์ก[4] [5]
ลักษณะ
[แก้]เชื่อว่าเนสซีมีรูปร่างคล้ายเพลสิโอซอรัส หรือ อีลาสโมซอรัส สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในทะเลยุคเดียวกับไดโนเสาร์ มีผู้อ้างว่าเคยพบเห็นถึงปัจจุบันกว่านับไม่ถ้วน และมีรูปถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพยนตร์มากมาย [6]โดยหลักฐานแรกสุดที่มีบันทึกถึงเนสซี คือ บันทึกของอดัมแนน ระบุว่า ในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 565 นักบุญโคลัมบา ขณะเดินทางมาสู่ที่ราบสูงสกอตแลนด์เพื่อดึงพวกนอกรีตเข้าสู่ศาสนา ท่านได้ทำพิธีไล่ปีศาจแม่น้ำที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเนสส์ที่เรียกว่า "พิกติส" ซึ่งได้ฆ่าคนไปแล้วหนึ่งคน โดยการส่งตัวแทนลงไปว่ายในน้ำเพื่อล่อปีศาจ แต่ทว่าไม่ได้มีการบรรยายถึงลักษณะของปีศาจตนนี้ มีแต่เพียงบันทึกไว้ว่าน้ำปั่นป่วนเท่านั้นเอง ขณะที่ความเชื่อเรื่องปีศาจหรือสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ในน้ำ ของซีกโลกทางเหนือแบบนี้ก็มีในพื้นที่อื่น เช่น สแกนดิเนเวีย หรือไวกิ้ง[7]
การพบเห็นและการพิสูจน์
[แก้]ใน ค.ศ. 1933 มีการตัดถนนผ่านทะเลสาบเนสส์ จึงมีผู้พบเห็นเนสซีมากขึ้น คู่สามีภรรยาตระกูลแมคเคย์ขณะขับรถผ่านทะเลสาบ คุณนายแมคเคย์ก็เห็นอะไรบางอย่างขนาดใหญ่ในน้ำ จึงบอกให้สามีหยุดรถ และทั้งคู่ก็ลงไปดู แต่ก็ปรากฏว่าสิ่งนั้นหายไปแล้ว เรื่องราวนี้ได้ปรากฏลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเริ่มใช้คำว่า "สัตว์ประหลาด" ขึ้นมาครั้งแรก[7] ในปีเดียวกัน อาเทอร์ แกรนด์ อ้างว่าขณะที่ตนขับขี่มอเตอร์ไซค์นั้น เห็นเนสซีขึ้นมาบนบก ไฟจากหน้ารถที่ส่องไปถูกตัวทำให้เห็นว่าเนสซีมีรูปร่างคล้ายเพลซิโอซอรัส ต่อมาก็ได้มีผู้ถ่ายรูปไว้ได้มากมายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงเงาตะคุ่ม ๆ หรือคลื่นน้ำที่เคลื่อนไหวบนผิวน้ำเท่านั้น ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1987 ทางมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยใช้เรือติดสัญญาณโซนาร์หลายลำแล่นไปบนพื้นผิวน้ำ เรียกว่า "ปฏิบัติการดีปสแกน" (Operation Deepscan) ปรากฏว่า โซนาร์ได้สะท้อนถึงเงาของวัตถุบางอย่างขนาดใหญ่ที่กำลังเคลื่อนตัวใต้น้ำ แต่บางคนคิดว่าอาจเป็นเพียงฝูงปลาธรรมดา ๆ [6]
เรื่องราวเกี่ยวกับเนสซีมีทั้งผู้ที่เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อ โดยผู้ที่เชื่อนั้นเชื่อว่า เนสซีอาจเป็นไดโนเสาร์ที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ของทะเลสาบเนสส์ในยุคโบราณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน ไดโนเสาร์ในสมัยนั้นอาจเข้ามาอยู่อาศัยจนสภาพของพื้นที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ปิดและปราศจากสิ่งรบกวน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในนี้จึงยังหลงเหลืออยู่และมีสภาพไม่เปลี่ยนแปลงจากครั้งแรกที่เข้ามาอาศัย ไม่เพียงเท่านั้น แหล่งน้ำหรือทะเลสาบที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับทะเลสาบเนสส์ และบริเวณใกล้เคียงกันก็มีรายงานของสิ่งประหลาดที่คล้ายกับเนสซีด้วย ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เชื่อนั้นเชื่อว่า รูปถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหวที่ได้นั้น อาจไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับเนสซีเลย และทั้งหมดทำขึ้นก็เพื่อสร้างชื่อเสียงให้ทะเลสาบแห่งนี้โด่งดังขึ้น โดยบางรูปเชื่อว่าเป็นเพียงหางของตัวนากที่กำลังดำน้ำหรือเป็นขอนไม้หรือวัสดุต่าง ๆ ที่กำลังลอยน้ำอยู่
มีครั้งหนึ่งที่เคยพบซากสัตว์คล้ายเนสซีในทะเล แต่หลังจากพิสูจน์ดีเอ็นเอแล้วกลับพบว่าเป็นซากฉลามเน่าเท่านั้น
