ข้ามไปเนื้อหา

รัฐบัญญัติลิขสิทธิ์แห่งสหัสวรรษดิจิทัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบัญญัติลิขสิทธิ์แห่งสหัสวรรษดิจิทัล
มหาลัญจกรแห่งสหรัฐอเมริกา (Great Seal of the United States).
ชื่อเต็ม เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะ 17 แห่งประมวลกฎหมายสหรัฐ เพื่อนำไปปฏิบัติซึ่งสนธิสัญญาลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และสนธิสัญญาการแสดงและภาพบันทึกเสียง และเพื่อความมุ่งหมายอื่น
ชื่อย่อ DM, DMCA
ผู้ตรา 105th United States Congress
วันเริ่มใช้ 28 ตุลาคม 1998
การเรียก
กฎหมายมหาชน Pub. L. 105-304
ประชุมกฎหมาย 112 Stat. 2860 (1998)
การประมวล
รัฐบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐบัญญัติลิขสิทธิ์ ค.ศ. 1976
ลักษณะที่แก้ไขเพิ่มเติม 5 (องค์การและลูกจ้างภาครัฐ); 17 (ลิขสิทธิ์); 28 (ฝ่ายตุลาการและวิธีพิจารณาความทางตุลาการ); 35 (สิทธิบัตร)
มาตราที่เพิ่มเข้าประมวลกฎหมาย 17 U.S.C. §§ 512, 1201–1205, 1301–1332; 28 U.S.C. § 4001
มาตราในประมวลกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม 17 U.S.C. §§ 101, 104, 104A, 108, 132, 114, 117, 701
ประวัติทางนิติบัญญัติ
การแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นสาระสำคัญ
คดีที่เกี่ยวข้องของศาลสูงสุด
ไม่มี

รัฐบัญญัติลิขสิทธิ์แห่งสหัสวรรษดิจิทัล (อังกฤษ: Digital Millennium Copyright Act, DMCA) เป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ในสหรัฐ ที่อนุวัตสนธิสัญญาปีค.ศ. 1996 สองฉบับขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) กฎหมายนี้กำหนดให้การผลิตและเผยแพร่เทคโนโลยี อุปกรณ์ หรือบริการ ที่เจตนาทำขึ้นเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ นั้นเป็นอาชญากรรม กฎหมายดังกล่าวยังกำหนดให้การหลบเลี่ยงมาตรการป้องกันเป็นอาชญากรรมด้วย ไม่ว่าจะเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ DMCA ยังเพิ่มบทลงโทษต่อการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต กฎหมายนี้ผ่านความเห็นชอบอย่างไม่เป็นเอกฉันท์จากรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 1998 และลงนามบังคับเป็นกฎหมายโดยประธานาธิบดี บิล คลินตัน เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 1998 DMCA ได้แก้ไขเพิ่มเติม Title 17 of the United States Code ให้ขยายขอบเขตของลิขสิทธิ์ ในขณะเดียวกันก็จำกัดภาระความรับผิดของผู้ให้บริการออนไลน์ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้บริการ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]