วาจิมะ
วาจิมะ 輪島市 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตลาดเช้าวาจิมะ | |||||||||
ที่ตั้งของวาจิมะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดอิชิกาวะ | |||||||||
พิกัด: 37°23′26″N 136°53′57″E / 37.39056°N 136.89917°E | |||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||
ภูมิภาค | ชูบุ, โฮกูริกุ | ||||||||
จังหวัด | อิชิกาวะ | ||||||||
การปกครอง | |||||||||
• นายกเทศมนตรี | ชิเงรุ ซากางูจิ (坂口茂, ตั้งแต่มีนาคม ค.ศ. 2022) | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
• ทั้งหมด | 426.32 ตร.กม. (164.60 ตร.ไมล์) | ||||||||
ประชากร (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018) | |||||||||
• ทั้งหมด | 27,698 คน | ||||||||
• ความหนาแน่น | 65 คน/ตร.กม. (170 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||
โทรศัพท์ | 0768-22-2211 | ||||||||
ที่อยู่ | 2-29 Futatsuyamachi, Wajima-shi, Ishikawa-ken 928-8525 | ||||||||
ภูมิอากาศ | Cfa | ||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||
|
วาจิมะ (ญี่ปุ่น: 輪島市; โรมาจิ: Wajima-shi) เป็นนครในจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 31 มกราคม ค.ศ. 2018[update] วาจิมะมีจำนวนประชากรประมาณ 27,698 คน 12,768 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากร 65 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 426.32 ตารางกิโลเมตร (164.60 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]นครวาจิมะกินพื้นที่ครอบคลุมชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรโนโตะ และล้อมรอบด้วยทะเลญี่ปุ่นทางทิศเหนือและทิศตะวันตก พื้นที่บางส่วนอยู่ภายในเขตอุทยานกึ่งแห่งชาติโนโตะฮันโต เกาะเฮกูราจิมะซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทางเหนือของคาบสมุทรโนโตะ 47 กิโลเมตร ก็เป็นส่วนหนึ่งของนครวาจิมะ
อาณาเขตติดต่อ
[แก้]- จังหวัดอิชิกาวะ
ภูมิอากาศ
[แก้]วาจิมะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเฉพาะคือฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่หนาวเย็นและมีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในวาจิมะอยู่ที่ 13.4 องศาเซลเซียส (56.1 องศาฟาเรนไฮต์) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีคือ 2,300 มิลลิเมตร (91 นิ้ว) โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.6 องศาเซลเซียส (78.1 องศาฟาเรนไฮต์) และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 2.9 องศาเซลเซียส (37.2 องศาฟาเรนไฮต์)[2]
ข้อมูลภูมิอากาศของวาจิมะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะรุนแรง 1929−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17.1 (62.8) |
22.8 (73) |
24.1 (75.4) |
29.0 (84.2) |
32.5 (90.5) |
32.8 (91) |
38.2 (100.8) |
37.5 (99.5) |
38.6 (101.5) |
31.6 (88.9) |
26.5 (79.7) |
21.5 (70.7) |
38.6 (101.5) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 6.4 (43.5) |
7.0 (44.6) |
10.5 (50.9) |
16.0 (60.8) |
20.9 (69.6) |
24.0 (75.2) |
28.2 (82.8) |
30.1 (86.2) |
26.3 (79.3) |
21.0 (69.8) |
15.1 (59.2) |
9.4 (48.9) |
17.91 (64.24) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 3.3 (37.9) |
3.4 (38.1) |
6.1 (43) |
11.1 (52) |
16.1 (61) |
20.0 (68) |
24.4 (75.9) |
25.9 (78.6) |
22.0 (71.6) |
16.3 (61.3) |
10.8 (51.4) |
5.9 (42.6) |
13.78 (56.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 0.4 (32.7) |
0.0 (32) |
1.7 (35.1) |
6.0 (42.8) |
11.4 (52.5) |
16.3 (61.3) |
21.2 (70.2) |
22.2 (72) |
18.1 (64.6) |
11.9 (53.4) |
6.7 (44.1) |
2.5 (36.5) |
9.87 (49.76) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -10.4 (13.3) |
-10.2 (13.6) |
-7.3 (18.9) |
-4.0 (24.8) |
0.4 (32.7) |
7.1 (44.8) |
10.3 (50.5) |
13.0 (55.4) |
6.8 (44.2) |
1.5 (34.7) |
-1.4 (29.5) |
-6.5 (20.3) |
−10.4 (13.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 219.2 (8.63) |
139.6 (5.496) |
138.6 (5.457) |
121.6 (4.787) |
115.6 (4.551) |
155.8 (6.134) |
199.6 (7.858) |
176.8 (6.961) |
214.5 (8.445) |
171.1 (6.736) |
231.5 (9.114) |
278.4 (10.961) |
2,162.3 (85.13) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 54 (21.3) |
42 (16.5) |
8 (3.1) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
18 (7.1) |
121 (47.6) |
ความชื้นร้อยละ | 74 | 73 | 70 | 70 | 72 | 79 | 81 | 79 | 79 | 76 | 75 | 75 | 75.3 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 23.1 | 17.8 | 15.5 | 10.9 | 9.9 | 9.7 | 11.5 | 9.4 | 12.2 | 12.8 | 17.3 | 22.3 | 172.4 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 3 cm) | 5.8 | 4.8 | 1.1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 2.6 | 14.3 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 41.8 | 68.7 | 132.2 | 185.8 | 208.7 | 161.5 | 158.3 | 203.2 | 142.8 | 139.3 | 89.7 | 47.9 | 1,580.1 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3][4] |
ประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] จำนวนประชากรของวาจิมะลดลงประมาณร้อยละ 50 ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1970 | 48,220 | — |
1980 | 45,115 | −6.4% |
1990 | 40,309 | −10.7% |
2000 | 34,531 | −14.3% |
2010 | 29,858 | −13.5% |
2020 | 24,608 | −17.6% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่บริเวณวาจิมะเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโนโตะในสมัยโบราณ และเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียงในด้านการค้าภายในทวีปเอเชีย ในช่วงยุคเซ็งโงกุ (ค.ศ. 1467–1568) พื้นที่แห่งนี้เป็นที่โต้แย้งกันระหว่างตระกูลฮาตาเกยามะ ตระกูลอูเอซูงิ และตระกูลมาเอดะ ต่อมาในยุคเอโดะ พื้นที่นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาคางะ ภายใต้การปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ พื้นที่แห่งนี้นับว่ายังคงเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียงในเส้นทางเดินเรือตามชายฝั่งที่มีชื่อว่า คิตามาเอบูเนะ ระหว่างโอซากะกับฮกไกโด
หลังจากการฟื้นฟูเมจิ พื้นที่แห่งนี้ถูกจัดแบ่งเป็นอำเภอโฮซุและอำเภอฟูเงชิ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งเมืองวาจิมะขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งระบบเทศบาลสมัยใหม่ เมืองวาจิมะได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1954 หลังจากผนวกเอาหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านโอยะ คาวาราดะ โคโนซุ นิชิโฮะ มิอิ และนาจิมิ และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เมืองมนเซ็งได้รวมเข้ากับนครวาจิมะ
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 1983 คลื่นสึนามิที่ตามมาได้พัดเข้าสู่ท่าเรือของเมืองวาจิมะ วีดิทัศน์ของคลื่นสึนามิได้ถูกช่างภาพจากสถานีโทรทัศน์บันทึกไว้ และได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยสึนามิครั้งหลัง ๆ
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2007 ได้เกิดแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 279–356 ราย (ในจำนวนนี้สาหัส 26 ราย) และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินทั้งในนครวาจิมะและส่วนอื่น ๆ ของจังหวัดอิชิกาวะ บ้านเรือนราว 6,056 หลังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยในจำนวนนี้มีบ้านที่เสียหายโดยสมบูรณ์ 476 หลัง[6][7]
เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024 ได้เกิดแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2024 ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ส่งผลให้สิ่งก่อสร้างหลายแห่งในเมืองถูกเผาทำลายรวมถึงตลาดเช้าวาจิมะที่ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 1,300 ปี[8] เมืองวาจิมะสามารถบันทึกความรุนแรงแผ่นดินไหวได้ 7 ทำให้เกิดการพังทลายของอาคารเป็นบริเวณกว้าง
การเมืองการปกครอง
[แก้]วาจิมะมีรูปแบบการปกครองแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครซึ่งเป็นสภาเดี่ยวมีสมาชิกจำนวน 20 คน
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจหลักในท้องถิ่น ได้แก่ การประมงเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว การเกษตร และการผลิตภาชนะไม้ขัดเงา
การศึกษา
[แก้]วาจิมะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 10 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 3 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดอิชิกาวะ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 2 แห่ง และยังมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชนอีก 1 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]การขนส่งในวาจิมะ ได้แก่
- ทางถนน: มี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 249 วิ่งผ่าน
- ทางอากาศ: วาจิมะเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานโนโตะ
- ทางรถไฟ: ไม่มีรถไฟโดยสารให้บริการในพื้นที่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Official home page
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศวาจิมะ
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 6, 2022.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 6, 2022.
- ↑ สถิติประชากรวาจิมะ
- ↑ "Noto Peninsula (Japan) Earthquake of March 25, 2007" (PDF). EERI. สืบค้นเมื่อ 2022-06-21.
- ↑ "気象庁 | 日本付近で発生した主な被害地震(平成8年~平成24年8月)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05.
- ↑ 翔樹, 中村 (2 January 2024). "能登半島地震 石川・輪島の朝市通りが焼け野原に 1300年の歴史、日本三大朝市の一つ". 産経ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Wajima, Ishikawa
- คู่มือการท่องเที่ยว Wajima จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)