ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรไซปรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรไซปรัส

Royaume de Chypre
Βασίλειον τῆς Κύπρου
Vasíleion tîs Kýprou
ค.ศ. 1192–ค.ศ. 1489
ธงชาติไซปรัส
Top: Royal banner of Janus of Cyprus (15th century)
Bottom: Flag according to Book of All Kingdoms (1350)
Coat of arms (declaring a claim to reign over the former kingdoms of Cilicia and Jerusalem)ของไซปรัส
Coat of arms
(declaring a claim to reign over the former kingdoms of Cilicia and Jerusalem)
ราชอาณาจักรไซปรัสในปี ค.ศ. 1360
ราชอาณาจักรไซปรัสในปี ค.ศ. 1360
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงนิโคเซีย
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส
กรีก
ศาสนา
คริสต์ละติน
คริสต์กรีก
การปกครองราชาธิปไตยแบบศักดินา
พระมหากษัตริย์ 
• 1192–1194
กีแห่งลูซิยอง
• 1474–1489
กาเตรีนา กอร์นาโร
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1192
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1489
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิไบแซนไทน์
เวนิสไซปรัส

ราชอาณาจักรไซปรัส (อังกฤษ: Kingdom of Cyprus) เป็นอาณาจักรครูเสด (Crusader kingdom) ที่ตั้งอยู่บนเกาะไซปรัสที่รุ่งเรืองในสมัยกลางและปลายสมัยกลางระหว่าง ค.ศ. 1192 จนถึง ค.ศ. 1489 โดยการปกครองโดยราชวงศ์ลูซีย็อง (House of Lusignan)

ประวัติ

[แก้]

ไซปรัสถูกพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ พิชิตในปี ค.ศ. 1191 ในสงครามครูเสดครั้งที่ 3 จากไอแซ็ค คอมเนนัสแห่งไซปรัสผู้เป็นข้าหลวงท้องถิ่นที่ประกาศตนเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากทรงได้ไซปรัสมาแล้วพระเจ้าริชาร์ดก็ทรงขายให้แก่อัศวินเทมพลาร์ผู้ขายต่อให้กับกีแห่งลูซีย็อง พระมหากษัตริย์เยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1192 เมื่อพระเจ้าริชาร์ดทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามครูเสดและกีแห่งลูซิยอง[1] (Guy of Lusignan) ถูกปลดจากการเป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรของพระมเหสีผู้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว อัลมาริคที่ 1 แห่งไซปรัส (Amalric I of Cyprus) ขึ้นครองไซปรัสต่อมา

ประชากรกลุ่มน้อยที่เป็นโรมันคาทอลิกส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานตามเมืองชายฝั่งทะเลเช่นฟามากัสตัส และในแผ่นดินลึกเข้าไปเช่นนิโคเซียที่ถือกันว่าเป็นเมืองหลวง โรมันคาทอลิกเป็นฝ่ายมีอำนาจ ขณะที่ชาวกรีกตั้งถิ่นฐานตามชนบทซึ่งคล้ายกับสภาวะในราชอาณาจักรเยรูซาเลม อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และไซปรัสออร์ทอดอกซ์ที่มีอัครมุขนายกอิสระที่ไม่ขึ้นต่อผู้ใดได้รับอนุญาตให้อยู่บนเกาะแต่ก็ได้รับการกีดกันจากโรมันคาทอลิกเช่นในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]