ข้ามไปเนื้อหา

วีกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วีกัน
seitan pizzaroasted Brussels sprouts and pasta
leek-and-bean cassoulet with dumplingscocoa–avocado brownies
เรียงตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน:
(1) พิซซาเซแทน (seitan); (2) ถั่วงอกอบ เต้าหู้กับพาสตา; (3) บราวนีโกโก้–อาโวกาโด; (4) กาซูเลต้นหอมและถั่วกับเกี๊ยว

วีกัน (อังกฤษ: Veganism) คือการให้ชีวิตหลีกเลี่ยงจากอาหารที่ทำมาจากส่วนประกอบทั้งทางตรงและทางอ้อมของสัตว์ การงดอาหาร รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในปรัชญาที่ว่าด้วยการปฏิเสธ เครื่องอุปโภคบริโภคที่ได้มาจากการทรมานสัตว์ ถึงแม้วีกันจะไม่ได้เป็นศาสนาแต่ปรัชญาหลายอย่างสอดคล้องกับศาสนามาณีกี จึงจัดให้อยู่ในพวกเดียวกับไญยนิยม เป็นพวกลัทธิเหตุผลนิยมนั่นเอง

เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2478 โดยนายโดนันด์ วัตสัน ได้ก่อตั้งสมาคมวีกันในอังกฤษ ในตอนเริ่มต้นหมายถึงมังสวิรัติที่ยกเว้นผลิตภัณฑ์ทางอ้อมจากสัตว์เช่น ไข่และนม ต่อมาแก้ไขเป็นแนวคิดที่ว่ามนุษย์ต้องอยู่ได้โดยไม่เบียดเบียนสัตว์[1] ปัจจุบันจึงใช้คำว่า ไดเอทารีวีกัน (อังกฤษ: Dietary Vegan หรือ Strict Vegetarian) สำหรับผู้ที่ปฏิเสธการรับประทาน ไข่และนมแทน และจัดให้มีการเฉลิมฉลองเวิลด์วีกันเดย์ทุกวันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปี

หนังสือการปรุงอาหารที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่วีกันคือ Rupert H. Wheldon's No Animal Food: Two Essays and 100 Recipes ได้กล่าวไว้ว่าในการผลิตนมนั้น แม่วัวสาวจะต้องถูกบังคับให้ตั้งครรภ์ และลูกวัวจะถูกนำออกหรือมักถูกฆ่าโดยทันทีเพื่อใช้ทำไส้กรอก สำหรับไก่ไข่นั้นทำให้ลูกไก่พันธุ์ไข่ตัวผู้ถูกฆ่าเพื่อการประหยัดอาหารสัตว์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Donald Watson, Vegan News, No. 1, November 1944; "Interview with Donald Watson", Vegetarians in Paradise, 11 August 2004; Leslie Cross, "Veganism Defined", The Vegetarian World Forum, 5(1), Spring 1951.