ทุกวันนี้ เรื่องราวของเนสซีก็ยังเป็นเรื่องลึกลับที่เป็นที่สนใจของคนทั้งโลก มีผู้ไปสำรวจและศึกษามากมาย แต่ก็ยังไม่เคยมีผู้ใดได้หลักฐานของเนสซีที่หนักแน่นสักราย อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของเนสซีก็สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลสกอตแลนด์และชุมนุมใกล้เคียงเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก[6]
ปัจจุบัน
[แก้]ปัจจุบันทางบริษัทวิลเลียมฮิลล์ บริษัทพนันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้ประกาศออกมาว่าจะให้เงินรางวัลจำนวน 1 ล้านปอนด์หรือประมาณ 70 ล้านบาทแก่ผู้ที่สามารถหาหลักฐานได้ว่าเนสซีมีอยู่จริง ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 กอร์ดอน โฮลมส์ เจ้าหน้าที่เทคนิคห้องแล็บได้อ้างว่า สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นเนสซีได้ด้วยความยาวถึง 2 นาทีครึ่งขณะนั่งชมทิวทัศน์อยู่ริมทะเลสาบเนสส์ ซึ่งภาพของโฮลมส์ครั้งนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นของเนสซีที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เอเดียน ไชน์ นักชีววิทยาสัตว์น้ำ ได้ตรวจสอบภาพของโฮล์มสแล้วมีความเห็นว่า เป็นการยากที่จะเป็นการตกแต่งหรือทำปลอมขึ้น เพราะภาพไม่ได้จับเฉพาะแต่สัตว์ประหลาด แต่ยังถ่ายไปถึงภูเขารอบทะเลสาบด้วย จึงสามารถเปรียบเทียบความเร็วและขนาดของสิ่งที่เคลื่อนไหวในน้ำได้ด้วย โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีความยาวประมาณ 15 เมตร เคลื่อนที่ด้วยการว่ายน้ำด้วยความเร็วถึง 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และภาพบางส่วนยังจับให้เห็นสิ่งที่คล้ายครีบด้วย ซึ่งวิดีโอภาพชุดนี้เป็นที่ฮือฮาและกล่าวขานอย่างมากในสหราชอาณาจักร เมื่อได้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะโดยสำนักข่าวบีบีซีในอีก 3 วันถัดมา มีผู้คนมากมายที่ทั้งเชื่อและไม่เชื่อ และต่อมาไม่นานได้มีการเปิดเผยว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรเพิ่งจะเปิดเผยข้อมูลลับว่า ทางรัฐบาลเชื่อว่า เนสซีมีอยู่จริง ตั้งแต่สมัย นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ เป็นนายกรัฐมนตรี และอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์ป่าของอังกฤษที่ครอบคลุมทั้งสัตว์ที่รู้จักและไม่รู้จักหลายชนิด[8]
ใน ค.ศ. 2009 มีข่าวปรากฏว่า ดาวเทียมกูเกิลเอิร์ธสามารถจับภาพของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นเนสซีได้ที่ทะเลสาบเนสส์ที่พิกัดละติจูดที่ 57 องศา 12.52 ลิปดา 13 พิลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 4 องศา 34.14 ลิปดา 16 พิลิปดาตะวันตก[9] 57°12′52.13″N 4°34′14.16″W / 57.2144806°N 4.5706000°W แต่ปรากฏว่าเป็นเพียงเรือที่กำลังแล่นอยู่[10]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 มีรายงานว่าหญิงสาวชาวอังกฤษวัย 24 ปี สามารถถ่ายรูปของเนสซีขณะลอยคอเหนือผิวน้ำไว้ได้ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ทะเลสาบวินเดอร์เมียร์ ทางตอนเหนือของอังกฤษ ที่อยู่ห่างจากทะเลสาบเนสส์ 241 กิโลเมตร โดยเจ้าตัวในตอนแรกคิดว่าเป็นหงส์หรือห่านด้วยซ้ำ[11]
ในต้น ค.ศ. 2016 มีชาวประมงท้องถิ่นอ้างว่าสามารถใช้อุปกรณ์โซนาร์ตรวจจับสภาพของทะเลสาบเนสส์พบว่ามีร่องลึกยาวประมาณ 9 ไมล์ ในระดับความลึก 813–900 ฟุต ซึ่งทำให้พบว่าทะเลสาบเนสส์เป็นทะเลสาบที่มีความลึกเป็นอันดับ 2 ของสหราชอาณาจักรรองจากทะเลสาบโมราร์ที่ลึกถึง 1,017 ฟุต และอาจเป็นแหล่งซ่อนตัวของเนสซี[12] แต่ในกลางปีเดียวกัน มีการศึกษาโดยการใช้โดรนถ่ายใต้น้ำ ซึ่งสามารถถ่ายภาพใต้น้ำได้ในระดับความลึกกว่าทะเลสาบเนสส์มาก โดย ดิก เรย์นอร์ นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้ และพบว่าไม่มีอะไรรวมถึงไม่มีร่องลึกดังที่กล่าวอ้างด้วย และเขาเชื่อว่าไม่มีสัตว์ประหลาดในทะเลสาบแห่งนี้[13]
