ข้ามไปเนื้อหา

ภาษากูย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากูย
ภาษากวย
កួយ, ກູຢ
ประเทศที่มีการพูดภาคอีสานตอนใต้ในไทย ทางเหนือของกัมพูชา ทางใต้ของลาว และเวียดนาม
จำนวนผู้พูด300,000 ในไทย 64,000 ในลาว
15,000 ในกัมพูชา ทั้งหมด 379,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนลาว, เขมร, ไทย
(ขึ้นอยู่กับประเทศที่อาศัย)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
 กัมพูชา
 ลาว
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
kdt – Kuy (Kuay)
nyl – Nyeu (Yoe)

ภาษากูย (อังกฤษ: Kuy) หรือ ภาษากวย (อังกฤษ: Kuay) เป็นตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535)[1] ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตึงแตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้

สำเนียง

[แก้]

ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ

ภาษากูย หรือ ภาษากวย มีอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มีภาษาที่ใช้สนทนามี 2 สำเนียงคือ

  • กูยเขาพระวิหาร พบที่ อ.สำโรงทาบ อ.จอมพระ เช่น เบีย แปลว่า สอง เดีย แปลว่า น้ำ เทีย แปลว่า เป็ด ทรูย แปลว่า ไก่ จีง แปลว่า ช้าง จีเนีย แปลว่า ไปไหน เจียโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
  • กวยจำปาศักดิ์ พบที่ อ.สังขะ อ.ท่าตูม อ.สนม อ.บัวเชด อ.ศรีณรงค์ อ.ศีขรภูมิ เช่น บา หรือ เบือ แปลว่า สอง ดะ หรือ เดือ แปลว่า น้ำ ทา หรือ เทือ แปลว่า เป็ด ทรวย แปลว่า ไก่ เจียง แปลว่า ช้าง จีนา แปลว่า ไปไหน จาโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gordon, Raymond G., Jr. (ed.) , 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.
  • สมทรง บุรุษพัฒน์. สารานุกรมชนชาติกูย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538
  • พระสมุทร ถาวรธมฺโม/ทาทอง ผศ.ดร.ประวัติศาสตร์กวย. กทม. ที่ระลึกงานฌาปนกิจศพคุณยายขบวน ชาญเชี่ยว วัดแสงสว่างราฆฎร์บำรุง อ.บัวเชด จ.สุรินทร์. 2551.
  • https://schoolonly.wordpress.com/วัฒนธรรมและภาษา/ด้านภาษา/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]