ข้ามไปเนื้อหา

ส้มมุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส้มมุด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: เงาะ
Sapindales
วงศ์: วงศ์มะม่วง
Anacardiaceae
สกุล: สกุลมะม่วง
Mangifera
Lour.
สปีชีส์: Mangifera foetida
ชื่อทวินาม
Mangifera foetida
Lour.

ส้มมุด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera foetida) เป็นพืชในสกุลเดียวกับมะม่วง เป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ และเวียดนาม กระบี่เรียกว่า ส้มมุดหรือมะมุด นราธิวาสเรียกว่า มะม่วงป่าหรือมาแซอูแต เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อ สีชมพูอมแดง หอมเย็น เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดเปลือกนอกสีน้ำตาลคล้ำ เปลือกในสีน้ำตาลแดง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเหลืองแกมเขียว เมื่ออ่อน เนื้อสีขาวเช่นเดียวกับมะม่วง แต่เปรี้ยวกว่า เนื้อแน่น เหนียวกว่า สุกแล้วเนื้อสีเหลือง กลิ่นแรงมาก ทำให้เป็นผลไม้ที่ถูกห้ามนำขึ้นรถโดยสารหรือห้องประชุม

ส้มมุดเป็นผลไม้กินสด เนื้อผลรับประทานได้ มีกลิ่นขี้ไต้ และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก นำมากินเป็นผักแกล้ม นำมายำกับปลาใส่มะพร้าวคั่ว หรือใส่ในแกงส้ม แกงเหลือง[2] ผลดิบใช้เป็นผักหรือดองโดยเฉพาะในกาลีมันตันตะวันออกนิยมนำไปใช้แทนมะขาม ในมาเลเซียใช้ทำน้ำพริกและนำไปดอง ชาวโอรังอัซลีในคาบสมุทรมลายูใช้น้ำยางในการสักผิวหนัง เพื่อให้รอยสักติดลึก ใบใช้เป็นยาลดไข้ เมล็ดใช้แก้โรคติดเชื้อราบางชนิด ผลดิบมียางซึ่งทำให้ระคายเคืองในปากและริมฝีปาก ผลสุกมียางเฉพาะที่เปลือก


ส้มมุดจากชวาตะวันตก อินโดนีเซีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. World Conservation Monitoring Centre (1998). "Mangifera foetida". IUCN Red List of Threatened Species. 1998: e.T31392A9625288. doi:10.2305/IUCN.UK.1998.RLTS.T31392A9625288.en. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
  2. 180 ตำรับ ผักพื้นบ้านอาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2551.
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ส้มมุด ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 233
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 292 – 293
  • Our Tropical Garden. Bachang (Mangifera foetida)

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mangifera foetida