ข้ามไปเนื้อหา

สะพาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานอากาชิไคเกียว ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
สะพานไวเซ่น ในสวิตเซอร์แลนด์

สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว

ประวัติ

[แก้]
สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ

สะพานในยุคแรก จะสร้างด้วยท่อนไม้ หรือหิน โดยมีลักษณะโครงสร้างแบบเรียบง่าย โดยใช้โครงสร้างช่องโค้ง พบเห็นได้ในยุคโรมัน สำหรับสะพานที่ใช้สำหรับเป็นทางส่งน้ำ ซึ่งในยุคโรมันได้มีการใช้ซีเมนต์ ซึ่งพบได้จากส่วนประกอบของหินในธรรมชาติ สะพานอิฐ เริ่มมีการสร้างในยุคต่อมา

สะพานเชือก เป็นสะพานที่ขึงทั้งสองข้างของหน้าผาด้วยเชือก และขั้นที่เหยียบอาจจะเป็นแผ่นไม้หรือว่าเชือก ได้มีการเริ่มใช้โดยจักรวรรดิอินคา ในบริเวณเทือกเขาแอนดีส (Andes) ใน ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนยุคการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป ในคริสต์ศตวรรษที่ 15

ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้นิยมนำเหล็กมาทำเป็นสะพาน โดยเชื่อมต่อในระบบโครงสร้างทรัส สำหรับสะพานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา

รายชื่อสะพานที่ยาวที่สุดในโลก

[แก้]
สะพานปีนัง ประเทศมาเลเซีย

อันดับสะพานที่ยาวที่สุดในโลก มีดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2565)

อันดับ ชื่อ ประเทศ ความยาว ปีที่สร้างเสร็จ
1 Runyang Bridge ธงของประเทศจีน จีน 80 กม. 2006
2 สะพานจยาเซ่า ธงของประเทศจีน จีน 69.5 กม. 2012
3 สะพานชิงเต่าไห่วาน ธงของประเทศจีน จีน 42.5 กม. 2011
4 Lake Pontchartrain Causeway  สหรัฐ 37 กม. 1970
5 สะพานตงไห่ ธงของประเทศจีน จีน 36.5 กม. 2004
6 สะพานคิงฟะฮัด ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย,บาห์เรน บาห์เรน 35.67 กม. 2009
7 สะพานปีนังแห่งที่ 2 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 24 กม. 2006
8 Vasco da Gama Bridge ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส 17 กม. 1998
9 สะพานปีนัง ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 13.5 กม. 1985
10 Rio-Niteroi Bridge ธงของประเทศบราซิล บราซิล 13 กม. 1974
11 สะพานคอนเฟเดอเรชันส์ ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 12.9 กม. 1997
12 San Mateo–Hayward Bridge  สหรัฐ 11.2 กม. 1967
13 Seven Mile Bridge  สหรัฐ 11 กม. 1982

รายชื่อสะพานที่สูงที่สุดในโลก

[แก้]
สะพานมีโย ประเทศฝรั่งเศส

อันดับสะพานที่สูงที่สุดในโลก มีดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2556)

อันดับ ชื่อ ประเทศ ความสูง ปีที่สร้างเสร็จ
1 สะพานไอ่ไฉ ธงของประเทศจีน จีน 355 ม. 2012
2 สะพานมีโย ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 343 ม. 2004
3 สะพานรุสสกี้ ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 320.9 ม. 2012
4 สะพานอากาชิไคเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 298.3 ม. 1998
5 Stonecutters Bridge ธงของประเทศจีน จีน 298 ม. 2009
6 Great Belt East Bridge ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก 254 ม. 1998
7 สะพานโกลเดนเกต  สหรัฐ 227.4 ม. 1937
8 Foresthill Bridge  สหรัฐ 223 ม. 1973
9 Tatara Bridge ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 220 ม. 1999
10 Runyang Bridge ธงของประเทศจีน จีน 215 ม. 2005
11 Pont de Normandie ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 214.77 ม. 1995

รายชื่อสะพานที่กว้างที่สุดในโลก

[แก้]
สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ ประเทศออสเตรเลีย

อันดับสะพานที่กว้างที่สุดในโลก มีดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2556)

อันดับ ชื่อ ประเทศ ความกว้าง ปีที่สร้างเสร็จ
1 สะพานเจียซิง-เชาซิง ซี ธงของประเทศจีน จีน 2,560 ฟุต 2013
2 สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 161 ฟุต 1932

