เทือกเขาอัลไต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เทือกเขาอัลไต (อังกฤษ: Altai Mountains, บ้างก็สะกดว่า Altay Mountains) เป็นเทือกเขาในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช และแม่น้ำอ็อบ เทือกเขานี้บรรจบกับเทือกเขาซายันทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และค่อย ๆ ลดหลั่นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้รวมเข้ากับที่ราบสูงทะเลทรายโกบี พิกัดพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่ประมาณ 45° ถึง 52° N และตั้งแต่ประมาณ 84° ถึง 99° E
ชื่อ อัลไต ในภาษาตุรกี สะกดว่า "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh), อัลไตแห่งมองโกเลีย (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai)
เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีลักษณะชาตินิยม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เทือกเขาอัลไต
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์