ข้ามไปเนื้อหา

เฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เฉิน (จีน: ) เป็นตระกูลหนึ่งของชาวจีนอพยพที่ใช้มากที่สุดในประเทศไทย และ ใช้เป็นอันดับที่ 3 ของจีน และ ไต้หวัน และเป็นหนึ่งในห้าตระกูลของผู้ใช้มากที่สุดในโลก จะต่างกันแค่ตามกลุ่มสำเนียงภาษาที่อพยพมา พบในประเทศไทย คือ ตัน (ฮกเกี้ยน) ตั้ง (แต้จิ๋ว) ฉั่น (กวางตุ้ง) ด่าน (ไหหลำ)

ประวัติ

[แก้]

ซุ่นเต้ (舜帝)ของราชวงศ์ซาง (商)ซึ่งได้ล่มสลายไปแล้ว จนได้พบกุยหม่าน (妫满) ซึ่งเป็นทายาทสืบสกุลของซุ่นเต้ อู่อ๋องจึงได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับเขา และแต่งตั้งให้เป็นขุนนางปกครองเมืองเฉิน (ปัจจุบันคืออำเภอฮ่วยหยัง(淮阳)ในมณฑลเหอหนาน) เพื่อให้เฝ้าสุสานของซุ่นดี้ เมื่อกุยหม่านเสียชีวิต ได้รับพระราชทานนามว่า เฉินหูกง (陈胡公) ตระกูลเฉินยังมีที่มาอีกหลายทาง สันนิษฐานว่าสายหนึ่งมาจากสมัยแคว้นเว่ย์เหนือ (北魏)ยุคสามก๊กที่มากจากคนตระกูลอื่นเปลี่ยนนามสกุลเป็นเฉิน ส่วนอีกสายหนึ่งมาจากประเทศอันหนาน (ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) โดยกษัตริย์ของอันหนานแห่งสกุลเฉิน ซึ่งชนรุ่นหลังของเขาก็อยู่ในสกุลเฉินสืบต่อมา

การออกเสียงในสำเนียงอื่น

[แก้]
ตระกูล ภาษา/สำเนียง โรมัน ใช้ใน พบในภูมิภาค
เฉิน ภาษาจีน Chen ชาวจีนส่วนใหญ่ ,มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง,มาเก๊า,ไหหลำ
ฉั่น ภาษากวางตุ้ง Chan ชาวกวางตุ้ง,ชาวแคะ มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ไทย,ฮ่องกง,มาเก๊า,ไหหลำ,อินโดนีเซีย
ฉิน สำเนียงแคะ Chin ชาวแคะ มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง,มาเก๊า,ไหหลำ
ตัน ภาษาฮกเกี้ยน Tan ชาวฮกเกี้ยน,ชาวแต้จิ๋ว(บางส่วน),ชาวไหหลำ มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ไทย,อินโดนีเซีย,ฮ่องกง
ด่าน สำเนียงไหหลำ Dan ชาวไหหลำ ไหหลำ, ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย
จิน ภาษาเกาหลี Jin ชาวเกาหลี เกาหลี
ตั้ง สำเนียงแต้จิ๋ว Tang ชาวแต้จิ๋ว มาเลเซีย,สิงคโปร์,สหรัฐอเมริกา,ไทย,กัมพูชา,ลาว,เวียดนามอินโดนีเซีย
ติง ภาษาฮกจิว Ting,Ding ชาวฮกจิว อินโดนีเซีย,สิงคโปร์,มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์
เซน ภาษาง่อ Zen - -
เจิ่น ภาษาเวียดนาม Trần ชาวเวียดนาม เวียดนาม

ในประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทยพบมากที่สุดคือ แซ่ตั้ง อาศัยอยู่ตามภาคกลางของไทยซึ่งเป็นชาวแต้จิ๋ว ส่วน แซ่ตัน เป็นนามสกุลที่บรรพชนชาวฮกเกี้ยนใช้ พบมากที่สุดในภูเก็ต และ ภาคใต้ของไทย และ เป็นแซ่ที่เก่าแก่และใช่มากที่สุดอันดับ 1 ของภูเก็ต แซ่ฉั่น จะไม่ค่อยพบเห็นตระกูลนี้มากในไทยมีบรรพชนมาจากมณฑลกวางตุ้งจะพบมากบริเวณภาคใต้ของไทยและจังหวัดภูเก็ต ส่วนภาคกลางและกรุงเทพมหานครจะพบผู้ใช้แซ่นี้ได้ยาก

ศาลเจ้าประจำตระกูล

[แก้]
  • ศาลเจ้าแสงธรรม จังหวัดภูเก็ต เป็นศาลประจำตระกูลเฉินสายฮกเกี้ยน หรือ แซ่ตัน ประดิษฐานเทพเจ้าอ๋องซุ่นต่ายส่าย และ ตันเซ่งอ๋อง
  • ศาลเจ้าตั้งเสี่ยอ้วง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ศาลเจ้าแซ่ตัน ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ตัวละครในบันเทิงคดี

[แก้]