10 อันดับสะพานที่ยาวที่สุดของโลก

[แก้]

จัดอันดับสะพานทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสะพานประเภทใดก็ตาม มีดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2558) [1] [2]

อันดับ ชื่อ ประเทศ ความยาว ปีที่สร้างเสร็จ
1 Danyang Kunshan Grand Bridge ธงของประเทศจีน จีน 164.80 กม. 2010
2 Tianjin Grand Bridge ธงของประเทศจีน จีน 113.70 กม. 2010
3 Weinan Weihe Grand Bridge ธงของประเทศจีน จีน 79.73 กม. 2008
4 ทางพิเศษบูรพาวิถี  ไทย 54.00 กม. 2000
5 Beijing Grand Bridge ธงของประเทศจีน จีน 48.15 กม. 2010
6 Lake Pontchartrain Causeway  สหรัฐ 38.44 กม. 1969
7 Manchac Swamp Bridge  สหรัฐ 36.71 กม. 1979
8 Yangcun Bridge ธงของประเทศจีน จีน 35.81 กม. 2007
9 สะพานหางโจว ธงของประเทศจีน จีน 35.67 กม. 2008
10 สะพานรันยาง ธงของประเทศจีน จีน 35.66 กม. 2005

ประเภทของสะพาน

[แก้]
สะพานเหล็ก (Iron cast bridge) ในเขตชรอปเชียร์ ประเทศอังกฤษ เป็นสะพานเหล็กหล่อแห่งแรกของโลก สร้างเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1781
สตารีมอสต์ มรดกโลกในเมืองม็อสตาร์ ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
สะพานรุสสกี สะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก เมืองวลาดีวอสตอค เกาะรุสสกี ประเทศรัสเซีย
สะพานฟอร์ท มรดกโลกของยูเนสโก หนึ่งในสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์

สะพานโบราณ

[แก้]

สะพานที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ

[แก้]
สะพานโกลเดนเกต ในสหรัฐ
ทาวเวอร์บริดจ์ ในสหราชอาณาจักร
ปงเนิฟ ในฝรั่งเศส

สะพานที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย

[แก้]
สะพานรถยนต์และสะพานเดินเท้า

สะพานข้ามแม่น้ำและสะพานข้ามคลอง

สะพานพระราม 8 ยามค่ำคืน
สะพานภูมิพล

สะพานข้ามทะเลและสะพานข้ามทะเลสาบ

สะพานสารสิน
สะพานสิริลันตา
สะพานรถไฟ
สะพานพระราม 6
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
ไทย–ลาว

สะพานรถยนต์

สะพานรถไฟ

  • โครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมรถไฟไทย-ลาว-จีน (หนองคาย–เวียงจันทน์)
ไทย–พม่า
สะพานมิตรภาพ (ไทย–พม่า)
ไทย–มาเลเซีย
สะพานมิตรภาพ 2 (ไทย–มาเลเซีย)
ไทย–กัมพูชา
สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต)

สะพานอื่น ๆ

[แก้]

ความล้มเหลวของสะพาน

[แก้]

ดัชนีภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The World’s Top 10 Longest Bridges 2015 https://www.worldblaze.in/top-10-longest-bridges-in-the-world/ เก็บถาวร 2017-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. FOTO DEI 20 PONTI PIÙ LUNGHI DEL MONDO http://mondodesign.it/foto-ponti-piu-lunghi-mondo/
  3. "ชงครม.ไฟเขียวสร้าง "สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา-เกาะลันตา" 6.6 พันล้าน". Thansettakij. 2024-02-14.
  4. "'สะพานโนรา' ยาวที่สุดในไทย สวย 'สะพานเชื่อมเกาะลันตา'". Dailynews. 2024-07-09.
  5. "กทพ.เปิดผลศึกษาเคาะจุดสร้าง "สะพานเชื่อมเกาะสมุย" คาดลงทุน 4 หมื่นล้าน เริ่มตอกเข็มปี 72". MGR Online. 2024-07-15.
  6. "การทางพิเศษฯ ลุยสร้าง 'สะพานเชื่อมเกาะช้าง' 1.5 หมื่นล้าน". Bangkokbiznews. 2024-09-02.
  7. "'สะพานมิตรภาพไทย - ลาว' แห่งที่ 5 จุดข้ามแดนใหม่ เปิดบริการ พ.ย.นี้". Bangkokbiznews. 2024-04-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]