ข้ามไปเนื้อหา

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

พิกัด: 11°41′N 92°46′E / 11.68°N 92.77°E / 11.68; 92.77
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
(ตามเข็ม) เกาะบาร์เรน, ชายหาดของเกาะรอสส์ และ เกาะสมิธ; อาทิตย์ยามอรุณที่หมู่เกาะอันดามัน; การดำน้ำในแถบอันดามัน
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัด (พอร์ทแบลร์): 11°41′N 92°46′E / 11.68°N 92.77°E / 11.68; 92.77
ประเทศ อินเดีย
จัดตั้ง1 พฤศจิกายน 1956
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดพอร์ทแบลร์
อำเภอ3
การปกครอง
 • ผู้แทนผู้ว่าการเทเวนทรา กุมาร โชษี
 • โลกสภา1
 • ศาลสูงศาลสูงกัลกัตตาภาคพอร์ทแบลร์
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด8,250 ตร.กม. (3,190 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 28
ประชากร
 (2012)[2]
 • ทั้งหมด380,520 คน
 • ความหนาแน่น46 คน/ตร.กม. (120 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา[3]
 • ทางการภาษาฮินดี, ภาษาอังกฤษ[3]
 • พูดภาษาเบงกอล, ภาษาฮินดี, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกา, ภาษามลยาฬัม, ภาษานิโคบาร์, ภาษากุรุข, ภาษามุนดา, ภาษาขาเรีย[4]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-AN
HDI (2018)เพิ่มขึ้น0.739 (High) • ที่ 6
เว็บไซต์www.andaman.gov.in
สัญลักษณ์ของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

หมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์[5] เป็นดินแดนสหภาพของประเทศอินเดียที่ประกอบด้วยเกาะ 572 เกาะ ในจำนวนนี้เพียง 37 เกาะที่มีผู้อยู่อาศัยถาวร หมู่เกาะตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างอ่าวเบงกอลกับทะเลอันดามัน[6]

ดินแดนนั้นตั้งอยู่ใกล้กับอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย ด้วยระยะทาง 150 กิโลเมตร และถูกแบ่งจากประเทศพม่าและประเทศไทยด้วยทะเลอันดามัน และห่างจากจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย ประมาณ 750 กิโลเมตร หมู่เกาะนั้นประกอบด้วยสองกลุ่มเกาะย่อย คือ หมู่เกาะอันดามัน (บางส่วน) กับหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งถูกแยกจากกันด้วยช่องแคบองศาที่สิบ (ซึ่งอยู่บนละติจูดที่ 10°N) ความกว้าง 150 กิโลเมตร โดยหมู่เกาะอันดามันอยู่ทางเหนือของละติจูดนี้

เมืองหลวงของดินแดนคือพอร์ทแบลร์ และดินแดนแบ่งออกเป็นสามอำเภอ คืออำเภอนิโคบาร์ มีเมืองหลวงคือ คาร์นิโคบาร์, อำเภออันดามันใต้มีพอร์ทแบลร์เป็นเมืองหลวง และ อำเภออันดามันเหนือและกลาง มีมายาบันเดอร์เป็นเมืองหลวง

ในหมู่เกาะอันดามันประกอบด้วยชาวเซนทิเนล กลุ่มคนที่ตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสมบูรณ์ และเป็นไปได้ว่าเป็นกลุ่มคนกลุ่มสุดท้ายในโลกที่ยังคงไม่มีวิวัฒนาการไปเกินกว่าเทคโนโลยียุคหินตอนต้น[7] อย่างไรก็ตามเป็นที่ถกเถียงเนื่องด้วยมีการพบผลิตภัณฑ์ด้วยโลหะบนเกาะ[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Andaman and Nicobar Administration". And.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  2. Census of India เก็บถาวร 14 มิถุนายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2011. Census Data Online, Population.
  3. 3.0 3.1 "50th Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India" (PDF). 16 July 2014. p. 109. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 March 2015. สืบค้นเมื่อ 6 November 2016.
  4. "www.andaman.gov.in". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
  5. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  6. Sawhney, Pravin (30 January 2019). "A watchtower on the high seas". The Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2019. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019.
  7. "Andaman & Nicobar Administration". and.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015.
  8. Pandit, T. N. (1990). The Sentinelese. Kolkata: Seagull Books. pp. 17–20. ISBN 978-81-7046-081-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]