เซแทร็ป
เซแทร็ป[2] หรือ แซแทร็ป[2] (อังกฤษ: satrap) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองมณฑลในสมัยจักรวรรดิมีดซ์ (Medes) และอะคีเมนิด (Achaemenid) รวมถึงจักรวรรดิอื่น ๆ ที่สืบทอดกันมา เช่น แซสซานิด (Sassanid) และเฮลเลนิสต์ (Hellenist)[3] เขตปกครองของเซแทร็ปเรียกว่า เซทระพี (satrapy)[4]
แม้มีสิทธิปกครองตนเองอยู่พอสมควร แต่เซแทร็ปก็ยังมีฐานะเป็นอุปราชของกษัตริย์ คำนี้ภายหลังกลายเป็นมีความหมายถึงทรราชหรือความโอ่อ่าแบบอวดอ้าง[5][6] และในการใช้งานสมัยใหม่สามารถสื่อถึงเจ้าประเทศราช หรือเจ้าเมืองขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักแฝงความหมายถึงการทุจริต[7]
ศัพทมูล
[แก้]ภาษาอังกฤษรับคำว่า "satrap" ผ่านคำว่า "satrapes" ในภาษาละติน ซึ่งมีที่มาจากคำว่า "satrápēs" (σατράπης) ในภาษากรีกโบราณ อันยืมมาจากคำว่า "*xšaθra-pā/ă-" ในภาษาอิหร่านเก่า[8] ในภาษาเปอร์เซียเก่า (ภาษาทางการของจักรวรรดิอะคีเมนิด) มีการบันทึกคำว่า "xšaçapāvan" (𐎧𐏁𐏂𐎱𐎠𐎺𐎠, แปลว่า "ผู้พิทักษ์มณฑล") เอาไว้ ส่วนรูปภาษาเมเดียเขียนใหม่เป็น "*xšaθrapāwan-"[9] คำนี้ยังร่วมเชื้อสายกับคำว่า "kṣatrapal" (क्षेत्रपाल) ในภาษาสันสกฤต
ในภาษาพาร์เทียน (ภาษาของจักรวรรดิพาร์เทีย) และภาษาเปอร์เซียกลาง (ภาษาของจักรวรรดิแซสซานิด) คำนี้ได้รับการบันทึกไว้ในรูป "šahrab" กับ "šasab" ตามลำดับ[10]
คำว่า "xšaθrapāvan" มีคำสืบทอด คือ "shahrbān" (شهربان) ในภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ แต่องค์ประกอบของคำนี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายแล้ว ทำให้ปัจจุบันคำนี้มีความหมายใหม่เป็น "ผู้รักษาเมือง" (shahr [شهر] แปลว่า "เมือง" + bān [بان] หมายถึง "ผู้รักษา")
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cahn, Herbert A.; Gerin, Dominique (1988). "Themistocles at Magnesia". The Numismatic Chronicle. 148: 13–20. JSTOR 42668124.
- ↑ 2.0 2.1 "Satrap". Dictionary.com. Dictionary.com. 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-16.
- ↑ "Satrap". Free Merriam-Webster Dictionary. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
- ↑ "Satrapy". Dictionary.com. Dictionary.com. 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-16.
- ↑ "satrap". Oxford English Dictionary.
- ↑ Trollope, Anthony (12 May 2011). The Eustace Diamonds (ภาษาอังกฤษ). Oxford: Oxford University Press. p. 626. ISBN 978-0-19-162041-6. สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
- ↑ Butterfield, Jeremy, บ.ก. (2015). "satrap". Fowler’s Dictionary of Modern English Usage (4 ed.). Oxford University Press. p. 724. ISBN 978-0-19-966135-0.
- ↑ "Greece xi - xii. Persian Loanwords and Names in Greek". iranicaonline.org. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
- ↑ Bukharin, Mikhail. "[Towards the Discussion on the Language of the Scythians: The Transition of OIr *xš- > *s- and its Reflection in the Ancient Greek] К дискуссии о языке скифов: переход др.ир. *xš- > *s- и его отражение в древнегреческом". Проблемы Истории, Филологии, Культуры. 2013. 2. В честь 60-летия В.Д. Кузнецова. С. 263–285.
- ↑ MacKenzie, David Neil (1971). "šasab". A Concise Pahlavi Dictionary.