สถานีอวกาศมีร์
ข้อมูลของสถานี | |
---|---|
เลขทะเบียน COSPAR | 1986-017A |
หมายเลข SATCAT | 16609 |
สัญญาณเรียกขาน | Mir |
จำนวนลูกเรือ | 3 |
ส่งขึ้นเมื่อ | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 21:28:23 UTC |
ฐานส่ง | LC-200/39, and LC-81/23, Baikonur Cosmodrome, USSR |
กลับสู่บรรยากาศ | 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 05:50:00 UTC |
มวล | 124,340 kg (274,123 lbs) |
ปริมาตรอากาศ | 350 m³ |
จุดใกล้โลกที่สุด | 386 km (207.9 nmi) [ไม่แน่ใจ ] |
จุดไกลโลกที่สุด | 398 ก.ม. (212.5 ไมล์) [ไม่แน่ใจ ] |
ความเอียงวงโคจร | 51.6 degrees |
คาบการโคจร | 89.8 นาทีs |
จำนวนรอบโคจรต่อวัน | 16.13 |
จำนวนวันที่โคจร | 5,519 วัน |
จำนวนวันที่มนุษย์อยู่ | 4,592 วัน |
ระยะทางที่ทำได้รวม | 3,638,470,307 ก.ม. (1,964,616,800 ไมล์) |
สถิติ ณ Deorbit on 2001-03-23[ต้องการอ้างอิง] | |
องค์ประกอบ | |
โครงสร้างของ มีร์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์โดยมีกระสวยอวกาศเทียบท่า |
สถานีอวกาศมีร์ (รัสเซีย: Мир; โลก และ สันติภาพ) เป็นสถานีอวกาศที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของรัสเซีย และนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติ นักบินอวกาศจากหลายชาติได้ใช้งานสถานีอวกาศแห่งนี้ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ สถานีประกอบด้วยมอดูลต่าง ๆ หลายมอดูล แต่ละส่วนถูกทะยอยนำขึ้นสู่อวกาศ เริ่มจากส่วนแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จนถึงมอดูลสุดท้ายในปี พ.ศ. 2539 สถานีอวกาศมีร์หมดอายุการใช้งานและถูกเผาทำลายในบรรยากาศโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 ด้วยประสบการณ์ในการพัฒนาสถานีอวกาศ Salyut Station ในช่วงปี 1971 ถึง 1982 ทำให้สถานีอวกาศมีร์ของรัสเซียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีร์เป็นสถานีอวกาศ ที่มีส่วนประกอบหลัก 7 ส่วนโดยถูกปล่อยขึ้นวงโคจรชิ้นแรกใน เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 หลังจากนั้นจึงทยอยชิ้นส่วนอื่นๆตามไปจนกระทั่งครบสมบูรณ์ ในปี 1996 โคจรเหนือโลกประมาณ 248-261 กิโลเมตรด้วยความเร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 16 รอบต่อ 1 วัน แต่กระนั้นมีร์ก็ยังคงมีจุดบกพร่องอีกหลายจุด มีการเกิดอุบัติที่เหตุที่ไม่คาดฝันกับสถานีอวกาศแห่งนี้อยู่เสมอ สถานีอวกาศมีร์ ของรัสเชีย อันจัดได้ว่าเป็นสถานีอวกาศที่ทำการวิจัยนอกโลกที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน และชาวโลกได้ใช้ประโยชน์จากสถานีอวกาศแห่งนี้หลายๆด้าน ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศรัสเชียแต่หลายประเทศได้ใช้ประโยชน์จากมัน จนกระทั่งหมดอายุใช้งานลง 23 มีนาคม พ.ศ. 2544