นอกจากนี้แล้วยังมีผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้แก่เนสซีด้วย โดยให้ชื่อว่า Nessiteras rhombopteryx ซึ่งเป็นภาษากรีกแปลได้ว่า "สัตว์ประหลาดเนสส์กับครีบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด" [14]
ข้อสันนิษฐาน
[แก้]มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเนสซีไว้มากมาย อาจสรุปได้ดังนี้
- เชื่อว่าเนสซีเป็นสัตว์เลื้อยคลานในทะเลขนาดใหญ่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ เช่น อีลาสโมซอรัส หรือเพลสิโอซอรัส โดยมีทฤษฎีว่าสัตว์เลื้อยคลานพวกนี้เดิมเคยอาศัยอยู่ในทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งทะเลสาบเนสส์ยังคงเชื่อมต่อกับทะเล ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ในยุคน้ำแข็ง ทำให้ทะเลสาบเนสส์กำเนิดขึ้นมาและตัดขาดกับทะเลโดยสิ้นเชิง แต่ทว่าสัตว์เหล่านี้ยังติดอยู่ในทะเลสาบโดยไม่ไปไหน เพราะไม่มีสิ่งใดมารบกวนบวกกับมีอาหารให้กินมากมาย ขณะที่สัตว์จำพวกเดียวกันที่อื่นได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว [15][16] [17][18]
- เชื่อว่าเนสซีเป็นสัตว์จำพวกอื่นที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบเนสส์ เช่น แมวน้ำกลายพันธุ์ หรือปลาไหล[19][20]หรือปลาฉลามขนาดใหญ่[7] หรือปลาสเตอร์เจียน ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ส่วนหลังมีโหนกและมีหนามเช่นเดียวกับที่พยานหลายรายพบเห็น[21] หรือแม้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่[22][23]
- เชื่อว่าแท้จริงแล้ว เนสซีตลอดจนสัตว์ประหลาดในทะเลหรือทะเลสาบในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นเพียงปรากฏการณ์คลื่นนิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวน้ำ เมื่อมีผู้พบเห็นมองเพียงผิวเผินแล้วเข้าใจผิดตามมโนทัศน์ของตน เช่นเดียวกับปรากฏการณ์พญานาคในแม่น้ำโขงหรือบึงโขงหลงในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย [24]
- เชื่อว่าแท้จริงแล้วเป็นเรื่องหลอกลวง เช่นเดียวกับภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดของเนสซีที่ชื่อ "ภาพของศัลยแพทย์" (The Surgeon's Photo) ที่เชื่อกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปีว่าเป็นของจริง ที่ถ่ายโดยศัลยแพทย์ชาวลอนดอนชื่อ โรเบิร์ต เคนเนท วิลสัน แต่ท้ายที่สุดก็ถูกเปิดเผยออกมาว่าเป็นเพียงเรื่องหลอกลวงกันเท่านั้น[25] รวมถึงกรณีอื่นด้วย[26][27]
เนสซีในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]มีการอ้างอิงถึงเนสซีในวัฒนธรรมร่วมสมัยมีอยู่มากมาย เช่น
- การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โดราเอมอน ตอน "เนสซีมาแล้ว"[6]
- เป็นชุดสเกลให้กับตัวละครชื่อ ซีดราก้อน คาน่อน จากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย่า
- ซีรีส์ชุด The X-Files ซีซั่นที่สาม ตอนที่ 22 ในตอน "Quagmire" ในชื่อ "บิ๊กบลู"[28]
- ภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ เรื่อง Loch Ness ในปี ค.ศ. 1996
- ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เรื่อง Beneath Loch Ness ในปี ค.ศ. 2001
- ภาพยนตร์แฟนตาซีสัญชาติอังกฤษ เรื่อง The Water Horse: Legend of the Deep ในปี ค.ศ. 2008
- ภาพยนตร์สำหรับฉายทางโทรทัศน์ของฮอลลีวู้ด เรื่อง Beyond The Loch Ness ในปี ค.ศ. 2008
- สารคดีทางช่องดิสคัฟเวอรีแชนแนล ชุด Lost Tapes ตอน "Monster of Monterey" ปี ค.ศ. 2009
- โฆษณาทางโทรทัศน์รถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Krystek, Lee. "The Surgeon's Hoax". unmuseum.org. UNMuseum. สืบค้นเมื่อ 21 April 2015.
