ข้ามไปเนื้อหา

ภาษีทางอ้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษีทางอ้อม (เช่น ภาษีการขาย(Sales tax) ภาษีต่อหน่วย(per unit tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม(value-added tax, VAT) หรือ ภาษีสินค้าและบริการ(goods and services tax, GST) ภาษีสรรพสามิต(excise) ภาษีการบริโภค(consumption tax) ภาษีศุลกากร(tariff)) เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการก่อนที่จะไปถึงลูกค้าซึ่งเป็นการชำระภาษีทางอ้อมในที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ได้ทำการซื้อขาย อีกทางเลือกหนึ่ง หากนิติบุคคลที่ได้ชำระภาษีให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีซึ่งไม่ได้ประสบกับรายได้ที่ลดลง กล่าวคือ ผลกระทบและภาระทางภาษีไม่ได้อยู่ในนิติบุคคลเดียวกันซึ่งหมายความว่า ภาษีนั้นสามารถโอนย้ายหรือส่งต่อได้ ภาษีนั้นจึงเป็นทางอ้อม[1]

ภาษีทางอ้อมนั้นจะถูกเก็บโดยคนกลาง(เช่น ร้านค้าปลีก) จากบุคคล(เช่น ผู้บริโภค) ซึ่งได้ชำระภาษีที่ถูกรวมอยู่ในราคาสินค้าที่ซื้อ ต่อมาคนกลางจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีและส่งต่อภาษีที่ดำเนินการไปให้กับรัฐบาลพร้อมกับการคืนภาษี ในแง่นี้ คำว่าภาษีทางอ้อมนั้นตรงกันข้ามกับภาษีทางตรงซึ่งรัฐบาลจะเรียกเก็บโดยตรงจากบุคคล(ตามกฎหมายหรือธรรมชาติ) ที่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ นักวิจารณ์บางคนได้แย้งว่า "ภาษีทางตรงคือสิ่งที่ผู้เสียภาษีนั้นไม่สามารถเรียกเก็บจากผู้อื่นได้ ในขณะที่ภาษีทางอ้อมนั้นสามารถทำได้"[2]

แนวโน้มในโครงสร้างภาษีในประเทศที่อยู่ภายใต้ OECD[3]
โครงสร้างภาษีของประเทศที่อยู่ภายใต้ OECD ในปี ค.ศ. 2018.[4]

ภาษีทางอ้อมถือเป็นสัดส่วนที่สำคัญของรายได้ภาษีทั้งหมดที่รัฐบาลจัดเก็บมาได้ ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่โดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD) แสดงให้เห็นว่าส่วนแบ่งภาษีทางอ้อมเฉลี่ยของรายได้ภาษีทั้งหมดสำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมดในปี ค.ศ. 2018 อยู่ที่ 32.7% โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.9% ประเทศสมาชิกที่มีส่วนแบ่งสูงสุดคือ ประเทศชิลีโดยอยู่ที่ 53.2% และอีกด้านหนึ่งคือสหรัฐอเมริกาโดยอยู่ที่ 17.6% แนวโน้มทั่วไปของอัตราส่วนภาษีทางตรงและทางอ้อมของรายได้ภาษีทั้งหมดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในประเทศที่พัฒนาแล้ว แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งภาษีทางตรงของรายได้ภาษีทั้งหมด แม้ว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังพบเห็นได้ในประเทศที่กำลังพัฒนา แต่แนวโน้มดังกล่าวมีความเด่นชัดน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว[5]

ภาษีทางอ้อมมีประโยชน์หลายประการ หนึ่งประการซึ่งสำคัญมากที่สุด(เช่นเดียวกับภาษีทางตรง) คือการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล ภาษีการขายและภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) นั้นมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ โดยมีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มทั่วโลก ความแตกต่างระหว่างภาษีทั้งสองนี้คือ ภาษีการขาย - ลูกค้าจะชำระได้ ในขณะที่ได้ทำการซื้อสินค้าและบริการในช่วงสุดท้าย ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม - เป็นภาษีแบบหลายขั้นตอนสำหรับสินค้าและบริการที่ถูกรวบรวมเป็นส่วน ๆ ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการตามสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มโดยแต่ละหน่วยงานที่เสียภาษี[1]

นอกจากบทบาทในการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลแล้ว ภาษีทางอ้อมในรูปแบบของภาษีศุลกากรและภาษีนำเข้า ยังได้ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมปริมาณการนำเข้าและการส่งออกซึ่งได้ไหลเข้าและออกนอกประเทศ ในกรณีของการนำเข้าโดยการกำหนดภาษีศุลกากร รัฐบาลจะป้องกันผู้ผลิตภายในประเทศจากผู้ผลิตจากต่างประเทศที่อาจจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และสามารถขายสินค้าและบริการในราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งได้ทำการขับไล่ผู้ผลิตภายในประเทศออกจากการตลาด ภายหลังการกำหนดภาษีศุลกากร สินค้านำเข้าจะมีราคาแพงกว่าสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศ ดังนั้นผู้ผลิตภายในประเทศดีกว่าก่อนที่จะมีการกำหนดภาษีศุลกากร

นอกจากนี้ ภาษีทางอ้อมในรูปแบบของภาษีสรรพสามิตยังถูกนำมาใช้เพื่อลดการบริโภคสินค้าและบริการที่สร้างผลกระทบภายนอกทางลบ ตัวอย่างเช่น ภาษีสรรพสามิตที่เรียกเก็บจากบุหรี่หนึ่งซองซึ่งจะทำการเพิ่มราคาบุหรี่ต่อหนึ่งม้วน ซึ่งทำให้การบริโภคบุหรี่ลดน้อยลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่และการสูบบุหรี่มือสองลดลง นอกจากนี้ ภาษียังกีดกันเยาวชนไม่ให้สูบบุหรี่ เนื่องจากราคานั้นมีการตายตัวต่อความยืดหยุ่นของอุปสงค์บุหรี่[6]

แนวคิดของภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ในฐานะภาษีทางอ้อมเกิดขึ้นมาจากความคิดของนักอุตสาหกรรมชาวเยอรมันที่ชื่อว่า Dr. Wilhelm von Siemens ในปี ค.ศ. 1918 หนึ่งร้อยปีต่อมา ภาษีได้ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพและค่อนข้างง่ายในการรวบรวมและมีผลบังคับใช้ ร่วมกับภาษีสินค้าและบริการ(GST) ซึ่งปัจจุบันได้มีการกำหนดการเก็บภาษีทางอ้อมจำนวนกว่า 140 ประเทศทั่วโลก[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Schenk, Alan; Oldman, Oliver (2007). "Chapter 1: Survey of Taxes on Consumption and Income, and Introduction to Value Added Tax". Value Added Tax: A Comparative Approach (1st ed.). Cambridge University Press. pp. 5, 23. ISBN 978-0-521-85112-1.
  2. Britannica Online, Article on Taxation. See also Financial Dictionary Online, Article on Direct taxes.
  3. OECD (2020), Revenue Statistics 2020, Chapter 1: Tax revenue trends 1965-2018. Organisation for Economic Co-operation and Development. https://doi.org/10.1787/888934209457
  4. OECD (2020), Revenue Statistics 2020. Chapter 1: Tax revenue trends 1965-2018. Organisation for Economic Co-operation and Development. https://doi.org/10.1787/888934209457
  5. Martinez-Vazquez, Jorge; Vulovic, Violeta; Liu, Yongzheng (2010). "Direct versus Indirect Taxation: Trends, Theory and Economic Significance". International Center for Public Policy Working Paper Series. International Center for Public Policy, Andrew Young School of Policy Studies, Georgia State University.
  6. Sharbaugh, Michael S.; Althouse, Andrew D.; Thoma, Floyd W.; Lee, Joon S.; Figueredo, Vincent M.; Mulukutla, Suresh R. (2018-09-20). "Impact of cigarette taxes on smoking prevalence from 2001-2015: A report using the Behavioral and Risk Factor Surveillance Survey (BRFSS)". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 13 (9): e0204416. doi:10.1371/journal.pone.0204416. ISSN 1932-6203. PMC 6147505. PMID 30235354.
  7. International Indirect tax guide, Article on grantthornton.global