ข้ามไปเนื้อหา

เกาจิ๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำแหน่งและอาณาเขตของเกาจิ๋ว (สีเขียว)
เกาจิ๋ว (เจียวโจว)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม交州
อักษรจีนตัวย่อ交州
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือGiao Châu
จื๋อฮ้าน交州

เกาจิ๋ว ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เจียวโจว (จีน: 交州; เวด-ไจลส์: Chiao1-Cho1; เวียดนาม: Giao Châu) เป็นมณฑลของจีนสมัยราชวงศ์ ในยุคราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์จิ้น ในยุคราชวงศ์มณฑลเกาจิ๋วประกอบด้วยพื้นที่เหลียงกว่างและภาคเหนือของเวียดนาม แต่ภายหลังพื้นที่กวางตุ้งได้แยกมาก่อตั้งเป็นมณฑลกว่างโจวโดยซุนกวนภายหลังการเสียชีวิตของชื่อ เซี่ย และคงอยู่กระทั่งมีการก่อตั้งมณฑลอันนัมในปี ค.ศ. 679

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ราชวงศ์ฮั่น

[แก้]

เมื่อ 111 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพของจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้พิชิตรัฐกบฏลำอวด (南越 หนานเยฺว่) และจัดตั้งพื้นที่เป็นเขตการปกครองระดับปู้ ( ) หรือเขตชื่อเกาจี (交阯 เจียวจื่อ) ภายใต้การปกครองของข้าหลวงหรือชื่อฉื่อ (zh:刺史 (cìshǐ) vi:thứ sử) นอกจาก 6 เมือง (จฺวิ้น) ดั้งเดิม (หนานไห่, เหอผู่, ซังงาว (ชางอู่), ยฺวี่หลิน, เกาจี (เจียวจื่อ) และจิ่วเจิน) ราชวงศ์ฮั่นยังยึดครองอาณาเขตใหม่ในไหหลำรวมถึงพื้นที่ทางใต้ของด่านงาง และก่อตั้งเป็นเมืองจูหยา, ตานเอ่อร์ และรื่อหนาน[1] ในปี ค.ศ. 203 เขตเกาจี หรือ เจียวจื่อปู้ (交趾部 Jiāozhǐ bù) ได้เลื่อนฐานะเป็นโจวหรือมณฑลในชื่อ เกาจิ๋ว หรือ เจียวโจว (交州 Jiāozhōu)

ง่อก๊ก

[แก้]
สงครามระหว่างราชวงศ์จิ้นและง่อก๊ก ค.ศ. 264-272

หลังการเสียชีวิตของชื่อ เซี่ย (士燮) ในปี ค.ศ. 226 ง่อก๊กแบ่งมณฑลเกาจิ๋วออกเป็นมณฑลกว่างโจว (廣州) และมณฑลเกาจิ๋วใหม่ แต่หลังการปราบปรามชื่อ ฮุย (士徽) บุตรชายของชื่อ เซี่ย ง่อก๊กก็ผนวกรวมกว่างโจวและเกาจิ๋วเข้ากันใหม่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 264 เมื่อเกาจิ๋วถูกแบ่งออกเป็น 2 มณฑลอีกครั้ง โดยมณฑลกว่างโจวประกอบด้วย 3 เมือง ได้แก่ หนานไห่ ซังงาว และยฺวี่หลิน ส่วนมณฑลเกาจิ๋วใหม่ประกอบด้วย 4 เมือง ได้แก่ เหอผู่ เกาจี จิ่วเจิน และรื่อหนาน ในปีเดียวกันนั้น ทูตโรมันได้เดินทางมาถึงเมืองเกาจีของมณฑลเกาจิวและเดินทางต่อไปยังราชสำนักง่อก๊ก ในปี ค.ศ. 229 ง่อก๊กส่งทูตไปอาณาจักรฟูนานที่ซึ่งมีพ่อค้าจากอินเดียและที่อื่น ๆ มารวมตัวกัน[2]

ราชวงศ์จิ้น

[แก้]

ราชวงศ์ใต้

[แก้]

อาณาจักรหวั่นซวน

[แก้]

ราชวงศ์สุยและถัง

[แก้]

ราชวงศ์หมิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ban Biao; Ban Gu; Ban Zhao. "地理志" [Treatise on geography]. Book of Han (ภาษาจีน). Vol. 28. สืบค้นเมื่อ 28 February 2011.
  2. Taylor 1983, p. 89.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Taylor, Keith Weller (1983). The Birth of the Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-07417-0.
  • Kiernan, Ben (2019). Việt Nam: a history from earliest time to the present. Oxford University Press. ISBN 9780190053796.
  • Loewe, Michael (1986), "The conduct of government and the issues at stake (A.D. 57-167)", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC-AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 291–316
  • Li, Tana (2011), "Jiaozhi (Giao Chỉ) in the Han Period Tongking Gulf", ใน Li, Tana; Anderson, James A. (บ.ก.), The Tongking Gulf Through History, Pennsylvania: University of Pennsylvania Press, pp. 39–53, ISBN 978-0-812-20502-2
  • Churchman, Michael (2011), ""The People in Between": The Li and the Lao from the Han to the Sui", ใน Li, Tana; Anderson, James A. (บ.ก.), The Tongking Gulf Through History, Pennsylvania: University of Pennsylvania Press, pp. 67–86, ISBN 978-0-812-20502-2