- ↑ Life of St. Columba (chapter 28).
- ↑ Delrio, Martin (2002). The Loch Ness Monster. Rosen Publishing Group. p. 48. ISBN 0-8239-3564-7.
- ↑ "Up Again". Edinburgh Scotsman. 14 May 1945. p. 1. So "Nessie" is at her tricks again. After a long, she has by all accounts bobbed up in home waters...
- ↑ Campbell, Elizabeth Montgomery & David Solomon, The Search for Morag (Tom Stacey 1972) ISBN 0-85468-093-4, page 28 gives an-t-Seileag, an-Niseag, a-Mhorag for the monsters of Lochs Shiel, Ness and Morag, adding that they are feminine diminutives
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อเนส
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Legend of Loch Ness, "River Monsters". สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 24 ธันวาคม 2556
- ↑ คอลัมน์ ซันเดย์ สเปเชียล, ไทยรัฐ: วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2551
- ↑ "กูเกิ้ลเอิร์ธจับภาพ เนสซี ทะเลสาบล็อกเนสได้". หรรษาดอตคอม.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "โอละพ่อ!!! "เนสซี" สัตว์ประหลาดแห่งล็อกเนสส์ ใน Apple Maps แท้จริงแล้วคือ เรือ!". สนุกดอตคอม. April 23, 2014. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
- ↑ "ตะลึง! สาวผู้ดีถ่ายรูปเจอ 'สัตว์ประหลาดลอช เนสส์' โผล่กลางทะเลสาบ". ไทยรัฐ. 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.
- ↑ "เนสซี ซ่อนตัวที่ไหน? ชาวประมงพบที่ซ่อนของเนสซีลึก 900 ฟุต". เพชรรามา. January 20, 2016. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
- ↑ "โดรนดำน้ำ ปิดตำนานสัตวประหลาดล็อกเนส". เวิร์คพอยท์ทีวี. 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.
- ↑ "Naming the Loch Ness monster". Nature. 258 (5535): 466. 1975. doi:10.1038/258466a0.
- ↑ R. J. Binns (1983) The Loch Ness Mystery Solved, page 22
- ↑ Rick Emmer, Loch Ness Monster: Fact or Fiction?, page 62 (Infobase Publishing, 2010). ISBN 978-0-7910-9779-3.
- ↑ "Were Dinosaurs Endotherms or Ectotherms?". BBC. 2001. สืบค้นเมื่อ 8 April 2007.
- ↑ "Why the Loch Ness Monster is no plesiosaur". New Scientist. 2576: 17. 2006. สืบค้นเมื่อ 8 April 2007.
- ↑ Justice, Aaron (2007). "The Monster of Loch Ness". CryptoZoology.com. สืบค้นเมื่อ 8 April 2007.
- ↑ "Operation Cleansweep 2001". The Loch Ness Project. 2001. สืบค้นเมื่อ 8 April 2007.
- ↑ The Loch Ness Monster, "The Truth Behind". สารคดีทางเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ทางนาว 26: ศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560
- ↑ R. P. Mackal (1976) The Monsters of Loch Ness, pages 138–9, 211–213
- ↑ The Times 9 December 1933, page 14
- ↑ "คมชัดลึก พญานาค ช่วงที่ 2". เนชั่นแชนแนล. 6 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อหลอก
- ↑ "Creature of Loch Ness Caught on tape! video on YouTube". YouTube. 26 May 2007. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
- ↑ "Loch Ness Monster's tooth found?". Worldnetdaily.com. 10 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
- ↑ The X-Files (1993– ) Quagmire ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน